ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายพาณิชย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) บรรพ 3 ว่าด้วย ‘เอกเทศสัญญา’ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 ต่อมาได้รับการตรวจชำระและประกาศใช้ใหม่ในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม บทบัญญัติเรื่องซื้อขายจึงมุ่งใช้บังคับกับการซื้อขายทางแพ่งเป็นหลัก ดังปรากฏในบทบัญญัติของมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ที่กำหนดไว้โดยรวมเกี่ยวกับหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขายว่า สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตกลงกันมีราคาห้าร้อยบาท (ปัจจุบันสองหมื่นบาท1) หรือกว่านั้นขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด หรือได้มีการวางประจำไว้ หรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อเป็นกรณีของการซื้อขายสินค้าที่ผู้ซื้อผู้ขายไม่ได้อยู่ต่อหน้ากัน เช่นในกรณีของการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยผู้ซื้อหรือผู้ขายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้อยู่ในประเทศไทยหรือการซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ โดยผู้ซื้อและผู้ขายที่แม้นจะอยู่ในประเทศไทยด้วยกันแต่อาจอยู่ในที่ที่ห่างไกลกัน จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขายตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสามดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2537 มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537 อันเป็นรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ ‘ฎีกาข้าวนึ่ง’ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ที่ได้จุดประกายให้สังคมไทยตระหนักว่ากฎหมายซื้อขายของเรา ไม่สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก กฎหมายซื้อขายต้องมีบทบัญญัติที่สามารถรองรับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและการซื้อขายทางพาณิชย์ อันมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากการซื้อขายทางแพ่งเพื่อใช้สอยในครัวเรือนมิใช่เพื่อการค้าด้วย
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าการที่ประเทศไทยไม่ได้แยกตรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เป็นต่างหากจากกัน อาจเป็นการทำให้กฎหมายประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทั้งสองประเภทนี้ อันหมายถึง กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ ไม่ได้ถูกใช้ ตีความ และพัฒนาภายใต้บทบัญญัติที่ถูกต้องและเหมาะสม จากตัวอย่างในฎีกาข้าวนึ่ง ดังนั้น การพัฒนาหลักกฎหมายพาณิชย์อันเป็นหลักกฎหมายที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรฐกิจของประเทศโดยรวม ควรได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ภาษาไทย
กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม, สรุปการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและการมีกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร (28 กุมภาพันธ์ 2563).
กำชัย จงจักรพันธ์, ‘ข้อสังเกตคำพิพากษาศาลฎีกาคดีสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ’ (2543) 2 ดุลพาห 55.
จรัญ ภักดีธนากุล, ‘แนวทางพัฒนากฎหมายพาณิชย์ในประเทศไทย’ (2548) วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 348.
ชื่นสุมน รัตนจันทร์ และคณะ, ‘การตั้งข้อสงวนของ CISG’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกฤษฎีกา 2549).
ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร, ‘การพัฒนากฎหมายซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของไทย’ (2549) วารสารรพี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 51.
เปมิกา วิวัฒนพงศ์พันธ์, ‘ผลกระทบของนิติกรรมและสัญญาอันเนื่องมาจากการไม่แยกกฎหมายแพ่งออกจากกฎหมายพาณิชย์’ (สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี 2550).
ไผทชิต เอกจริยากร, ‘การแยกคดีแพ่งออกจากคดีพาณิชย์’ (2550) 3 ดุลพาห 84.
พฤกษา เครือแสง, ‘แนวทางการปฏิรูปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน’ (2557) 1 วารสารสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน 89.
มุนินทร์ พงศาปาน, ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (วิญญูชน 2564).
เมธี ศรีอนุสรณ์, ‘เริ่มต้นแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่ง’ ใน รายงานพิเศษโดยการนำเสนอร่างรายงานผลการศึกษาเรื่อง ‘แนวทางในการปรับปรุงระบบกฎหมายพาณิชย์และกฎหมายวิธีพิจารณาคดีพาณิชย์’ ของคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอการแยกคดีพาณิชย์ ออกจากคดีแพ่ง (2548) 4 วารสารข่าวกฎหมายใหม่ 2.
ภาษาอังกฤษ
Hiroo Sono and others, Contract Law in Japan (Wolters Kluwer 2019).