มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

สิทธิภาคย์ ภูริสินสิทธิ์

บทคัดย่อ

       ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) เป็นสิ่งที่ภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เน้นว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เนื่องจาก SMEs เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่อุปสรรคสำคัญของ SMEs คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน


       ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านสถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางทางการเงิน (Indirect Financing) หรือช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านตลาดทุน (Direct Financing) รวมไปถึงช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยผ่านผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) เช่น ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับหรือผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพสำหรับบุคคลรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนของผู้ประกอบการ SMEs อันเห็นได้จากข้อมูล ณ ปี 2565 ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่พบว่าผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าร้อยละ 60 ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้


       ดังนั้น หลายประเทศจึงให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีทางการเงินที่เรียกว่า Loan–based Crowdfunding หรือ Peer to Peer Lending (P2P Lending) มาใช้ในการพัฒนาช่องทางการจัดหาแหล่งเงินทุนจากคนจำนวนมากให้กับผู้ที่ต้องการใช้เงินผ่านตัวกลางที่เป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งทั้งสามประเทศมีการประกอบธุรกิจ P2P Lending มาอย่างยาวนาน มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ P2P Lending ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการรับทราบปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ P2P Lending อยู่เสมอ


       ขณะที่ประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยอาศัยอำนาจประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (เรื่อง ธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล) ได้ทำการออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.14/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (peer to peer lending platform) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยเป็นประกาศที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน


       ทั้งนี้ จากการศึกษาของผู้เขียน พบว่า หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ยังคงมีหลายประเด็นที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรในการกำกับดูแลและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ P2P Lending ปัญหาเกี่ยวกับความหลากหลายของประเภทสินเชื่อ ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนใน P2P Lending Platform ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และปัญหาเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายของธุรกิจ P2P Lending


       ในประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับการกำกับดูแลและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงและแก้ไขหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทย เพื่อทำให้การประกอบธุรกิจ P2P Lending ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย สามารถช่วยประชาชนและภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ลดการเกิดหนี้นอกระบบ รวมทั้งทำให้การกำกับดูแลธุรกิจ P2P Lending และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย, ‘22 คำตอบที่จะทำให้คุณเข้าใจอนาคตเศรษฐกิจการเงินไทย’ (BOT, 1 กุมภาพันธ์ 2566) <https://app.bot.or.th/landscape/news/2022/02/01/summary/> สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565.

ภาษาอังกฤษ

— —, ‘Safeguard and Rapid Return Loans’ (2013) <http://blog.zopa.com/2013/06/24/safeguard_and_rapid_return_loans/> สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566.

Boris Vallee and Yao Zeng, ‘Marketplace Lending: A New Banking Paradigm?’ (papers, 4 February 2018) <http://ssrn.com/abstract=3102984> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Cambridge Centre for Alternative Finance, ‘Crowdfunding in East Africa: Regulation and Policy for Market Development’ (JBS, January 2017) <http://www.jbs.cam.ac.uk/wpcontent/uploads/2020/08/2017-05-eastafrica-crowdfunding-report.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Chapman and Cutler LLP, ‘The Regulation of Marketplace Lending: A Summary of the Principal Issues’ (April 2022) <http://www.chapman.com/media/publication/926_Chapman_Regulation_of_Marketplace_Lending_2022.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Christoph Kneiding and Richard Rosenberg, ‘Variations in Microcredit Interest Rates’ (CGAP, July 2008) <https://www.cgap.org/sites/default/files/CGAP-Brief-Variations-in-Microcredit-Interest-Rates-Jul-2008.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Craig W. Holden and others, ‘The Effect of Secondary Market Existence on Primary Market Liquidity: Theory and Evidence from a Natural Experiment in Peer-to-Peer Lending’ (31 December 2019) <http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3502006> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Financial Conduct Authority, ‘Loan-based (‘peer-to-peer’) and investment-based crowdfunding platforms: Feedback on our post--implementation review and proposed changes to the regulatory framework 18 (Consultation Paper CP18/20)’ (FCA, July 2018) <http://www.fca.org.uk/publication/consultation/cp18-20.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Financial Conduct Authority, ‘Loan-based (‘peer-to-peer’) and investment-based crowdfunding platforms: Feedback to CP18/20 and final rules (Policy Statement PS19/14)’ (FCA, June 2019) <http://www.fca.org.uk/publication/policy/ps19-14.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Kevin Wack, ‘Prosper Shuts Down the Secondary Market for Its Loans’ (3 October 2016) <https://www.americanbanker.com/marketplace-lending/prosper-shuts-down-the-secondary-market-for-its-loans-1091729-1.html?zkPrintable=true> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Majid Bazarbash and Kimberly Beaton, ‘Filling the Gap: Digital Credit and Financial Inclusion’ (IMF, 7 August 2020) <https://www.imf.org/en/Publications/WP/Issues/2020/08/07/Filling-the-Gap-Digital-Credit-and-Financial-Inclusion-49638> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Moran Ofir and Ido Sadeh, ‘A Revolution in Progress: Regulating P2P Lending Platforms’ (2020) 3 New York University Journal of Law and Business.

Office of the Comptroller of the Currency, ‘Exploring Special Purpose National Bank Charters for Fintech Companies’ (OCC, December 2016) <http://www.occ.gov/publications-and-resources/publications/banker-education/files/exploring-special-purpose-nat-bank-charters-fintech-companies.html> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Olena Havrylchyk & Marianne Verdier, ‘The Financial Intermediation Role of the P2P Lending Platforms’ (2018) 3 Comparative Economic Studies 115.

Personal Data Protection Commission, ‘Compendium of Use Cases: Practical Illustrations of The Model AI Governance Framework’ (2020) <http://www.pdpc.gov.sg/-/media/Files/PDPC/PDF-Files/Resource-for-Organisation/AI/SGAIGovUseCases.pdf> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.

Robin Hui Huang and Christine Menglu Wang, ‘The Fall of Online P2P Lending in China: A Critique of the Central-Local Co-regulatory Regime’ (2021) 3 Banking & Finance Law Review 481.

Tetyana Balyuk and Sergei Davydenko, ‘Reintermediation in FinTech: Evidence from Online Lending’ (papers, 18 June 2018) <http://ssrn.com/abstract=3189236> สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2566.