การชำระหนี้ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Main Article Content

ดร.กิตสุรณ สังขสุวรรณ์

บทคัดย่อ

            คริปโทเคอร์เรนซี่ถือเป็นสินทรัพย์จิทัลที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปัจจุบันนี้ คริปโทเคอร์เรนซี่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการลงทุนและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงไม่มีกฎหมายที่บัญญัติถึงการชำระหนี้ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ไว้โดยเฉพาะ จึงทำให้เกิดปัญหาว่าคริปโทเคอร์เรนซี่สามารถใช้ในการชำระหนี้ได้มากน้อยเพียงใด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์ถึงการใช้คริปโทเคอร์เรนซี่ในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วิธีการวิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือ บทความทางวิชาการ รายงาน ข่าวประจำวัน บทบัญญัติกฎหมาย และคำพิพากษา ข้อมูลดังกล่าวนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สถานะในทางกฎหมายของคริปโทเคอร์เรนซี่ รวมถึงขอบเขตและความเป็นไปได้ในการใช้คริปโทเคอร์เรนซี่ในการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


          การวิจัยพบว่าคริปโทเคอร์เรนซี่ไม่อาจถือเป็นเงินตราตามกฎหมาย คริปโทเคอร์เรนซี่ไม่อาจถูกนำมาใช้ในการชำระหนี้ในนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดให้มีการชำระราคากันด้วยเงินตรา แต่อย่างไรก็ตาม คริปโทเคอร์เรนซี่ถือเป็นทรัพย์สินคริปโทเคอร์เรนซี่จึงอาจใช้ได้ในนิติกรรมหรือสัญญาบางประเภทที่กำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินเช่น สัญญาแลกเปลี่ยน ในกรณีดังกล่าวนี้ การชำระหนี้ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่จำต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้


          การวิจัยนี้ยังนำเสนอการทำให้คริปโทเคอร์เรนซี่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมายเพื่อนำมาชำระหนี้ตามนิติกรรมหรือสัญญาที่กำหนดให้มีการชำระราคากันด้วยเงินตรา โดยรัฐบาลอาจดำเนินการดังต่อไปนี้คือ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. ๒๕๐๑ และกำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี่สามารถใช้ชำระหนี้ได้เสมือนดังเช่นเงินตรา หรือ (๒) ออกกฎหมายเกี่ยวกับการชำระหนี้ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ไว้โดยเฉพาะ

Article Details

บท
บทความ

References

ตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรปได้บัญญัติกฎหมาย Markets in Crypto Assets (MiCA) โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หรือป้องกันการหลอกลวงจากการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี่ ผู้ให้บริการคริปโทเคอร์เรนซี่จำต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอันเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้ให้บริการคริปโทเคอร์เรนซี่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลในการดำเนินการธุรกิจหรือกิจกรรมอันเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี่ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี่มีสถานะเป็นเงินตราตามกฎหมาย แต่อย่างใด

David Lee Kuo Chuen, Handbook of Digital Currency: Bitcoin, Innovation, Financial Instruments, and Big Data (Elsevier, 2015) 279.

ประเทศแอลจีเรีย บังคลาเทศ จีน อียิปต์ อิหร่าน โมร็อกโค โบลิเวีย โคลัมเบีย ห้ามมิให้ใช้คริปโทเคอร์เรนซี่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและสินทรัพย์เพื่อการลงทุนในประเทศ

ประเทศเอลซัลวาดอร์และสาธารณรัฐแอฟริกากลางได้กำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี่ (บิทคอยน์) ถือเป็นเงินตราตามกฎหมาย

James D. Gwartney and others, Macroeconomics: Private & Public Choice (17th edn, Cengage Learning, 2022) 249.

เงินชนิดนี้คือเงินที่มีคุณค่าในตัวของมันเอง และอยู่ในรูปของสินค้าหรือวัตถุที่มีราคาค่างวด เช่น เหรียญทองคำแท้ หรือเหรียญเงินแท้ เงินชนิดนี้ยังอาจรวมถึง วัตถุที่มีมูลค่าเพียงเพื่อประโยชน์ในการใช้งานหรือประโยชน์อย่างอื่น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย หรือสัตว์พาหนะ

เงินชนิดนี้คือเงินที่ไม่มีคุณค่าในตัวของมันเอง แต่ถูกกำหนดให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเหมือนดั่งเช่นสินค้าหรือวัตถุที่มีราคาค่างวด เงินชนิดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทองคำโลหะที่มีค่าเต็มตัว หรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีค่า เงินชนิดนี้มักอยู่ในรูปของกระดาษและสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ตัวอย่างเช่น ใบรับฝากเงิน ใบรับฝากทองคำบัตรสัญญารับฝากเงินที่รัฐบาลเป็นผู้รับฝาก

เงินชนิดนี้คือเงินที่ออกโดยรัฐบาลและธนาคารกลาง เงินชนิดนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทองคำโลหะที่มีค่าเต็มตัว หรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีค่า แต่มูลค่าของเงินชนิดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน เสถียรภาพของรัฐบาล หรือความน่าเชื่อถือของรัฐบาลกลาง เงินชนิดนี้สามารถใช้ได้ตามข้อกำหนดของรัฐบาลหรือตามกฎหมายของประเทศผู้ออกเงินนั้น และในปัจจุบันนี้ ประเทศต่าง ๆ บนโลกใบนี้ล้วนใช้เงินตามคำสั่งในระบบการเงินของประเทศตน ตัวอย่าง เช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์สเตอร์ลิง

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖) ๔๘๑.

