การขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ในภาษาไทยปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ในภาษาไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูล Thai National Corpus จำนวน 300 ตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้แนวคิดพหุนัยอย่างมีหลักการและอุปลักษณ์กับนามนัย ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “หนัก” และ “เบา” เป็นคำตรงข้าม แสดงความหมายในวงความหมายที่สอดคล้องกันทั้งสิ้น 7 วงความหมาย ได้แก่ “น้ำหนัก” “แรงที่กระทบเป้าหมาย” “ระดับความดังหรือความแรงของเสียง” “ระดับความยากลำบาก” “ระดับความซับซ้อนของเนื้อหา” “ประเภทของอาหาร” และ “ระดับความรุนแรง” ส่วนวงความหมาย “แนวโน้มของสภาพที่เกิดขึ้น” ปรากฏในคำว่า “หนัก” เท่านั้น ไม่ปรากฏในคำว่า “เบา” โดยวงความหมาย “น้ำหนัก” เป็นวงความหมายต้นแบบที่ขยายไปสู่วงความหมายอื่น ๆ ในลักษณะการแผ่รัศมี ความหมายที่ขยายออกมาดึงนัยของความหมาย “น้ำหนัก” แตกต่างกัน ทั้งนี้กลไกนามนัยเป็นกลไกปริชานหลักที่ผลักดันให้เกิดการขยายความหมายของคำว่า “หนัก” และ “เบา” ส่วนกลไกอุปลักษณ์เป็นเพียงกลไกรอง การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการขยายความหมายของคำที่มีความหมายตรงข้ามกันนั้นมีความสอดคล้องกัน
Article Details
References
ภาษาไทย
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). Grammaticalization กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรัชย์ หิรัญรัศ. (2550). การศึกษาความหมายของคำว่า 'เอา' ในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นววรรณ พันธุเมธา. (2559). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.
พิรัชพร อึ้งอรุณ, เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา, และโกวิทย์ พิมพวง. (2562). เซ็ง จากอาหารสู่อารมณ์. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ 37(2), 1-20.
ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร. (2549). การขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตาในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ภาษาต่างประเทศ
Bybee, J. (2015). Language change. United Kingdom: Cambridge University Press.
Bybee, J., Perkins, R., & Pagliuca, W. (1994). The evolution of grammar: Tense, aspect and modality in the languages of the world. Chicago: The University of Chicago Press.
Evans, V. (2005). The meaning of time: Polysemy, the lexicon and conceptual structure. Journal of Linguistics, 41(1), 35-75.
Kövecses, Z. (2010). Metaphor: A practical introduction (2nd ed.). New York: Oxford University Press.
Lakoff, G. (1987). Women, fire, dangerous things: What categories reveal about the mind. Chicago: The Chicago University Press.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: The University of Chicago Press.
Saeed, J. I. (2009). Semantics (3rd ed.). United Kingdom: Blackwell publishing.
Tyler, A., & Evans, V. (2003). The semantics of English prepositions: Spatial scenes, embodied meaning and cognition. Cambridge: Cambridge University Press.