สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนกับความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการและผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Main Article Content

ดร.โชติกา อรรถพิมล
ดร.สมบัติ อรรถพิมล

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนกับความเป็นอิสระในการสั่งคดีของพนักงานอัยการและผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รัฐธรรมนูญรับรองให้พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ และผู้เสียหาย ผู้ต้องหาหรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอต่อพนักงานอัยการเพื่อขอทราบสรุปพยานหลักฐานในสำนวนพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี นอกจากนี้ บุคคลดังกล่าวอ้างสิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอทราบคำให้การพยานบุคคลในสำนวนการสอบสวนและความเห็นตาม ขั้นตอนการสั่งคดีของพนักงานอัยการตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา (อก.๔) ด้วย เมื่อถูกปฏิเสธจะเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง


            ผลการวิเคราะห์พบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีกระบวนการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการไว้เป็นขั้นเป็นตอน จำแนกเป็นคำสั่งในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดอื่น หากมีการแย้งคำสั่งให้เสนออัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด รวมทั้งให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีเองได้ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การอ้างสิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการอาจทำให้ล่วงรู้ว่าพยานคนใดให้การเป็นผลร้ายและนำไปสู่กรณีพิพาทกันขึ้นได้ เป็นการก้าวล่วงความเป็นอิสระของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีตามรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ทั้งไม่มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสาขากระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นการเฉพาะ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ควรเป็นศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลปกครอง

Article Details

บท
บทความ

References

พิทยา บวรวัฒนา. (๒๕๔๓). รัฐประศาสนศาสตร์: ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ. ๑๘๘๗ - ค.ศ. ๑๙๗๐) (น. ๑๓-๑๔). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ( ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕. (๒๕๔๕). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก. หน้า ๑-๒.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (๒๕๔๓). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ (พิมพ์ ครั้งที่ ๒) (น. ๘๕-๙๔). วิญญูชน.

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๘๖/๒๕๔๘. (๒๕๔๘, ๑๕ มีนาคม). http://www.admincourt.go.th/adminCourt/upload/admCase/Document/judgement/PDF/2548/01013-480407-2f-481031-0000028263.pdf

คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค ๑๒๑/๒๕๖๔ เรื่องอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาและความเห็นพนักงานอัยการ. (๒๕๖๔, ๑๕ มีนาคม). http://www.oic.go.th/web2017/iwebform_viewer.asp?i=21111%2E%3A2615709118112148111211

Victims’ Right to Review Scheme. (2020, December 16). The Crown Prosecution Service. https://www.cps.gov.uk/legal-guidance/victims-right-review-scheme

Guideline of the Director Issued under Section 3(3)(C) Of The Director Of Public Prosecutions Act. (2019). Public Prosecution Service of Canada Publications. https://www.ppsc-sppc.gc.ca/eng/pub/fpsd-sfpg/fps-sfp/tpd/p2/ch03.html

Prosecute or discontinue. (n.d.). Åklagarmyndigheten Swedish Prosecution Authority. https://www.aklagare.se/en/from-crime-to-sentence/prosecute-or-discontinue/

สำนักงานศาลยุติธรรม. (๒๕๕๐). รวมคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๙ (น. ๔๘-๕๔). อรุณการพิมพ์, หน้า ๔๘-๕๔.

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑-๗.