การบูรณาการผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ชุด ทะเลบัวแดง สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี การบูรณาการผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ชุด ทะเลบัวแดง สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบูรณาการผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ชุด ทะเลบัวแดง สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 เทคนิค ประกอบด้วย เทคนิคสีน้ำ เทคนิคสีอะครีลิค และเทคนิควาดเส้น ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาสู่กระบวนการออกแบบทางคอมพิวเตอร์กราฟิก และสอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของสถานที่ท่องเที่ยวทะเลบัวแดง 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทะเลบัวแดง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยบูรณาการผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการออกแบบอัตลักษณ์ของพื้นถิ่น วิธีการดำเนินการวิจัยได้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ศึกษา รวบรวมข้อมูลพื้นฐานภาคสนามและภาคเอกสารของสถานที่ท่องเที่ยวทะเลบัวแดง ส่วนที่ 2 การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 เทคนิค ประกอบด้วย เทคนิควาดเส้น เทคนิคสีน้ำ และเทคนิคสีอะคริลิค ส่วนที่ 3 การบูรณาการผลงานจิตรกรรมสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าพันคอพิมพ์ลาย หมวกพิมพ์ลาย กระเป๋าพิมพ์ลาย แก้วน้ำเก็บความเย็น และเสื้อเชิ้ตพิมพ์ลาย โดยนำหลักการออกแบบและทฤษฎีทางศิลปกรรมมาใช้ในการออกแบบเพื่อให้เกิดความงามและความเหมาะสมในการจัดวางองค์ประกอบ โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์ประจำพื้นที่ ส่วนที่ 4 ผลสำรวจความพึงพอใจจากตัวแทนในชุมชนและนักท่องเที่ยว 5 ด้าน ได้แก่ 1) ประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 2) ความงาม 3) ความเป็นอัตลักษณ์ 4) ราคา 5) ความคุ้มของผลิตภัณฑ์ ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า 1) ได้ลักษณะโดยรวม รูปร่าง รูปทรง สี ของดอกบัวแดง พืชพรรณ นกสายพันธุ์หายาก เช่น นกอีโก้ง นกกระยาง นกปากห่าง และลักษณะโดยรวมของบึงหนองหานในรูปแบบทิวทัศน์ ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม 2) ได้ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผลงานจิตรกรรม 3 เทคนิค ประกอบด้วยเทคนิควาดเส้น เทคนิคสีน้ำ เทคนิคสีอะคริลิค และแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เป็น 4 ชนิด ประกอบด้วย ผ้าพันคอ หมวกบักเก็ต แก้วน้ำเก็บอุณหภูมิ และเสื้อเชิ้ตพิมพ์ลาย 3) ชุมชนมีส่วนร่วมในการการตัดสินใจเลือกลวดลายบนผลิตภัณฑ์ ติดตาม ประเมินผล รวมถึงแสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบ ความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในชุมชนตนเอง
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Higheredbcs. (2015). J. L. M. Lauweriks. Retrieved February 24, 2023. from https://higheredbcs.wiley.com/legacy/college/meggs/0471699020/html/Chapter12/slides/12-29.html
Khanthakachorn et al. (2022). The Guideline of Eco-tourism Management through the Community based Participation on Raroeng Sub-district, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Management Science NakhonPathom Rajabhat University, (9)1, 237-252. Retrieved September 10, 2023, from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMSNPRU/article/view/261909/174510
Phitchayasoontorn, P.(2014). Art and Basic design. Bangkok: Chulalongkorn University.
Poolthongdeewatthana, O. (2018). History of western Aesthetics. Bangkok: Thaweewat Printing.
Roopngam, Y. (2002). Participation of officials in civil service reform. Bangkok: Bunditpatasilpa Institute of Fine Art.
Soonpongsri, K. (2011). Modern Art. Bangkok: Chulalongkorn University.
Tourism Authority of Thailand. (2020). The travel Trends to know in 2020 8 latest craze of 2020 in tourism industry Tatreviewmagazine. Retrieved July 3, 2023, from https://tatreviewmagazine.com/article/the-travel-trends-to-know-in-2020
Thairath. (2014). The world 2nd most spectacular lake rewarded by CNN “Nong Han Lake” Thairath online. Retrieved July 8, 2023, from https://www.thairath.co.th/news/foreign/435850