การบังคับใช้กฎหมายและองค์กรเพื่อการจัดการปัญหาลุ่มน้ำมูล

Main Article Content

ศาสตราจารย์ ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
ดร.ณรงค์ พลมาตร์

บทคัดย่อ

          ปัญหาหลักของลุ่มน้ำมูล คือ ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม อุทกภัย คุณภาพน้ำในลุ่มน้ำที่มีมลพิษและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการใช้ประโยชน์น้ำในลุ่มน้ำของประชาชนใน ๑๐ จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ลุ่มน้ำมูลไหลผ่าน ซึ่งการวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์กฎหมายที่ใช้บังคับกับการจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเพื่อเป็นคำตอบสำหรับการบริหารจัดการหรือการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหานั้น โดยมีวิธีวิทยาการวิจัยคือการวิจัยเอกสารที่เป็นกฎหมายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม และอุทกภัยนั้น ใช้วิธีการจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มโดยมีกฎหมายรองรับ คือ พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๘๒ พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๕ การแก้ไขและป้องกันน้ำเสียจากการปนเปื้อนของมลพิษ มีพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ การจัดการสิ่งกีดขวางทางน้ำการทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและน้ำมัน มีพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ การขุดลอกแหล่งน้ำผิวดิน มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ การจัดการปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยการเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้ยืนต้นโดยการจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร มีพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๘ การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. ๒๕๑๘ การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้มีพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลมีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑


          ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ ให้สำรวจพื้นที่วิกฤติการณ์จากการเจาะน้ำบาดาลเพื่อกำหนดเป็นเขตห้ามเจาะน้ำบาดาล การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเทคนิคการเจาะน้ำบาดาล เพิ่มระบบน้ำประปาหมู่บ้านและให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนในการบำรุงรักษาระบบน้ำประปา ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกลุ่มกันจัดสร้างการชลประทานส่วนการค้าในรูปแบบสหกรณ์ บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกรณีน้ำเสียและจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ที่มีวิกฤติการณ์น้ำเสียให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดเป็นนโยบายการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชน้ำและให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ใช้กลไกการจัดรูปที่ดินและการปฏิรูปที่ดินในการกันพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้และส่งเสริมการทำสวนป่าเพื่อลดภาวะโลกร้อน

Article Details

บท
บทความ

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕. (๒๕๓๕, ๑๖ ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘. หน้า ๓-๑๑.

คำสั่งกรมชลประทานที่ ๗๓/๒๕๕๔ เรื่องแก้ไขการระบายน้ำที่มีคุณภาพต่ำลงทางน้ำชลประทานและทางน้ำที่เชื่อมต่อกับทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน (๒๕๕๔, ๑ เมษายน).

บริษัทซิกม่า ไฮโดร คอนซัลแตนท์ จำกัด, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และ บริษัทเอส เอ็น ที คอนซัล แตนท์ จำกัด. (๒๕๖๔). การศึกษาโครงการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำมูล.

ประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๖๗/๒๕๓๔ เรื่องให้มีการขออนุญาตการปล่อยน้ำทิ้งทุกประเภทลงสู่ลำน้ำ(๒๕๓๔, ๒๐ กุมภาพันธ์).

ปรัชญา แผ้วพลสง, เศรษฐหิรัญ นาคสุข. (๒๕๖๑). การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในมหาวิทยาลัยเกษตร. บทความวิจัยประกอบปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.geo.soc.ku.ac.th/

พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๘๒. (๒๔๘๒, ๑๗ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๖ หน้า ๑๒๙๔-๑๓๑๓.

พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๕. (๒๔๘๕, ๒๒ กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๒. หน้า ๑๖๗๖-๑๖๙๖.

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖. (๒๔๕๖, ๕ สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๐ หน้า ๗๔.

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. ๒๕๑๘. (๒๕๑๘, ๕ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๕๔. หน้า ๑๐.

พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๒๒. (๒๕๒๒, ๒๗ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๖. หน้า ๑-๒๒.

พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๘. (๒๕๕๘, ๒ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๔ ก. หน้า ๑-๒๑.

พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำพ.ศ. ๒๕๖๑. (๒๕๖๑, ๒๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๑๒ ก. หน้า ๔๔-๘๓.

พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐. (๒๕๒๐, ๒๙ กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๖๙. หน้า ๘-๒๘.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๒ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก. หน้า ๑.

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕. (๒๕๓๕, ๒๘ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕. หน้า ๒๘-๔๒.

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕. (๒๕๓๕, ๙ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๔๔. หน้า ๖๒-๘๑.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕. (๒๕๓๕, ๔ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๓๗. หน้า ๑-๔๓.

พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕. (๒๕๓๕, ๑๓ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๐. หน้า ๑-๗.

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารกิจการและการบำรุงรักษาระบบประปาชนบท พ.ศ. ๒๕๔๘. (๒๕๔๘, ๓ พฤศจิกายน). รก.๒๕๔๘ พ๑๒๕ง หน้า ๘.

Erica Sánchez and Madeleine Keck. (2562, 21 กุมภาพันธ์). Australia Will Plant 1 Billion Trees to Combat Climate Change. https://www.globalcitizen.org/en/content/australia-will-plant-1-billion-trees/