ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาค (Distinguishing Characteristics of Thai Novels with Garuda and Naga)

Main Article Content

อวยพร แสงคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาคที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๕๕ จำนวน ๑๑ เรื่อง ได้แก่ มณีสวาท กาษานาคา ปักษานาคา  มนตรานาคาครุฑ  ดวงหทัยครุฑรามันตุ์  อริตวรรธน์ครุฑานาคา  เคสินาคาดวงใจพญานาค  นาคสวาท  ร้อยรักปักษา  เมฃลานาคา และสัญญารักให้ก้องฟ้า โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมและอนุภาคทางคติชนวิทยาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายไทยกลุ่มนี้ได้นำความขัดแย้งใน “ตำนานครุฑจับนาค” มาสร้างลักษณะเด่น กล่าวคือ มีการสร้าง  โครงเรื่องหลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะโครงเรื่องแบบข้ามภพชาติ มุ่งนำเสนอแนวคิดเรื่องความพยาบาทและการให้อภัยเป็นสำคัญ มีการสร้างตัวละครให้มีลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นครุฑและนาค รวมทั้งตัวละครที่มีกำเนิดทั้งจากเผ่าพันธุ์ครุฑและนาคร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างฉาก ทั้งที่เป็นฉากในจินตนาการและฉากที่เป็นสถานที่จริงในสังคมไทยปัจจุบันโดยเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับเรื่องราวของครุฑและนาคอีกด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นถึงลักษณะของการนำตัวละครใน “นิทาน” มาใช้ในการสร้างสรรค์นวนิยายไทยร่วมสมัยซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคติชนกับวรรณกรรมไทย

This paper aims to study distinctive features in Thai novels published during 1986 to 2012, featuring Garuda and Naga as main characters. The novels include Manisawat, Kasa Nakha, Paksa Nakha, Montra Nakha Khrut, Duang Hathai Khruthamunthu, Arittawattana Khrutha Nakha, Khesinakha Duangchai Phrayanakha, Nakha Sawat, Roi Rak Paksa, Makhala Nakha, and Sanyarak Hai Kong Fa. The study uses an analysis of literary elements and motifs as its approach. The novels highlight the legendary battle between Garuda and Naga “Khrut Chab Nakh” through different plots especially the reincarnation plot. The novels specifically emphasize the themes of vengeance and forgiveness. The main characters are characterized to be either Garuda or Naga or Garuda-Naga descendants. Moreover, the novels include both imaginary settings and realistic settings, based on actual places in modern-day Thai society, and both settings are intended to be associated with the legend of Garuda and Naga. This employment of “mythological” characters in Thai contemporary novels reflects the relationship between folklore and the Thai novel.

Article Details

บท
Articles
Author Biography

อวยพร แสงคำ

นิสิตปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กนกวลี พจนปกรณ์. ๒๕๔๘. กาษานาคา. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๓๑. คติชนวิทยากับการเรียนการสอนภาษาไทย. ใน

เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๘ (คติชนวิทยาสำหรับครู), หน้า ๑๑๓๙ - ๑๑๘๐. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จันทร์ณภัทร. ๒๕๕๕. นาคสวาท. กรุงเทพฯ: บงกช.

จันทร์ณภัทร์. ๒๕๕๕. ร้อยรักปักษา. กรุงเทพฯ: บงกช.

จำปาลาว. ๒๕๕๕. เคสินาคาดวงใจพญานาค. นนทบุรี: ปัณณ์ปุระ.

จำปาลาว. ๒๕๕๔. อริตวรรธน์ครุฑานาคา. นนทบุรี: ปัณณ์ปุระ.

จินตวีร์ วิวัฒน์. ๒๕๒๙. มณีสวาท. กรุเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญกิจ.

เนตรน้ำมนต์. ๒๕๕๐. มนตรานาคาครุฑ. ปทุมธานี: สีม่วงอ่อน.

เบญจามินทร์. ๒๕๕๓. ดวงหทัยครุฑรามันต์. กรุงเทพฯ: อรุณ.

ประคอง นิมมานเหมินท์. สายน้ำกับความเชื่อและวรรณกรรมไทย-ไท. ใน เอกสารการ

ประชุมวิชาการเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔๘ พรรษา เรื่อง วารีวิถีไทย, หน้า ๑ - ๑๙. วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๖ ณ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนาวลี. ๒๕๕๕. เมฃลานาคา. กรุงเทพฯ: C&N.

ยมโดย เพ็งพงศา. ๒๕๒๑. ครุฑและนาคในวรรณคดีสันสกฤตและบาลี. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต. แผนกวิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุรฉัตร บุญสนิท. ๒๕๓๘. วรรณวิจารณ์. สงขลา: ภาควิชาภาษาไทย และภาษา

ตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.

รอมแพง. ๒๕๕๕. ปักษานาคา. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

ริณแก้ว. ๒๕๕๕. สัญญารักให้ก้องฟ้า. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. เทพปกรณัมในมหาภารตะและอิทธิพลที่มีต่อวรรณคดีไทย. ใน

เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ มหากาพย์มหาภารตะ: ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ ๒. หน้า ๑-๑๐. วันที่ ๒๐-๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ณ ห้องประชุม ๑๐๕ ตึกอักษรศาสตร์ ๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิราพร ณ ถลาง. ๒๕๕๒. ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทาน

พื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Taylor, Archer. 1965. Folklore and the Student of Literature. In Alan

Dundes, The study of Folklore, pp. 34-42. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Thompson, Stith. 1989. Motif-Index of Folk Literature. Revised edition. 6 vols. Bloomington: Indiana University Press.