เพิ่งอ้าง ๒๕๗.

จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๔๐) ๒๑.

John Smithin, What is Money? (Routledge, 2000) 17.

เหตุผลที่ประเทศไทยกำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี่หรือสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็นทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจเนื่องมาจากคริปโทเคอร์เรนซี่หรือสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็นสินทรัพย์ที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักลงทุน นอกเหนือไปจากการลงทุนในหุ้น ทองคำอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุน และเป็นที่คาดการณ์กันว่าคริปโทเคอร์เรนซี่หรือสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงสำหรับการลงทุนในระยะสั้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่มาจากการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี่หรือสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยอีกเช่นกัน ดังนั้น คริปโทเคอร์เรนซี่หรือสินทรัพย์ดิจิทัลจึงควรถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต

Andrew Haynes and Peter Yeoh, ‘Cryptocurrencies and Cryptoassets: Regulatory and Legal Issues’ (2020) 100.

Ephrat Livni and Eric Lipton, ‘Crypto Banking and Decentralized Finance Explained’ (The New York Times, 5 September 2021) <https://www.nytimes.com/2021/09/05/us/politics/cryptocurrency-explainer.html> accessed 22 April 2022.

ประเทศแคนาดา อังกฤษ และออสเตรเลียไม่ถือว่าคริปโทเคอร์เรนซี่เป็นเงินตราตามกฎหมาย ประเทศเหล่านี้ถือว่าเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศคือ ธนบัตรที่ออกโดยธนาคารกลาง และเหรียญที่ออกโดยกองกษาปณ์

Nicole Wiling, ‘How Many Cryptocurrencies Are There? Guide to the Crowded Market’ (Capital.com, 17 July 2022) <https://capital.com/how-many-different-cryptocurrencies-are-there> accessed 5 July 2022.

Andrew Haynes and Peter Yeoh (n 14) 16.

Nicole Lapin, ‘Explaining Crypto’s Volatility’ (Forbes, 23 December 2021) <https://www.forbes.com/sites/nicolelapin/2021/12/23/explaining-cryptos-volatility/?sh=5287d9397b54> accessed 7 July 2022.

ในประเทศเยอรมัน The German Ministry of Finance (Bundesministerium der Finanzen) ได้ยอมรับบิทคอยน์ในฐานะเงินสกุลดิจิทัล แต่ไม่ยอมรับบิทคอยน์ในฐานะเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือเงินตรา ดังนั้นบิทคอยน์จึงไม่ถือเป็นเงินตราต่างประเทศ; ในประเทศเนเธอร์แลนด์ คริปโทเคอร์เรนซี่ไม่ถือเป็นเงินดิจิทัลหรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กฎหมายแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากคริปโทเคอร์เรนซี่ไม่ได้ออกโดยรัฐบาล.

ในประเทศแคนาดา the Canada Revenue Agency ถือว่าคริปโทเคอร์เรนซี่มีสถานะเป็น Commodity หรือสินค้า นักลงทุนจึงต้องเสียภาษีคริปโทเคอร์เรนซี่เสมือนดังเช่นสินทรัพย์ในทางการเงิน; ในประเทศอังกฤษ ศาลสูงในคดี AA v Persons Unknown & Ors Re Bitcoin ได้วินิจฉัยว่า คริปโทเคอร์เรนซี่หรือบิทคอยน์มีสถานะเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายเสมือนดังเช่นทรัพย์สินอื่น ๆ และสามารถส่งมอบหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้เสมือนดังเช่นทรัพย์สินทั่วไป; ในประเทศออสเตรเลีย คริปโทเคอร์เรนซี่หรือบิทคอยน์ถือเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายและต้องถูกจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับสินทรัพย์ในทางการเงิน; ในประเทศนิวซีแลนด์ ศาลสูงในคดี Ruscoe v Cryptopia Ltd (in Liquidation) ได้วินิจฉัยว่า คริปโทเคอร์เรนซี่เป็นทรัพย์สินที่บริษัททรัสต์สามารถยึดถือไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลสูงในคดีดังกล่าวได้วางหลักไว้ว่า คริปโทเคอร์เรนซี่ทุกสกุลถือเป็นทรัพย์สินตามความใน Section 2 of the New Zealand’s Companies Act และยังอาจถือเป็นทรัพย์สินทั่วไปตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์.

Kate Ashford, ‘What Is Cryptocurrency?’ (Forbes, 6 June 2022) <https://www.forbes.com/advisor/investing/cryptocurrency/what-is-cryptocurrency/#:~:text=A%20cryptocurrency%20is%20a%20digital,the%20value%20of%20a%20cryptocurrency> accessed 16 June 2022); ในประเทศมอลตา คริปโทเคอร์เรนซี่ไม่ถือเป็นเงินตรา แต่ถือเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange).

