ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213

Main Article Content

สถิตพร เรืองจันทร์
ดร.ดลนภา นันทวโรไพร

บทคัดย่อ

          ระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญเป็นกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ถูกกระทำละเมิดให้เป็นไปตามหลักประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยบุคคลซึ่งถูกกระทำละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันเกิดจากการกระทำของรัฐสามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อพิจารณาวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดข้อจำกัดขอบเขตวัตถุแห่งคดีในการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหลายประการ ประกอบกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายมีความไม่ชัดเจน จึงอาจนำมาซึ่งปัญหาในการบังคับใช้ การตีความกฎหมายอันอาจส่งผลกระทบต่อหลักประกันการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ


          บทความฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 โดยศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุแห่งคดีในการให้สิทธิบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต่อไป

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

ธีระ สุธีวรางกูร, ‘ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กับฉบับก่อน ๆ’ (2542) 1(1) วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 72 <http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/document/index.php?order=desc> สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566.

บรรเจิด สิงคะเนติ, ‘การใช้สิทธิทางศาลของบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว’ (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2551).

— —, ‘การใช้สิทธิของประชาชนในการฟ้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2560’ อ้างถึงใน รัฐธรรมนูญ 60:60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2562).

สุชาดา เรื่องแสงทองกุล, ‘การกระทำทางรัฐบาล และปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาลตร์ 2560).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ‘ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญกับศาลรัฐธรรมนูญ’ อ้างถึงใน รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ธรรมศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2541).

— —, ‘การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมัน : วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยประชาชนต่อ ศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทย’ (2553) 3 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 469.

วัลยา จิวานุพันธ์, ‘การใช้สิทธิของประชาชนในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยองค์กรตุลาการ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546).

สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ, ‘ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับสิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560’ อ้างถึงใน ที่ระลึก 60 ปี พี่ใหญ่ ใจหาญ (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2561).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ‘บันทึกเจตนารมณ์ในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550’ อ้างถึงใน รวมบทสรุปผู้บริหารการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2552).

ภาษาต่างประเทศ

Rudolf Machacek, Verfahren vor dem Verfassungsgerichtshof und vor dem Verwaltungsgerichtdhof (Manz’Sche Verlags- U. Universitatsbuchhandlung 2004) <https://www.jstor.org/actiondoBasicSearch?Query=Rudolf+Machacek> สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566.

Lee Jinsung, ‘Constitutional Complaint System, the Korea Experience and Comparative Studies’ in Global Constitutionalism and Multi-Layered Protection of Human Rights (Constitutional Court of Korea 2016) <https://bib.irb.hr/datoteka/796420.Global_Constitutionalism_and_Multi-layered_Protection_of_Human_Rights_2016.pdf> สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2566.

Tom Ginsburg, ‘Rule by Law or Rule of Law? The Constitutional Court of Korea’ in Judicial Review in New Democracies: Constitutional Courts in Asian Cases (U.K.: Cambridge University Press 2003) <https://assets.cambridge.org/97805218/17158/frontmatter/9780521817158_frontmatter.pdf> สืบค้น เมื่อ 25 กรกฎาคม 2566.