คำขับงูลาย: การปรับเปลี่ยนวรรณกรรมจากฉบับใบลาน สู่หนังสือพกพาในสิบสองพันนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “การศึกษาวรรณกรรมไทลื้อเรื่องคำขับงูลาย” อันเป็นปลายทางของการปรับเปลี่ยนวรรณกรรมชาดกนอกนิบาตเดิมที่ชื่อ “นิยายลายงู” ในดินแดนล้านนาซึ่งนิยมจารบนใบลาน เมื่ออิทธิพลของศาสนานำพาตัวอักษร ภาษา และเรื่องราวไปยังชาวไทลื้อที่อาศัยในสิบสองพันนา ทำให้นิยายลายงูมีการปรับรูปแบบการประพันธ์เป็น “คำขับ” และบันทึกลงในกระดาษที่เรียกว่า “พับหัว” มีการปรับเปลี่ยนอนุภาคบางส่วน รวมถึงลดและเพิ่มเติมเนื้อหาของนิยายลายงูฉบับใบลานมาเป็น “คำขับฅ่าวงูลายฉบับพับหัว” โดยมีเนื้อเรื่องที่เข้าถึงวิถีชีวิตความเชื่อสังคมชาวไทลื้อในสิบสองพันนามากขึ้น แต่ยังคงการเขียนรูปแบบชาดกไว้เหมือนฉบับใบลาน จนกระทั่งการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนเข้ามาควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์ในสิบสองพันนา มีการบังคับให้ใช้ตัวอักษรไทลื้อใหม่ หลังจากการปฏิวัติวัฒนธรรมสิ้นสุดลง ใน พ.ศ. 2522 มีขบวนการรื้อฟื้นวรรณกรรมพื้นบ้าน จึงเกิดการตีพิมพ์วรรณคดีโบราณด้วยอักษรไทลื้อแบบใหม่หลายเล่ม ซึ่ง “คำขับงูลายฉบับหนังสือพกพา” พ.ศ. 2529 เป็นส่วนหนึ่งในวรรณกรรมพื้นบ้านดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ “นิยายลายงูฉบับใบลาน” “คำขับฅ่าวงูลายฉบับพับหัว” จนมาถึง “คำขับงูลายฉบับหนังสือพกพา” แต่ละฉบับมีส่วนที่ปรับเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด ดังนี้ 1) รูปแบบการประพันธ์ 2) เนื้อเรื่อง 3) ชื่อเรียกตัวละคร 4) ความเชื่อและคำสอน ซึ่งแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนตามความแตกต่างระหว่างยุคสมัย ความเชื่อ วัฒนธรรม และโลกทัศน์สังคม อันเป็นปัจจัยที่ทำให้จุดประสงค์ของผู้แต่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
Article Details
References
ภาษาไทย
เจริญ มาลาโรจน์. (2529). วิเคราะห์วรรณกรรมไทยลื้อเรื่องลังกาสิบหัว. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ชัปนะ ปิ่นเงิน. (ผู้ปริวรรต). (2547). นิยายลายงู ฉบับวัดร้องวัวแดง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นคร ปญฺญาวชิโร (ปรังฤทธิ์), พระ. (2557). วิถีเทศน์ในล้านนา. เชียงใหม่: หจก. ซีเอ็มมีเดีย โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาประเทศเพื่อนบ้าน สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิศาธร กองมงคล. (2549). ขับลื้อ: กรณีศึกษาในอำเภอเชียงคำและอำเภอคำม่วน จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา คณะมนุษยศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2546). คำขับค่าวเจ้าเจืองหาญ มหากาพย์พื้นถิ่นไทลื้อ. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). อิทธิพลไตรภูมิต่อการสร้างสรรค์วรรณคดี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 1-34.
อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. (2565). ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Helman-Ważny et al., (2021). The stab-stitched binding of Tai manuscripts. Journal of the Siam Society 109(1), 139-168.
Tao, C. S., & Tao, W. S. (1986). Kham Khub Ngu Lai. Xishuangbanna: Yunnan Nationalities Publishing House.
The People’s Government of Xishuangbanna Dai Autonomous Prefecture. (Ed.). (2006). The complete Chinese Pattra Buddhist scripture No. 43. Beijing: Ren min chu ban she.
Wang, S., & Xie, Y. (Eds.). (2009). China species red list Vol. II - Vertebrates Part 2. Beijing: Higher Education Press.