ญี่ปุ่นกับการจัดการเชิงสถาบันสำหรับการให้และรับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์และ ปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม: กรณีศึกษาเหตุการณ์มหาภัยพิบัติ 3ประการในปี2011

Main Article Content

ศิริพร วัชชวัลคุ

Abstract

บทความนี้พยายามอธิบายถึงการจัดการเชิงสถาบันและองค์กรของญี่ปุ่น ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินในเรื่องการรับความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม ในเหตุการณ์มหาภัยพิบัติ 3 ประการในปี 2011  เนื้อหาหลักของบทความ คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน หลักการ และโครงสร้างองค์กร ในเรื่องการรับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์และปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมจากต่างประเทศ เพื่อให้การรับความช่วยเหลือดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง การจัดการเชิงสถาบันของการรับความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน : การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทยในปี 2011 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) โดยวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึงการสำรวจสถานการณ์ในพื้นที่ที่ประสบมหาภัยพิบัติด้วย ในส่วนของกรอบแนวคิดในการศึกษา ได้มีการประยุกต์ใข้แนวคิดเรื่อง อำนาจอธิปไตยของรัฐ , กฎหมายและวิธีปฏิบัติระหว่างประเทศในเรื่องการรับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์และปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมระหว่างประเทศ, Cluster Approach และการจัดการสถาบันแบบยืดหยุ่นตามแนวคิดของ Handmer & Dovers (2013)

ผลจากการศึกษาพบว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนหลักการและปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อตอบสนองต่อการรับความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัญหาของการรับความช่วยเหลือของญี่ปุ่นมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องหลักการ สถาบัน และองค์กรเท่านั้น หากยังมีปัญหาในเรื่องการประสานงานการรับความช่วยเหลือด้วย โดยเฉพาะการประสานงานกับองค์การเอกชนต่างประเทศ (NGOs) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

Article Details

Section
บทความวิจัยและบทความวิชาการ