ผลกระทบโครงการพัฒนาระหว่างประเทศต่อการท่องเที่ยวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงของประเทศไทย

Main Article Content

Chalermchai Panyadee
Parnpare Chaoprayoon

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาระหว่างประเทศเป็นโครงการที่มีผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อการท่องเที่ยวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงของประเทศไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิจัยโครงการพัฒนาระหว่างประเทศที่มีต่อศักยภาพด้านการท่องเที่ยวชายแดนของประเทศไทย และพื้นที่เชื่อมโยง การวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยมีการใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่จังหวัดที่มีด่านชายแดน รวม 26 จังหวัด การร่วมสังเกตการณ์ในพื้นที่และการประชุมกลุ่มย่อย


ผลการวิจัยพบว่า โครงการพัฒนาระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยง ซึ่งในทางบวกก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งในด้านถนน การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ การค้าและการลงทุน การทำข้อตกลงระหว่างประเทศอันเกิดจากโครงการพัฒนาระหว่างประเทศเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้เกิดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในด้านลบคือภายหลังการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและการเปิดด่านชายแดนก่อให้เกิดผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพราะนักท่องเที่ยวไม่แวะพักเที่ยวหรือค้างคืน แต่ได้อาศัยความสะดวกในการผ่านด่านชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่านเข้ามายังเมืองใหญ่ที่เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวในประเทศ บางด่านพื้นที่เชื่อมโยงในต่างประเทศมีศักยภาพสูง เป็นเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปเยือน ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ประเทศไทยกลายเป็นทางผ่าน สถานการณ์การท่องเที่ยวในเมืองชายแดนซบเซาและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่


นอกจากนี้ผลกระทบของโครงการพัฒนาระหว่างประเทศต่อศักยภาพด้านการท่องเที่ยวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยง โดยภาพรวมด่านชายแดนที่เป็นด่านถาวรมีศักยภาพและมีความจำเป็นเร่งด่วนในการวางแผนการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยง ตลอดจนลดผลกระทบของโครงการพัฒนาโดยพิจารณาแยกตามเขตติดต่อประเทศหรือพื้นที่เชื่อมโยงพบว่าด่านที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สูงสุดคือด่านอำเภอเชียงของ (สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4) จังหวัดเชียงราย ประเทศเมียนมาร์ คือ ด่านท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศมาเลเซีย คือ ด่านท่าเรือตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จึงทำให้ศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส และยะลา มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงต่ำ นอกจากนั้น ในกรณีของประเทศกัมพูชา ด่านชายแดนเป็นด่านเพื่อการค้า การลงทุนเป็นหลัก ประกอบกับความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงมีน้อย จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่น

Downloads

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Department of Tourism. (2014). Tourism Report; July 2014. Bangkok: Department of Tourism , Ministry of Tourism and Sports

ASEAN Department. (2009). ASEAN Tourism Cooperation. Bangkok: ASEAN Department, Ministry of Foreign Affairs.

Department of Trade Negotiations. (2009). Free Trade Area Agreement. BIMSTEC Free Tread Area: BIMSTEC FTA. Department of Trade Negotiations, Ministry of Commerce.

Lertphorn Parasakul and Kitiyaphorn Hirunyachatree. (2007). Planning and Development of Tourism to Related Area; Thailand and Cambodia. The Thailand Research Fund.

Wilasinee Jamusitrat. (2013). The development of economic area between Thailand and Malaysia. IMT-GT group Malaysia,Bureau of Trade and Investment Cooperation, Department of Foreign Trade.

Siriwan and et. al. (2006). The Study for Tourism Strategic Planning, Ubolrachathani, Thailand to Chong Mek Border to Champasak, Lao PDR. The Thailand Research Fund.

Seksan Yongwanit and et. al. (2007). The Study of the Area Potential for Developing Thailand Border Tourism and Lao PDR; Case Study Nong Kai and Vientianne. The Thailand Research Fund.

Athi Krusakayawong. (2002). Tourism Business of Thailand and Malaysia. Faculty of Management, Rajabhat University Surathani.

Johnson, G. and Scholes, K. (1993). Exploring Corporate Strategy – Text and Cases, Hemel Hempstead: Prentice-Hall.

John Ivor Richardson, Martin Fluker. (2004). Understanding and Managing Tourism. Pearson Education Australia.

J.R. Brent Ritchie and Geoffrey I. Crouch. (2003). The Competitive Destination: A Sustainable Tourism Perspective. CABI Publishing. Cambridge, MA, USA.