กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้เสนอข่าวใช้ในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย มีขอบเขตการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 4 เว็บไซต์ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด และคมชัดลึก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เสนอข่าวเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยจำนวน 13 กลวิธี และเมื่อพิจารณากลวิธีทางภาษาทั้ง 13 กลวิธีตามเกณฑ์หน้าที่ในการสื่อสาร สามารถจำแนกกลวิธีทางภาษาได้จำนวนทั้งสิ้น 7 กลวิธี เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้สารของข่าวที่นำเสนอ 2. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อเรียกร้องและดึงดูดให้ผู้อ่านข่าวสนใจสารของข่าวที่นำเสนอ 3. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อทำให้ผู้อ่านข่าวจากหลากหลายกลุ่มเข้าใจสารของข่าวที่นำเสนอ 4. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านข่าวกระทำหรือไม่กระทำตามสารของข่าวที่นำเสนอ 5. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อแสดงทัศนคติหรือความคิดเห็นหรืออารมณ์ความรู้สึกของผู้เสนอข่าวหรือผู้เป็นข่าวที่มีต่อสารของข่าวที่นำเสนอ 6. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อสร้างสารของข่าวให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม และ 7. กลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อทำให้การนำเสนอสารของข่าวมีความกระชับ
ผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นลักษณะเด่นด้านกลวิธีทางภาษาที่ผู้เสนอข่าวใช้ในปริจเฉทข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกที่ 3 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยว่านอกจากจะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สารที่สื่อแล้ว กลวิธีทางภาษาดังกล่าวยังช่วยโน้มน้าวให้กลุ่มผู้อ่านที่มาจากหลากหลายกลุ่มเข้าใจสารและกระทำหรือไม่กระทำตามที่นำเสนอ อีกทั้งช่วยเรียกร้องและดึงดูดความสนใจในทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นมหันตภัยร้ายแรงใหม่ที่เกิดขึ้นได้กับทุกบุคคล และเป็นโรคที่จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจทั่วไปในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ ผู้เสนอข่าวจึงต้องเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบโน้มน้าวให้บุคคลหลากหลายกลุ่มเข้าใจและเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
References
ภาษาไทย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). บทสรุปของโควิด-19 ระลอกที่ 3. สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จาก http://www.thaincd.com/document/
file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กาญจนา นาคสกุล. (2525). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ชนกพร พัวพัฒนกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมการพยากรณ์ดวงชะตา:การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ชวลิต ปัญญาลักษณ์. (2526). การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2563). ภาษากับความหมาย. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2542). หน้าที่ของอุปลักษณ์จากมุมมองของผู้พูดภาษาไทย. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 16(1), 259-268.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคำสอนวิชาการวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจน-ปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนํามาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2543). การจัดการธุรกิจหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไทย.
ธนพล เอกพจน์, วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา, และปานปั้น ปลั่งเจริญศรี. (2563). [ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 คือ ศัตรู] : การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคนไทยตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 9(1), 1–37. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/241441
ธรรมวัฒน์ พัฒนาสุทธินนท์ และวิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2564). วัจนกรรมในการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.). วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(3), 91-104. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/249930/170560
ธิดา โมสิกรัตน์. (2556). การพูดและเขียนในการสื่อสาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย-
ธรรมาธิราช.
ธีรนุช โชคสุวณิช. (2543). การวิเคราะห์บทความแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ไทยพ.ศ.2540-2542 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธีระยุทธ สุริยะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนโรฮีงจาในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2544). การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นววรรณ พันธุเมธา. (2513). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย
บัณฑิต ทิพย์เดช. (2565). กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ@Rama. วารสารไทยศึกษา, 18(2), 137-160. http://www.thaistudies.chula.ac.th/2022/12/27/กลวิธีทางภาษาในการนำเส/
บางกอกบิสนิวส์. เศรษฐกิจ-ธุรกิจในยุคโควิด -19 ระลอกที่ 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/category/
business/economic
ประไพพรรณ พึ่งฉิม. (2564). ตอบอย่างไรเมื่อประชาชนคนไทยเห็นว่ารัฐบาล “การ์ดตก”: กลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 38(2), 114-150.
ประชัน วัลลิโก. (2525). หลักการเขียนข่าว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปราณี สุรสิทธิ์. (2554). ภาษาในสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนมพร นิรัญทวี. (2543). คำยืมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พรทิพย์ พุกผาสุข. (2556). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชัย แก้วบุตร และนพวรรณ เมืองแก้ว. (2564). การศึกษาอุปลักษณ์ผ่านข้อความอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อออนไลน์ของไทยและจีนภายใต้ภาวะวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 (COVID-19). วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(2), 237-272. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/253474/171190
เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต. (2553). อุดมการณ์ทางเพศสภาพในพาดหัวข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ไทย : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2530). ปริจเฉทแนวใหม่. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 9(1), 257-263.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2533). รายงานผลการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ปริเฉทภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงยุทธ พูเพนียด. (2532). ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการบรรยายข่าวกีฬาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์และนิตยสารกีฬาภาษาไทย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยาภา ลิ่วเจริญชัย. (2548). การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์แบบทดสอบในนิตยสารไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ยุทธการ ปัทมโรจน์. (2565). อุปลักษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในข่าวการเมืองไทย บนเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์. วารสารวรรณวิทัศน์, 22(1), 134-175. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/253488
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2564) “เราจะผ่านวิกฤตไปด้วยกัน”: การโน้มน้าวใจในปริจเฉทการแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารวรรณวิทัศน์, 21(1), 62-104. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/VANNAVIDAS/article/view/245731
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2546). ความต่อเนื่องของปฏิสัมพันธ์ในห้องสนทนาไทย : การส่งผลต่อกันระหว่างการเชื่อมโยงความ การมอบผลัดและความเกี่ยวข้องของเรื่องที่สนทนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2558). ภาษาและอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ คอร์นอร์.
ศิริพร ภักดีผาสุข. (2547). เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษากับวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โศรยา วิมลสถิตพงษ์. (2549). กลวิธีทางภาษาในการวิจารณ์การเมืองทางอ้อมในบทความแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2564). การใช้ภาษาในข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 72-89.
สิริทิพย์ ขันสุวรรณ. (2539). การหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2560). เนื้อหาและกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในคอลัมน์ซุบซิบประเภท "แฉ" ในสื่อออนไลน์ ภาษาไทย: กรณีศึกษาคอลัมน์ซุบซิบ "วิจารณ์แหลก" ของ “เจ๊หว่าง...ออนไลน์”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2564). ปริจเฉทข่าวบันเทิงในเฟซบุ๊กเพจ “ใต้เตียงดารา”: การศึกษาจากมุมมองปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 38(1), 1-60.
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2565). เรื่องเล่าแนวสยองขวัญในเฟซบุ๊กเพจ “เดอะเฮาส์”: การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 39(1), 138-203.
สุกัญญา สุดบรรทัด. (2537). กรณีศึกษาเพื่อการเรียนการสอนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสื่อมวลชนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2543). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสวนสุนันทา.
สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2517). ภาษาที่ใช้ในข่าว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2564). โควิด-19 กับการนำเสนอข่าวของสื่อไทย. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564 จาก https://dusitpol.dusit.ac.th.
อนุชิต ตู้มณีจินดา, อำนาจ ปักษาสุข, และพรทิพย์ เฉิดฉินนภา. (2566). ลักษณะการปนภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.). วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(3), 492-510.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Thailand Development Research Institute (TDRI). (2564ก). การแพร่ระบาดระลอก 3 สถานการณ์ ผลกระทบและทางออกเชิงนโยบาย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 จาก https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/
Truehits. (2564). จัดอันดับเว็บไซต์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 เมษายน 2564 จากhttps://truehits.net
ภาษาต่างประเทศ
Atuhura, D. (2022). The metaphor of war in political discourse on COVID-19 in Uganda. Frontiers in Communication, 6(1), pp 115-138. https://doi.org/10.3389/fcomm.2021.746007
Bettinghaus, E. P. (1968). Persuasive communication. New York: Holt Renehautand Winston.
Despot, K. S., & Anić, A. O. (2021). A war on war metaphor: Metaphorical framings in Croatian discourse on Covid-19. Rasprave Instituta za Hrvatski Jezik i Jezikoslovlje, 47(1), 173-208. https://doi.org/10.31724/rihjj.47.1.6
Goatly, A. (1993). The language of metaphor. London: Routledge.
Lakoff, G., & Johnson, M. (2003). Metaphor we live by. Chicago: University of Chicago press.
Larson, C. U. (1986). Persuasion: Reception and responsibility (4th ed.). Cambridge: Wadsworth Pub. Co.
Reah, D. (1998). The language of newspaper. London: Routledge.