การปรับตัวทางวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นของแรงงานชาวไทยในญี่ปุ่น

Main Article Content

พัชยา สุภาใจ
ชีวิน สุขสมณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมการทำงาน และวิธีการปรับตัวทางวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นของแรงงานชาวไทยที่ทำงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแรงงานชาวไทยที่ทำงาน ในบริษัทหรือสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิภาคคันโต ประเทศญี่ปุ่น จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย


ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น ด้านระบบการทำงาน 6 ประเด็น ได้แก่ การดำเนินงานด้านเอกสาร การติดต่อสื่อสารภายในทีม การวางแผนงานระยะยาว การหมุนเวียนเปลี่ยนงาน การส่งเสริมให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และการสอนงานในทุกตำแหน่งงานอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้พบประเด็นด้านแนวปฏิบัติ 5 ประเด็น ได้แก่ แนวปฏิบัติกรณีการติดต่องานต่างแผนก การเลิกงานหรือการออกจากที่ทำงาน ทรงผมและการแต่งกายของพนักงานหญิง การจดบันทึกระหว่างการประชุม และเรื่องการลางาน


ด้านวิธีการปรับตัวทางวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นของแรงงานชาวไทย พบว่าใช้วิธีการปรับตัวตามแนวคิด Kaizen cycle ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังพบการสนับสนุนทางสังคม (Social Support) ที่มีส่วนสำคัญในการปรับตัวทาง วัฒนธรรมการทำงานของแรงงานชาวไทยที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. (2566). รายงานผลการปฏิบัติงาน กรมจัดหางาน ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม-ธันวาคม 2565). กรมการจัดหางาน.

ตรีกาล เมฆบริบูรณ์ และ ณกมล จันทร์สม. (2565). วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของ พนักงานชาวไทยในบริษัทญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 251-266.

พัชยา โสภณสิทธิพงศ์. (2564). สภาวะการทำงานกับความต้องการพัฒนาตนเองของล่ามภาษาญี่ปุ่น ในบริษัทญี่ปุ่น เขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 11(2), 69-83.

พิณนภา หมวกยอด, เสาวรีย์ ชัยวรรณ, ศนิ ไทรหอมนวล, หลี่ ยิง และ ธัญญลักษณ์ บุญลือ. (2563). กระบวนการและรูปแบบเชิงจิตวิทยาของการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่ทำงานกับคนไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 8(2), 19-39.

พรวิภา เหาตะวานิช และ อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2556). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทยย้ายถิ่น: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14-27.

เพ็ชรี รูปวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร์. (2562). การทำงานร่วมกับผู้จัดการชาวญี่ปุ่น: บนการบริหารความขัดแย้งและ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารเซนต์จอห์น, 22(31), 175-191.

รัชนี ปิยะธำรงชัย. (2561). บทบาทและปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการทำงาน ของล่ามภาษาญี่ปุ่นชาวไทย ภายใต้บริบท “ความเป็นญี่ปุ่น”: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมของไทย. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(2), 51-90.

川邊信雄 (2011). 「タイトヨタの経営史」. 有斐閣.

厚生労働省(2023).「外国人雇用状況」の届出状況まとめ【本文】 『令和5年 10 月末時点』,3-10.

小山健太 (2022). 「高度外国人材を含む異文化チームのマネジメント」『日本労働研究雑誌 』 744,35-47.

内藤 伊都子・グェン ティ ミン チャン(2021).「日本人社員と外国人社員が日本企業で協働するために必要な 異文化コミュニケーション教育」『東京福祉大学・大学院紀要 第11巻 第1-2合併号』,5-12.

山本哲子・水上勝義(2021). 「外国人介護職員の日本語能力レベルによる職業性ストレスについて検討 -来日1年目を対象に-」『高齢者ケアリング学研究会誌』11(2), 1-11.

李艶・山本 理沙(2020). 「在日外国人労働者の異文化適応についての調査研究」『聖泉論叢』28, 1-18.

Phan Xuan Duong. (2020). 「在日外国人労働者に対する日本語指導研修の改善 ― ベトナム人技能実習生の日本語習得の現状を事例として―」『修士学位論文ベトナム国家大学ハノイ校日越大学 地域研究プログラム日本研究専攻』,12-64.