Asma Salman and Muthanna G. Abdul Razzaq, Blockchain and Cryptocurrencies (IntechOpen2019) 29; Case C-264/14 Skatteverket v. David Hedqvist [2002] ECR I-498. ในสหภาพยุโรป ศาลในคดี Skatteverket v. David Hedqvist ได้เคยวินิจฉัยว่า บิทคอยน์ถือเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) มากกว่าที่จะเป็นวัตถุที่จับต้องได้ (Tangible Property); Payment Services Act (May, 2021) (Japan). ในประเทศญี่ปุ่น คริปโทเคอร์เรนซี่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย และที่สำคัญกฎหมาย Payment Services Act ได้กำหนดให้คริปโทเคอร์เรนซี่ถือเป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ที่ไม่ได้กำหนดโดยเงินตรา (Fiat Currency) คริปโทเคอร์เรนซี่จึงอาจใช้ในการชำระหนี้ได้กับคู่สัญญาหรือบุคคลทั่วไป; ในประเทศเดนมาร์ก Danish Financial Supervisory Authority (DFSA) วางหลักเกณฑ์ว่า คริปโทเคอร์เรนซี่สามารถถูกใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ แต่ไม่ถูกควบคุมหรือกำกับดูแลโดย DFSA หรือกฎหมายเกี่ยวกับการเงินในประเทศ.

ศนันกรณ์ โสตถิพันธ์, คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ ๒๔, สำนักพิมพ์วิญญูชน ๒๕๖๔). ๒๓-๒๕.

ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ ๙, สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ ๒๕๔๙) ๑๖.

ไชยยศ เหมะรัชตะ, หลักกฎหมายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ ๒, สำนักพิมพ์วิญญูชน ๒๕๖๑) หน้า ๔๒.

เพิ่งอ้าง ๔๕.

ศนันกรณ์ โสตถิพันธ์ (เชิงอรรถ ๒๔) ๘๙.

ศักดิ์ สนองชาติ (เชิงอรรถ ๒๕) ๒๓.

ราชบัณฑิตยสถาน (เชิงอรรถ ๙) ๙๙๓.

ศักดิ์ สนองชาติ (เชิงอรรถ ๒๕) ๔๔.

ไชยยศ เหมะรัชตะ (เชิงอรรถ ๒๖) ๕๕.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ‘ก.ล.ต. ออกเกณฑ์กำกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าหรือบริการ’ (sec, ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕) <https://www.sec.or.th/TH/Pafges/News_Detail.aspx?SECID=9353> สืบค้นเมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕.

Phillip Pettit, Republicanism: A Theory of Freedom and Government (Oxford University Press 1997) 62.

อัครวิทย์ สุมาวงศ์, คู่มือการศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรม สัญญา (สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ๒๕๔๓) ๔๓.

วิษณุ เครืองาม, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ (สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ ๒๕๔๒) ๓๑๗.

จิ๊ด เศรษฐบุตร (เชิงอรรถ ๑๑) ๒๘.

กำธร พันธุลาภ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย หนี้ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕๒๐) ๑๒.

บัญญัติ สุชีวะ, คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ๒๕๔๒) ๒๑๗.

โสภณ รัตนากร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย หนี้ (พิมพ์ครั้งที่ ๔, สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ ๒๕๔๒) ๕๔.

เพิ่งอ้าง ๖๑.

จิ๊ด เศรษฐบุตร (เชิงอรรถ ๑๑) ๓๒.

กำธร พันธุลาภ (เชิงอรรถ ๓๘) ๑๗.

โสภณ รัตนากร (เชิงอรรถ ๔๐) ๔๓๘.

เพิ่งอ้าง ๔๖๑.

จิ๊ด เศรษฐบุตร (เชิงอรรถ ๑๑) ๑๘๒.

กำธร พันธุลาภ (เชิงอรรถ ๓๘) ๑๓๑.

แต่ประเทศเยอรมันมีความเห็นว่า บิทคอยน์เป็นทรัพย์สินที่มีความผันผวนของราคาสูงมาก จึงจำหน่ายบิทคอยน์ที่ได้มาจากกระทำความผิดเช่นเดียวกับการจำหน่ายของสดหรือของเน่าเสียได้เพราะถือว่าบิทคอยน์เป็นของสดหรือของเน่าเสียประเภทหนึ่ง

โสภณ รัตนากร (เชิงอรรถ ๔๐) ๙๕.

จิ๊ด เศรษฐบุตร (เชิงอรรถ ๑๑) ๒๔.

โสภณ รัตนากร (เชิงอรรถ ๔๐) ๖๕.

เพิ่งอ้าง ๖๕.

ในประเทศจีน ธนาคารกลางแห่งชาติมีคำสั่งห้ามประชาชนดำเนินกิจกรรมอันเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี่ทุกประเภท โดยถือว่ากิจกรรมอันเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากคริปโทเคอร์เรนซี่อาจทำลายระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ และอาจขยายรูปแบบการกระทำความผิดในคดีอาญา เช่น ฉ้อโกง ยาเสพติด การฟอกเงิน และการค้ามนุษย์