รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ศึกษากรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562

Main Article Content

ดร.กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักการพื้นฐานทางรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยที่ปรากฏในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562 อันมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


          ผลการศึกษาพบว่า รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยที่ปรากฏในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562 ประกอบด้วยหลักการสำคัญสามประการ คือ ประการแรก การกำหนดอัตลักษณ์เฉพาะของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ประการที่สอง หลักการพื้นฐานว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่เหนือและมีความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งมิได้หมายความเพียงองค์พระมหากษัตริย์ ให้รวมถึงพระบรมราชวงศ์ทรงอยู่ในสถานะดังกล่าวด้วย และ ประการที่สาม การวางบรรทัดฐานนิยามความหมายของคำว่า “ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งอยู่ในสถานะที่เป็นการอุดช่องว่างในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ และถือเป็นหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปหรือหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญไทยอีกด้วย


          ข้อเสนอแนะการวิจัย ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น ควรนำรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจากคำวินิจฉัยฉบับนี้นำไปบัญญัติไว้ให้ชัดเจนในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักการพื้นฐานการปกครองของไทย

Article Details

บท
บทความ

References

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว, ‘การใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศึกษากรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2560).

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 2 การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชนและพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550).

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 10, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

ประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 37 ง).

วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ (สำนักพิมพ์นิติบรรณการ 2530).

ภาษาอังกฤษ

Al-Monitor Staff, ‘Bahrain appoints crown prince as new prime minister’ (Al-Monitor, 12 November 2020)<https://www.al-monitor.com/originals/2020/11/bahrain-prime-minister-sheikh-salman-bin-hamad-al-khalifa.html> สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565.

Alfred Stepan, Juan J. Linz and Juli F. Minoves, ‘Democratic Parliamentary Monarchies’ (2014) 2 Journal of Democracy 35.

Andrew Mills, ‘Qatar’s emir names top diplomat as premier, reappoints energy and finance ministers’ (Reuters, 7 March 2023) <https://www.reuters.com/world/middle-east/qatars-emir-names-new-pm-reappoints-energy-finance-ministers-cabinet-reshuffle-2023-03-07/> สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2566.

The Constitution of the Kingdom of Bahrain (Issued in 2002) and its amendments <https://www.nihr.org.bh/en/MediaHandler/GenericHandler/documents/download/1%20Constitution%20of%20the%20Kingdom%20of%20Bahrain.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565.

TheConstitutionofQatar <https://www.gco.gov.qa/wp-content/uploads/2016/09/GCO-Constitution-English.pdf> สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566.