การประเมินผลสัมฤทธิ์ พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ ดร.ปวริศร เลิศธรรมเทวี

บทคัดย่อ

        การประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 (พ.ร.บ. JSOC) ก่อให้เกิดระบบและกลไกการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดร้ายแรงใน 3 กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ (1) ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (2) ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย และ (3) ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพในคดีเรียกค่าไถ่ บทความนี้ศึกษาระบบและกลไกการจำแนกผู้กระทำความผิดร้ายแรงออกจากผู้กระทำความผิดทั่วไป การบำบัดพัฒนาพฤตินิสัยที่มีรูปแบบเฉพาะสำหรับผู้กระทำความผิดร้ายแรง ตลอดจนการติดตามผู้พ้นโทษในคดีร้ายแรง เพื่อส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคมด้วยดี และจากการศึกษาพบว่าการดำเนินงานตาม พ.ร.บ. JSOC ก่อให้เกิดความจำเป็นในการสร้างกลไกการจำแนกผู้กระทำความผิดเพื่อคัดกรองผู้กระทำความผิดร้ายแรงที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคมออกจากผู้กระทำความผิดโดยทั่วไป การจำแนกผู้กระทำความผิดดังกล่าวก็เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดร้ายแรงที่มีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคมในลักษณะที่สอดคล้องกับภาวะและความต้องการส่วนบุคคล และมีระบบและกระบวนการในการติดตามผู้กระทำความผิดร้ายแรงหลังพ้นโทษเพื่อให้การช่วยเหลือในการกลับคืนสู่สังคม วัตถุประสงค์ของการศึกษาในบทความนี้ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฉบับดังกล่าว

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

ปวริศร เลิศธรรมเทวี, ‘การศึกษากฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมของผู้กระทำความผิด’ (รายงานการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โครงการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำเล่ม 9 เสนอต่อสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 2563).

ปวริศร เลิศธรรมเทวี, สิทธิทางรัฐธรรมนูญ (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2565).

ภาษาอังกฤษ

Adam Walsh Child Protection and Safety Act (2006) (United States of America).

Charles de Montesquieu, De l’esprit des lois (1749).

Code of Criminal Procedure (1958) (Republic of France).

Criminal Justice Act (2003) (England and Wales).

Sentencing Act (2020) (England and Wales).

Serious Offenders Act (2018) (Vic) (Commonwealth of Australia).

Sex Offenders Act (1997) (England and Wales).

Sexual Offenders Act (2003) (England and Wales).

Universal Declaration of Human Rights, G.A. res. 217A (III), U.N. Doc A/810 (1948).