บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2564 ที่ 3679/2564 และที่ 1890/2566

Main Article Content

ศาสตราจารย์พิเศษไพโรจน์ วายุภาพ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2564 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2564 และหลักกฎหมายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2566


          สิทธิหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ค้ำประกันและเจ้าหนี้นั้นมีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกันในประการที่จะไม่ตกทอดไปยังทายาทหรือไม่ หากสิทธิหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันตกทอดแก่ทายาทของผู้ค้ำประกันแล้ว ความรับผิดของทายาทจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการปรับบทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในประเด็นข้อกฎหมายเรื่องสัญญาค้ำประกันและความรับผิดของทายาทโดยธรรม ตามคำวินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2564


          ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2564 ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นการเพิกถอนการฉ้อฉล กรณีอดีตสามีได้นำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่บุคคลอื่นอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ของอดีตภริยาต้องเสียเปรียบ ผู้เขียนได้นำประเด็นตามคำพิพากษาศาลฎีกามาตั้งเป็นข้อสังเกตเพื่อวิเคราะห์และศึกษามาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2566 วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายระหว่างการพยายามกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดสำเร็จโดยใช้หลักเกณฑ์การ “เอาทรัพย์ไป” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยหากพิจารณาข้อเท็จจริงในส่วนการแย่งการครอบครองทรัพย์จากการครอบครองของผู้อื่นในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์อาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

Article Details

บท
หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกา