อ่าน “การเมืองเรื่องโกหก” ใน ลิลิตนิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (Reading “the Politics of Lies” in King Rama V’s Lilit Nitra Chakrit)

Main Article Content

ชลเทพ อมรตระกูล

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาวรรณคดีเรื่อง ลิลิตนิทราชาคริต   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาตัวบทวรรณคดีในฐานะที่เป็นพื้นที่ของการต่อรองอำนาจรับรู้และเข้าถึงความเป็นจริง (reality) ด้วยการใช้เรื่องโกหกหรือพื้นที่ของ “การเมืองเรื่องโกหก” ผลจากการใช้มุมมองการศึกษาดังกล่าวพบว่า การผูกปมปัญหาจากเรื่องโกหก การพัฒนาปมปัญหา ตลอดจนการคลี่คลายปมปัญหาที่มีนัยทางการเมืองซ่อนอยู่เบื้องหลัง ช่วยขับเน้นแนวคิดของเรื่องอันได้แก่การชี้ให้มนุษย์ตระหนักรู้ความเป็นมายาแห่งชีวิตและเสนอให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางมายาเหล่านั้น นอกจากนี้ มุมมองการศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นสถานภาพของพระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน ตลอดจนการให้ความสำคัญแก่ปัญญาความรู้ เมื่อพิจารณาร่วมกับบริบทภายนอกตัวบทแล้ว จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น

This article aims at presenting the political perspective in reading Lilit Nitra Chakrit as a sphere whereby lies are used to negotiate the process of power dealing with reality, a sphere regarded as “the Politics of Lies”. As a result, one can see that the theme of the story which points out how fanciful life is and how humans can happily live under such illusions, is much emphasized by considering how conflicts, caused by lies, develop and are resolved. In addition, from this perspective, the status of the monarch, the relationship between him and his people, and the significance of knowledge are demonstrated through the story in harmony with the context outside the text; all of this implies King Rama V’s wisdom of correlating his literary compositions with the governing of the country.

Article Details

บท
Articles
Author Biography

ชลเทพ อมรตระกูล

นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ ๒ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๐. ๒ เล่ม. ๒.

กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๔๕. ปิยราชภาษา. กรุงเทพมหานคร:

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๕๐. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓). พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๔๐. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน และพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีไปมากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๔๖. ลิลิตนิทราชาคริช พระราชนิพนธ์

ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับตำนานแลบทร้องลคร เจ้านายทรงเล่นเรื่องนิทราชาคริช ในรัชกาล ที่ ๕ เสภาเรื่องอาบูหะซัน แต่งโดยกระแสรับสั่ง เมื่อในรัชกาลที่ ๕ และ บทลครเรื่องอาบูหะซัน พิมพ์ตามต้นฉบับของ เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. ๒๕๔๖. ก. ขนบวรรณคดีไทยในพระราชนิพนธ์เรื่องกาพย์เห่เรือ

นิทราชาคริต และเงาะป่า. ใน การประชุมวิชาการเรื่อง “ปิยราชกวินทร์” จัดขึ้นเนื่องในโอกาส ครบรอบ ๑๕๐ ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ห้อง ๑๑๑ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๔๕, ๔๑-๘๖. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. ๒๕๔๖. ข. ความเป็นเอกภาพของพระราชนิพนธ์เรื่องลิลิตนิทรา

ชาคริต. ใน การประชุมวิชาการเรื่อง “นิทราชาคริต” จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖, ๖๑-๘๘. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. ๒๕๔๖. การศึกษาพระราชนิพนธ์ในฐานะวรรณคดีคำสอน. ใน

การประชุมวิชาการเรื่อง “ปิยราชกวินทร์” จัดขึ้นเนื่องในโอกาส ครบรอบ ๑๕๐ ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ห้อง ๑๑๑ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๔๕, ๒๓-๔๐. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารดา กีระนันทน์. ๒๕๔๖. พระอัจฉริยภาพทางด้านวรรณคดีการแสดงที่ปรากฏใน

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ใน การประชุมวิชาการเรื่อง “ปิยราชกวินทร์” จัดขึ้นเนื่องในโอกาส ครบรอบ ๑๕๐ ปี วันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ห้อง ๑๑๑ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๔๕, ๙๗-๑๑๓. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barnes, J.A. 1994. A Pack of Lies: Towards a Sociology of Lying.

Cambridge: Cambridge University Press.

Gerner, Robert; Ferdinand, Peter; and Lawson, Stephanie. 2012. What is Politics?. In Robert Gerner, ed. Introduction to Politics, 2. 2nd ed. Oxford: Oxford University Press.

Mackenzie, Iain. 2009. Introduction: What is politics?. In Iain Mackenzie. Politics: Key Concept in Philosophy, 1-17. New York: Continuum.