ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้ง

Main Article Content

ชนินทร์ ธนาสุนทรารัตน์
ดร.ดลนภา นันทวโรไพร

บทคัดย่อ

          การศึกษาการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งตามงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งในประเทศไทย โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวในต่างประเทศและประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมาย จากเอกสารวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาทางกฎหมายพร้อมเสนอมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


          จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการกลั่นแกล้งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ส่วนกฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของครูและบุคลากร ทางการศึกษาซึ่งเกิดจากความหมายของ “การกลั่นแกล้ง” ที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุมปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวจากข้อจำกัดการลงโทษและดุลพินิจในการลงโทษที่ไม่เหมาะสม และปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้อำนาจของ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวจากการไม่ปรากฏกระบวนการสอบสวนนักเรียนที่เป็นผู้กลั่นแกล้งก่อนการลงโทษและหลักเกณฑ์คุ้มครองนักเรียนที่ถูกกลั่นแกล้งในเบื้่องต้นก่อนการลงโทษ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการกำกับดูแลการใช้อำนาจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีดังกล่าวด้วยการดำเนินการทางวินัย

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ

References

ภาษาไทย

กระปุก.คอม, ‘ลั่นเอาผิด รุ่นพี่ ม.5 ลงโทษรุ่นน้องสุดยี้ แช่บ่อเกรอะ ราดน้ำขี้ – ครูยังอ้าง สมัครใจทำเอง’ (Kapook Hilight, 20 กุมภาพันธ์ 2566) <https://hilight.kapook.com/view/231102> สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567.

จิราวัฒน์ แช่มชัยพร, ‘การคุ้มครองสิทธิเด็กโดยหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก ตามมาตรา 3 (1) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

ไทยรัฐ, ‘นักเรียนชั้น ม.3 ตกตึกชั้น 4 แม่ติดใจเชื่อลูกถูกแกล้ง โดนเพื่อนบูลลี่เป็นประจำ’ (ไทยรัฐ ออนไลน์, 15 กุมภาพันธ์ 2566) <https://www.thairath.co.th/news/local/south/2630426> สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566.

ธานี วรภัทร์, หลักกฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษจำคุก (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2558).

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, วสันต์ เหลืองประภัสร์ และปานรัตน์ นิ่มตลุง, ‘การปรับเปลี่ยนกลไกเชิงสถาบันเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานด้านเด็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ 2553).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2561).

ผู้จัดการออนไลน์, ‘ครม.ทราบข้อเสนอส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีถอนข้อสงวนข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก’ (MGR Online, 9 มกราคม 2567) <https://mgronline.com/politics/detail/9670000002345> สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567.

พชรพร พงษ์อาภา, ‘อำนาจของครูในการลงโทษนักเรียนและการใช้กำลังทางกายภาพในสถานศึกษา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561).

ภาณุกฤษฏิ์ พิศิษฎ์สกุลชัย, เสกสัณ เครือขำ และโสรัตน์ กลับวิลา ‘รูปแบบการลงโทษนักเรียนและแนวทางในการควบคุมให้เกิดการลงโทษนักเรียนที่เหมาะสมในสถานศึกษา’ (2565) 8(1) วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 131.

ยุวดี งามวิทย์โรจน์, ‘บทบาทของบุคลิกภาพแบบใช้อำนาจ ประสบการณ์การถูกลงโทษในวัยเด็กและสภาพของครูในการทำนายเจตคติต่อและพฤติกรรมการลงโทษทางร่างกายและจิตใจในโรงเรียน’ (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552).

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, คู่มือนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2564) <https://www.triamudom.ac.th/website/images/64/DOC/014-m-std2564.pdf> สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.

โรงเรียนอัสสัมชัญ, คู่มือผู้ปกครองและนักเรียน (โรงเรียนอัสสัมชัญ 2560) <https://www.assumption.ac.th/assets/pdf/journal/handbook/handbook.pdf> สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2566.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (นิติราษฎร์ 2554).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2562).

สภาผู้แทนราษฎร, กระทู้ถามที่ 042 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 120 ง วันที่ 23 กรกฎาคม 2551.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562).

อรวรรณ ด่านวราวิจิตร, ‘การปกป้องสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายของนักเรียนต่อการถูกลงโทษจากโรงเรียน’ (2566) 5(2) Lawarath Social E-Journal 91.

อนันต์ ลิขิตธนสมบัติ, ‘มาตรการการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อม’ (รายงานส่วนบุคคล หลักสูตรฝึกอบรมผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 13 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม 2557).

อัจฉรียา ชูตินันทน์, อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 5, นิติธรรม 2566).

อุทิศ สุภาพ, ‘ปรัชญาอาชญาวิทยาในการลงโทษ: การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา’ (2560) 64(2) ดุลพาห 146.

ภาษาอังกฤษ

United Nations, ‘harassment’ (United Nations, no publication date) <https://unterm.un.org/unterm2/en/view/3a4dfe2b-d34c-46bc-96d0-fbfce121be7e> สืบค้น เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2567.

Dan Olweus, Bullying at School: What We Know and What We Can Do (Wiley- Blackwell 1993).

Simon C. Hunter, James M. E. Boyle and David Warden, ‘Perceptions and Correlates of Peer-victimization and Bullying’ (2007) 77(4) British Journal of Educational Psychology 797.

Supa Pengpid and Karl Peltzer, ‘Bullying and Its Associated Factors among School- Aged Adolescents in Thailand’ (2013) Scientific World Journal 1.

UN Committee on the Rights of the Child (CRC) ‘General comment No. 14 on the right of the child to have his or her best interests taken as a primary consideration (art. 3, para. 1)’ (2013) UN Doc CRC/C/GC/14 <https://www.refworld.org/legal/general/crc/2013/en/95780> สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567.

UNESCO, Behind the Numbers: Ending School Violence and Bullying (UNESCO 2019) <https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000366483> สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567.