ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
สิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่เป็นการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบสิทธิบัตรของหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความแตกต่างกันในส่วนที่เกี่ยวกับขอบเขตการให้ความคุ้มครอง ดังนั้น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่โดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐอินเดียเพื่อกำหนดขอบเขต และหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่อย่างเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
จากการศึกษาพบว่าการให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ลักษณะดังกล่าวนำมาซึ่งผลกระทบและข้อกังวลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงสิทธิบัตรของประชน อย่างไรก็ตาม การให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ลักษณะดังกล่าวหาได้ก่อให้เกิดแต่เฉพาะผลกระทบในเชิงลบเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกได้เช่นกัน ดังนั้น ในการพิจารณาแนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่จึงต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งประเด็นปัญหาทางกฎหมาย บริบททางสังคม เศรษฐกิจและแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศ
ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการใช้วิธีใหม่ภายใต้หลักเกณฑ์และขอบเขตที่เหมาะสม โดยแก้ไขบทนิยามในมาตรา 3 ของการประดิษฐ์ประเภทกรรมวิธีใหม่หมายความรวมถึงการใช้วิธีใหม่ของการประดิษฐ์เก่า และเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 9(6) เพื่อเป็นหลักประกันว่าการใช้วิธีใหม่ของการประดิษฐ์เก่าจะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อการใช้ดังกล่าวส่งเสริมประสิทธิภาพของการประดิษฐ์เดิมอย่างมีนัยยะสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
จักรกฤษณ์ ควรพจน์, กฎหมายสิทธิบัตร แนวคิดและบทวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์นิติธรรม 2560).
จักรี ไชยพินิจ, ‘เสรีนิยมใหม่กับระบบทรัพย์สินทางปัญญาในสาธารณรัฐอินเดีย: ศึกษากรณีกฎหมายสิทธิบัตรในสาธารณรัฐอินเดียและบทเรียนสู่ประเทศไทย’ (2563) 14 วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 37.
ปริญญา ดีผดุง และคณะ, ‘กฎหมายสิทธิบัตร การจัดการคดีสิทธิบัตรสำหรับผู้พิพากษาในประเทศสหรัฐอเมริกา’ (รายงานส่วนบุคคล หลักสูตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เบิร์คลีย์ 2557).
วิไลลักษณ์ ไกรลาส, ‘ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายของ Evergreening patent ภายใต้ระบบสิทธิบัตร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2563).
เสสินา นิ่มสุวรรณ์, ‘ประเด็นท้าทายในการให้ความคุ้มครองกรรมวิธีทางการแพทย์ภายใต้ระบบสิทธิบัตร’ (การประชุมวิชาการระดับชาติ “นิติพัฒน์-ธรรมศาสตร์” ครั้งที่ 7, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565).
ภาษาต่างประเทศ
Alison L. Deutsch, ‘The 5 Industries Driving the U.S. Economy’ (Investopedia, 24 October 2021) <https://www.investopedia.com/articles/investing/042915/5-industries-driving-us-economy.asp> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566.
Carlos M. Correa, Pharmaceutical Innovation, Incremental Patenting and Compulsory Licensing (South Centre 2011).
Catrin Petty, ‘Protecting a New Medical Use of a Known Substance’ (Venner Shipley, 14 October 2019) <https://www.vennershipley.co.uk/insights-events/protecting-a-new-medical-use-of-a-known-substance/> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566.
Christopher M. Holman, Timo Minssen, and Eric M. Solovy, ‘Patentability Standards for Follow-On Pharmaceutical Innovation’ (2018) 37 Biotechnology Law Report 131 <http://doi.org/10.1089/blr.2018.29073.cmh> สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566.
Hazel V. J. Moir, ‘Pharmaceutical Patents and Evergreening’ in Enrico Bonadio and Patrick Goold (eds) The Cambridge handbook of Investment-Driven Intellectual Property (Cambridge University Press 2023).
Jakkrit Kuanpoth, Patent Rights in Pharmaceuticals in Developing Countries: Major Challenges for the Future (Edward Elgar Publishing Limited 2010).
Lionel Bently and others, Intellectual Property Law (5th edn, Oxford 2018).
Patralekha Chatterjee, ‘Five Years After the Indian Supreme Court’s Novartis Verdict’ (Intellectual Property Watch, 20 May 2018) <https://www.ip-watch.org/2018/05/20/five-years-indian-supreme-courts-novartis-verdict/> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566.
Qadir Qeidary, ‘Emerging Issues: New Uses, Whether Threat or Chance, What is the Current and Appropriate Legal Treatment?’ (2015) 1 Oklahoma Journal of Law and Technology 1 <https://digitalcommons.law.ou.edu/okjolt/vol11/iss1/3> สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.
Sean B. Seymore, ‘Patenting New Use for Old Inventions’ (2020) 2 Vanderbilt Law Review 479 <https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3343618> สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2566.
Suman Shrey Singh, ‘Patenting in Pharmaceuticals: India and Japan’ (Study cum Research Report: WIPO-JPO Long Term Fellowship submitted to World Intellectual Property Organization 2010).
U.S. Patent and Trademark Office, ‘U.S. Patent Statistics Chart Calendar Years 1963 – 2020’ (May 2021) <https://www.uspto.gov/web/offices/ac/ido/oeip/taf/us_stat.htm> สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566.
William Harris, ‘10 New Uses for Old Inventions’ (HowStuffWorks, 3 March 2011) <https://science.howstuffworks.com/innovation/repurposed-inventions/10-new-uses-for-old-inventions.htm> สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566.
William R. Cornish, David Llewelyn, and Tanya Aplin, Intellectual Property: Patents, Copyright, Trademarks and Allied Rights (Sweet & Maxwell 2013).