การตรวจสอบการกระทำตามหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตุลาการ

Main Article Content

พรรณรพี ชุมนุมพร
ดร.ดลนภา นันทวโรไพร

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งศึกษาถึงลักษณะการกระทำตามหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีต่าง ๆ ว่ามีลักษณะในทางกฎหมายเป็นอย่างไร แนวคำวินิจฉัยของศาลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของผู้ตรวจการแผ่นดิน และปัญหาที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในการตรวจสอบการกระทำตามหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะให้การตรวจสอบการกระทำของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้มีความชัดเจนและเหมาะสม


          ผู้เขียนได้ศึกษาปัญหาดังกล่าวจากรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง วรรณกรรม ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งและคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยนำข้อมูลมาทำการศึกษา เรียบเรียง และวิเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต่าง ๆ และศึกษาลักษณะการใช้อำนาจและการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินของต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางในการแก้ปัญหาของการศึกษา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีการบัญญัติหน้าที่และอำนาจไว้ ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ส่งผลให้การกระทำของผู้ตรวจการแผ่นดินมีทั้งการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญและการใช้อำนาจทางปกครอง แต่ไม่ได้มีการแยกแยะให้ชัดเจนไว้ในกฎหมายแต่อย่างใดว่ากรณีใดเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง ประกอบกับผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจหลักในการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการโดยไม่มีอำนาจสั่งการส่งผลให้คำวินิจฉัยของศาลที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่มีความชัดเจน และเกิดปัญหาว่าการกระทำของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์กรตุลาการใด


          ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 231 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 รวมถึงมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าการกระทำของผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์กรตุลาการใด

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2563).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, ‘Le Médiateur (Ombudsman ของฝรั่งเศส) จะอยู่ในการควบคุมของศาลปกครองหรือไม่’ (2530) 1 วารสารกฎหมายปกครอง 270 อ้างถึงใน ปิยบุตร แสงกนกกุล, ‘ผู้ตรวจการแผ่นดินของในปัจจุบัน’ (2544) 4 วารสารนิติศาสตร์ 897.

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 9, วิญญูชน 2558)

ชาญชัย แสวงศักดิ์, กฎหมายมหาชน วิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนในต่างประเทศและในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2563).

นพดล เฮงเจริญ, องค์กรอิสระ : สาระสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ (2548) 3 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 43.

นันทวัฒน์ บรมานันท์, ‘ความเป็นมาของการจัดตั้งผู้พิทักษ์สิทธิของประชาชนในประเทศฝรั่งเศส’ (Public Law Net เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย, 29 ตุลาคม 2561) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1433> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.

นิพนธ์ ฮะกีมี ‘องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ’ อ้างถึงใน นวรัตน์ สถาพรนานนท์, ‘สถานะคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน’ (ผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่สอบสวนผู้ชำนาญการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2562).

บรรเจิด สิงคะเนติ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคดีปกครองเยอรมัน (โครงการตำราและวารสาร นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547).

บรรเจิด สิงคะเนติ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (วิญญูชน 2544).

บรรเจิด สิงคะเนติ, ‘ปัญหาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ’ (2544) 3 วารสารวิชาการศาลปกครอง 1.

บรรเจิด สิงคะเนติ ‘บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ:ศึกษากรณีปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครอง ตอนที่ 2’ (Public Law Net เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย, 20 ธันวาคม 2547) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=136> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.

บรรเจิด สิงคะเนติ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2563).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2563) 31.

บรรหาร จงเจริญประเสริฐ, ‘ความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติธรรมและนิติรัฐ’ (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 วิทยาลัยธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี (นิติธรรม 2558).

ประยูร กาญจนดุล, ‘หลักนิติธรรมไทย’ ใน นิติรัฐ นิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายปกครองของประเทศในยุโรป (พิมพ์ครั้งที่ 1, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์, ‘สถาบัน Ombudsman ศึกษาในเชิงเปรียบเทียบและแนวทาง การจัดตั้งในประเทศไทย’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ 2538).

ยุทธพร อิสรชัย ‘การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ’ (สถาบันพระปกเกล้า, 15 มีนาคม 2566) สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคณะ, ‘แถลงการณ์คณาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ความเห็นต่อคำสั่งศาลปกครองกลางคดีหมายเลขดำที่ 984/2551 รับคำฟ้องกรณีแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา เรื่อง การขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา’ ใน การกระทำทางรัฐบาลหรือการกระทำของรัฐบาล : ข้อถกเถียงทางวิชาการในระบบกฎหมายมหาชนไทย (โรงพิมพ์ เดือนตุลา 2551).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, แนวคิดเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง : ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรการเรียนรู้กฎหมายมหาชนด้วยตนเอง หมวดที่ 2 การกระทำทางปกครอง ชุดวิชาที่ 1 (ธนาเพรส 2548).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง คู่มือการศึกษากฎหมายปกครอง (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2540).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง (วิญญูชน 2562).

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ‘อำนาจหน้าที่และการประสานงานระหว่างผู้ตรวจการแผ่นดินกับศาลปกครอง’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานศาลปกครอง 2544).

สมยศ เชื้อไทย, นิติรัฐ นิติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

สิริยา พรหมราชยศ, ‘สถานะทางกฎหมายขององค์กรอิสระในระบบกฎหมายไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

สุริยา ปานแป้น และอนุวัฒน์ บุญนันท์, คู่มือสอบกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 13, วิญญูชน 2562).

อมร จันทรสมบูรณ์, กฎหมายปกครอง Administrative Law LA 409 (พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2538).

อุดม รัฐอมฤต, ระบบการควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า 2554).

ภาษาต่างประเทศ

Michael Gotze, ‘The Danish Ombudsman- A National watchdog with selected preferenc’ (2010) 1 Utrecht Law Review 34 (พิริยะ ศิริโพธิ์พันธุ์กุล ผู้แปล) อ้างถึงใน พิริยะ ศิริโพธิ์พันธุ์กุล ‘ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Folketingets Ombudsman) องค์กรตรวจสอบแห่งชาติกับบทบาทที่เลือกแสดงได้ตามใจ’ (2556) 2 วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 57.

REGERINGSKANSLIEF (Ministry of justice) The Swedish Judiciary-A Brife introduction (Sweden) 8 อ้างถึงใน สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ‘อำนาจหน้าที่และการประสานงานระหว่างผู้ตรวจการแผ่นดินกับศาลปกครอง’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานศาลปกครอง 2544) 22.

State of Hawaii Office of the Ombudsman, ‘What is the Office of the Ombudsman?’ <https://www.ombudsman.hawaii.gov/about-us/> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.

State of Hawaii Office of the Ombudsman, ‘Chapter 96’ <http://ombudsman.hawaii.gov/about-us/chapter-96/> สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565.