กระบวนพิจารณาบังคับให้ฟ้องคดีในมุมมองของศาสตราจารย์ John H. Langbein (ตอน 1)

Main Article Content

ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

บทคัดย่อ

            ดุลพินิจของพนักงานอัยการในระบบกฎหมายสากลถูกตรวจสอบจากทั้งองค์กรภายในและองค์ภายนอก ในส่วนของการตรวจสอบดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการจากองค์กรภายนอกนั้น กฎหมายเยอรมันได้สร้างหลักเกณฑ์ในเรื่องกระบวนพิจารณาบังคับให้ฟ้องคดี ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน ที่แตกต่างไปจากระบบกฎหมายอเมริกันที่ไม่มีการตรวจสอบดุลพินิจของพนักงานอัยการแต่อย่างใด เพราะพนักงานอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกามีดุลพินิจอย่างกว้างขวางในการที่จะสั่งฟ้องคดีอาญา บุคคลใดบุคคลหนึ่งจากแนวคิดในเรื่องของหลักการแบ่งแยกอำนาจ นอกจากนี้ ข้อแตกต่างที่สำคัญของพนักงานอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกาและพนักงานอัยการเยอรมันมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า พนักงานอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ John H. Langbein ได้แสดงความเห็นไว้ว่า แม้พนักงานอัยการของประเทศเยอรมนี และพนักงานอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอำนาจผูกขาดในการฟ้องคดีอาญาเหมือนกัน แต่นักกฎหมายเยอรมันเลือกที่จะใช้วิธีการในทางนิติบัญญัติในการจำกัดการใช้ดุลพินิจดังกล่าวของพนักงานอัยการซึ่งแตกต่างจากระบบกฎหมายอเมริกันที่ไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์ในทางนิติบัญญัติในกรณีดังกล่าวไว้แต่อย่างใด การศึกษาหัวข้อดังกล่าวของผู้เขียนเพื่อประโยชน์ในการนำแนวคิด ในเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้การสั่งไม่ฟ้องคดีของ พนักงานอัยการไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘การมีส่วนร่วมของผู้เสียหายในกระบวนพิจารณาคดีอาญาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน’ (2554) 2 ดุลพาห 90.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘เหลียวหลังแลหน้า : หลักและปัญหาการดำเนินคดีอาญาของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน’ (2562) 1 บทบัณฑิตย์ 212.

ภาษาต่างประเทศ

Floriaan H. Went, ‘Das Opportunitaetsprinzip im niederlaendischen und schweizerischen Strafverfahren’ (Erasmus University Rotterdam) 17-20 <https://core.ac.uk/download/pdf/18511526.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

Joan E. Jacoby, ‘The American Prosecutor in Historical Context’ (no publication date) 3 <https://cdn.ymaws.com/mcaa-mn.org/resource/resmgr/Files/About_Us/AmerProsecutorHistoricalCont.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

John H. Langbein, ‘Controlling Prosecutorial Discretion in Germany’ (1974) 3 The University of Chicago Law Review 439 <https://chicagounbound.uchicago.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=13853&context=journal_articles> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

John M. Scheb and John M. Scheb II, Criminal Procedure ( 4th edn, Thomson Wadsworth 2006).

John L. Worrall, Prosecution in America: A Historical and Comparative Account (State University of New York Press 2008) 5 <https://sunypress.edu/content/download/452027/5499038/version/1/file/9780791475911_imported2_excerpt.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

Jordan A. Sklansky, ‘The Nature and Function of Prosecutorial Power’ (2016) 3 Journal of Criminal Law and Criminology 473, 495-498 <https://scholarlycommons.law.northwestern.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=7590&context=jclc> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

Rebecca Krauss, ‘The Theory of Prosecutorial Discretion in Federal Law: Origins and Developments’ (2012) 1 Seton Hall Circuit Review 1 <https://scholarship.shu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1027&context=circuit_review> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

Russell M. Gold, ‘Promoting Democracy in Prosecution’ (2011) 86 Washington Law Review 69, 75 <https://scholarship.law.ua.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1334&context=fac_articles> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

William T. Pizzi, ‘Unterstanding Prosecutorial Discretion in the United States: The Limits of Comparative Criminal Procedure as an Instrument of Reform’ (1993) 54 Ohio State Law Journal 1325, 1337 <https://kb.osu.edu/bitstream/handle/1811/64665/OSLJ_V54N5_1325.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.

University of Georgia School of Law Career Development Office, ‘Public Interest Career Guide’ (University of Georgia School of Law, July 2015) 1 <http://www.law.uga.edu/sites/default/files/Public%20Interest%20Career%20Guide%202015-2016.pdf> สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2566.