ปัญหาในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งของรัฐในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐในประเทศไทยโดยใช้การศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research)
จากการศึกษาพบว่า ภายหลังมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีหลายประการด้วยกัน อาทิ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคของรายได้จากการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรพื้นที่พิเศษสำหรับการจัดเก็บภาษีที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ และปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาคในการจัดเก็บภาษีตลอดจนไม่สอดคล้องกับการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันและยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี จึงสมควร แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาทาง กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคและเป็นธรรมทางด้านภาษีในสังคมไทยที่ยั่งยืนมั่นคงต่อไป
ทั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ในมาตรา 7 วรรคสอง โดยกำหนดให้นำรายได้บางส่วนจากการจัดเก็บภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินและเพิ่มเติมมาตรา 72/1 และมาตรา 72/2 ในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกำหนดให้มีการจัดแบ่งพื้นที่พิเศษในการจัดเก็บภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านคมนาคมหรือด้านอื่น ๆ สูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีโครงการดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
หนังสือ
จรัส สุวรรณมาลา, ระบบงบประมาณและการจัดการแบบมุ่งผลสำเร็จในภาครัฐ: ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองยุคใหม่ (ธนธัชการพิมพ์ 2546).
จิรนันท์ ไชยบุปผา, หลักกฎหมายภาษีอากร (ตามประมวลรัษฎากร) (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2561).
ชาญชัย แสวงศักดิ์, กฎหมายมหาชน: ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2556).
สมยศ เชื้อไทย, หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน (2550).
วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
เจริญจิตต์ ผจงวิริยาทร, ‘ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดนมิเนียมในกรุงเทพมหานครของประชากรในกรุงเทพมหานคร’ (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).
ธงชัย ชูสุ่น, ‘ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดนิเนียม’ (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2559).
สมฤทัย ผุยวรรณ์, ‘ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี’ (สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม 2556).
เอกสารอื่น ๆ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, ‘ข้อมูลรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560’ (สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2560).
กระทรวงคมนาคม, ‘แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565’ (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม 2557).
นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์, ‘แนวโน้มตลาดคอนโดกรุงเทพฯ ปี 2564’ (Brand Inside, 13 มกราคม 2564) <https://brandinside.asia/condominium-market-2021/> สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565.
ภาวิน ศิริประภานุกูล, บทวิเคราะห์กฎหมายส่งเสริมวินัยการเงินการคลัง (ข้อเสนอว่าด้วยร่างพระราชบัญญัติวินัยทางการคลังและการเงิน พ.ศ. ...) (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2556).
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, ‘สรุปย่อการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557’ <http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER4/DRAWER030/GENERAL/DATA0000/00000018.PDF> 5-6 สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2562.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ‘แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564)’ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2559).
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ‘เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ. ....’ สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566.
หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/23755 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เรื่อง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development).
หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506/11119 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2558 เรื่อง แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558 (Action Plan).
อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยาและคณะ, ‘การใช้อิทธิพลในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและป่าไม้’ (สัมมนาวิชาการประจำปี 2552 การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม, เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร, 25-26 พฤศจิกายน 2552).
ภาษาต่างประเทศ
Journals
Miroslaw GDESZ, ‘Adjacency Levies in Poland – Main Problems’ (Pharaohs to Geoinformatics FIG Working Week 2005 and GSDI-8 Cairo, Egypt, April 16-21, 2005).
Oscar Borrero Ochoa, ‘Betterment Levy in Colombia: Relevance, Procedures, and Social Acceptability’ (Lincoln Institute of Land Policy, 1 April 2011) <http://www.lincolninst.edu/publications/articles/betterment-levy-colombia> สืบค้น เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565.
Peter Newman and Jeff Kenworthy, ‘The land use-transport connection: an overview’ (1996) 1 Land Use Policy 1.