กลวิธีการตอบคำถามแบบอ้อมในการตอบคำถามสื่อมวลชนของดารานักแสดงชาย-หญิงไทย: กรณีศึกษารายการ “ทีวีพูลไลฟ์” (Indirect Linguistic Strategies Adopted by Thai Actors and Actresses in Answering Press Questions: A Case Study of T.V. POOL LIVE)

Main Article Content

โศภิษฐา ไชยถาวร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตอบคำถามแบบอ้อมที่ดารานักแสดงชาย-หญิงไทยใช้ตอบคำถามสื่อมวลชนในรายการ “ทีวีพูลไลฟ์” ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ผลการศึกษาพบว่า ดารานักแสดงไทยมีการใช้กลวิธีการตอบคำถามแบบอ้อมทั้งหมด ๔ กลวิธี ได้แก่ การปฏิเสธ การกลบเกลื่อน การพูดตลก และการประชดประชัน นอกจากนี้ดารานักแสดงชายไทยและดารานักแสดงหญิงไทยมีการเลือกใช้กลวิธีการตอบคำถามแบบอ้อมที่แสดงให้เห็นลักษณะของเพศหญิงและเพศชายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เพศหญิงจะตอบคำถามด้วยกลวิธีการกลบเกลื่อนที่สื่อให้เห็นว่าเป็นลักษณะการพูดไม่ตรงและแสดงอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเพศชาย ส่วนเพศชายจะใช้การปฏิเสธซึ่งเป็นลักษณะการพูดตรงมากกว่าและใช้การพูดตลกเพื่อลดความรุนแรงของเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม การที่ดารานักแสดงชายกับหญิงเลือกใช้ประเภทของกลวิธีการตอบคำถามที่ไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า นอกจากปัจจัยด้านเพศแล้ว ยังมีปัจจัยด้านสถานภาพของการเป็นดารานักแสดงที่มีความสำคัญด้วย ผลการวิเคราะห์กลวิธีการตอบคำถามแบบอ้อมของดารานักแสดงชาย-หญิงไทยสะท้อนให้เห็นว่า ดารานักแสดงไทยคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะบุคคลสาธารณะที่ต้องมีความประพฤติและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามสังคมและวัฒนธรรมไทย

The research aims to analyze the indirect linguistic strategies used by Thai actors and actresses to answer the press questions on a TV program known as “T.V. POOL LIVE”. Research data was collected from the answers given to the press questions on “T.V. POOL LIVE” from January 1, 2012 to May 31, 2012. It finds that Thai actors adopt four indirect linguistic strategies to answer press questions. These include Denying by giving data, Hedging, Using humor and Irony. In terms of relation between indirect linguistic strategies and speaker’s sex, it is found that Thai actors and actresses tend to use different indirect linguistic strategies. Analysis of the indirect linguistic strategies in answering press questions used by Thai actors to answer the press questions shows that “image” is culturally very important especially for Thai people who have constant dealings with the public.

Article Details

บท
Articles
Author Biography

โศภิษฐา ไชยถาวร

นิสิตปริญญาโท ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และธีรนุช โชคสุวณิช. ๒๕๕๑. วัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกียรติญา สายสนั่น. ๒๕๕๒. การสร้างภาพลักษณ์ของนักแสดงไทย. วิทยานิพนธ์

วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. ๒๕๓๙. ฉันถาม ฉันจึงมีชีวิตอยู่. ใน เชิงอรรถวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, หน้า ๕๘-๖๕.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. ๒๕๔๙. มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______________. ๒๕๔๙. โฆษณาตัวเองอย่างไรให้น่าเชื่อถือ?: กลวิธีทางภาษาในการโฆษณาตัวเองของนักการเมืองไทยจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์. ใน มองสังคมผ่านวาทกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศน์วลัย เนียมบุบผา. 2544. การใช้ประโยคเงื่อนไขแสดงเจตนาต่างๆ ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แทนใจ โพธิแท่น. ๒๕๔๕. จุดกำเนิดและพัฒนาการของรูปแบบและเนื้อหานิตยสาร

ดาราภาพยนตร์และทีวีพูล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรนุช โชคสุวณิช. ๒๕๓๓. การศึกษาประโยค ๓ ชนิดในภาษาไทยกับเจตนาของผู้พูด

ในนวนิยาย “โซ่สังคม” ของทมยันตี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิจจาภา วงษ์กระจ่าง. ๒๕๔๕. กลวิธีการรักษาหน้าในการตอบคำถามของ

นักการเมืองไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวรรณา เพ็ชรกิจ. ๒๕๔๙. กลวิธีตอบคำถามของบุคคลสาธารณะกับการรักษาหน้าตนเอง. ใน พลวัตของภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภธิดา เทียมสมบูรณ์. ๒๕๔๑. กลไกทางภาษาในการตอบคำถามของนักการเมืองไทยในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, P and Levinson, s. 1978, 1987. Politeness: Some Universals in Language Usage. London: Cambridge University press.

Chen, R. 2001. Self-Politeness: A Proposal. Journal of Pragmatics 33: 87-106.

Dillon, J.T. 1990. The Practice of Questioning. London: Routledge.

Grice, H. P. 1975. Logic and Conversation. In Peter Cole and Jerry

Morgan (eds.), Syntax and semantics, pp. 41-58. New York:

Academic Press.

Searle, John R. 1976. Speech Act. London:Cambridge University Press.

Panpothong, Natthaporn. 1996. A Pragmatic Study of Verbal Irony in Thai. Ph.D Dissertation, University of Hawai.