ปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ในการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

Main Article Content

ณชญาดา มณีจันสุข

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาเขตอำนาจศาลในการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบ และศึกษาพัฒนาการของระบบกฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาเขตอำนาจศาลจากกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายเยอรมัน รวมทั้งพิจารณากรณีศึกษาจากคำพิพากษาของต่างประเทศดังกล่าว คำพิพากษาศาลปกครองไทย และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล


          จากการศึกษาพบว่า คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้วางแนววินิจฉัยว่าหากประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิในที่ดินให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และหากเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนคดีที่มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกันหากการวินิจฉัยสิทธิในที่ดินเป็นประเด็นแห่งคดีให้เป็นอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดี แต่ถ้าข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเป็นเพียงประเด็นรองในคดีพิพาททางปกครอง ก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สอดคล้องกับแนววินิจฉัยของศาลประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันที่ถือว่าข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แต่หากปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเพียงประเด็นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีที่เป็นข้อพิพาททางปกครอง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ โดยบทความนี้เสนอว่า ควรกําหนดให้คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและออกคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีอยู่ในอํานาจศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพื่อกำหนดเขตอำนาจศาลที่เหมาะสม ทั้งเป็นการลดภาระงานของศาลและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ส่งผลให้คู่กรณีได้รับการพิจารณาพิพากษาที่รวดเร็ว และพัฒนาระบบศาลหรือระบบกฎหมายของไทยให้เป็นระบบให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

กิจบดี ก้องเบญจภุช, หลักกฎหมายมหาชน ( พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561).

กิตติศักดิ์ ปรกติ และสมเกียรติ วรปัญญาอนันต์, ‘ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการดำเนินการทางปกครองในเรื่องสิทธิในที่ดิน’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สํานักงานศาลยุติธรรม 2562).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 13, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2565).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 25, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560). นันทวัฒน์ บรมานันท์, ‘องค์กรชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล’ (Public Law Net เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย 2547) <http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=246> สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565.

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง ( พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2563).

พงษ์ธวัฒน์ บุญพิทักษ์, ‘ระบบศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม’ (บทความใช้เพื่อการนำออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา รายการเจตนารมณ์กฎหมาย, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2562) 1 <https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2244> สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2565.

โภคิน พลกุล, ‘การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล’ (2545) 2 วารสารวิชาการศาลปกครอง 22.

รงค์ ประพันธ์พงศ์, 7 ภูวนาถ ราชภักดิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ 2559).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘ศาลปกครองกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ’ (2557) 13 วารสารกฎหมายปกครอง 42.

ศฤงคาร พันธุพงศ์, ประวัติศาสตร์ยุโรป 2 (พิมพ์ครั้งที่ 8, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2560).

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาล,สรุปแนวคําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ มปป. <https://oscj.coj.go.th/th/file/get/file/2018092505a0a6f53f0c5b10395077802a2f32e3204012.PDF> สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล, ‘ความเป็นมาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาล’ (สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล 2562) <https://oscj.coj.go.th/th/content/page/index/id/123927> สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566.

เสริมดรุณี ตันติเวสส, ‘คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก่อนที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นกับปัญหาเขตอำนาจศาลระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549).

แสวง บุญเฉลิมวิภาส, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย (พิมพ์ครั้งที่ 20, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2565).

หยุด แสงอุทัย, คำบรรยายความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (สมยศ เชื้อไทย ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 22, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2565).

อนันต์ ชุมวิสูตร, คำอธิบายวิชาระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2561).

อมร จันทรสมบูรณ์, ‘เราควรจะมีศาลปกครองหรือยัง’ (2533) 9 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 60.

อุมาพร วังคําแหง, ‘ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญของกฎหมายลําดับรองที่ออกโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง 2546).

เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ, ‘วิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ’ (รายงานการศึกษาวิจัยเสนอต่อสํานักงานศาลปกครอง 2549).

ภาษาต่างประเทศ

Hans Gerald Crossland, ‘Rights of the Individual to Challenge Administrative Action before Administrative Courts in France and Germany’ (1975) 4 The International and Comparative Law Quarterly.

Hugo Flavier and Charles Froger, ‘Administrative Justice in France. between Singularity and Classicism’ (2016) 3 BRICS Law Journal.

Leon Duguit, ‘The French Administrative Courts’ (1914) Political Science Quarterly Oxford Academic.

Matthieu Bertozzo, ‘Le 3 novembre 1790, la mise au pas des juges sous la Révolution, De la vacance indéterminée à l’abolition des Parlements d’Ancien Régime’ (2015) Revue générale du droit, numéro 22827 accessed 26 November 2022.

Otto Mayer, Deutsches Verwaltungsrecht (Bd. 1 Duncker und Humblot 1895) 60.

Ulrich Häde, ‘Die Abmarkung der Grundstücke im Zusammenspiel von Verwaltungs-und Privatrecht’ (1994) Bayerischen Verwaltungsblätter.