มุมมองที่มีต่อคนชราในเรื่อง "ท์ซุเระสุเระงุซะ":ปัญญาอันเกิดจากความชรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของพระเค็งโกที่มีต่อคนชราจาก เรื่อง “ท์ซุเระสุเระงุซะ” ในสมัยนัมโบะกุโจ ผลจากการศึกษาพบว่า เค็งโกนำเสนอเรื่องราวของคนชราในเชิงวิพากษ์วิจารณ์หรือคำเตือนเพื่อกระตุ้นให้คนชราเกิดความตระหนักรู้ถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติในด้านต่างๆ ได้แก่ สภาพร่างกาย ความสัมพันธ์กับสังคม ความสามารถ สภาพจิตใจ อย่างไรก็ตามในตอนที่ 172 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายที่นำเสนอเรื่องราวของคนชรา เค็งโกไม่ได้นำเสนอโดยการวิพากษ์วิจารณ์หรือคำเตือน หากแต่ได้เปรียบเทียบลักษณะเด่นและลักษณะด้อยของคนชรากับคนหนุ่มสาว และได้ชี้ว่าสิ่งที่คนชรามีเหนือกว่าคนหนุ่มสาวก็คือปัญญา นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบคำว่า“ปัญญา”อันเป็นลักษณะเด่นของคนชรากับการใช้คำว่า“ปัญญา”ตลอดทั้งเรื่องยังพบว่า คำว่า“ปัญญา”ของคนชราในตอนที่ 172 มีนัยยะสอดคล้องกับคำว่า“ปัญญา”ที่ชี้ถึงภาวะอันเกิดจากการปล่อยวางจากความยึดติด หากแต่ก็มีข้อแตกต่างตรงประเด็นที่มาของปัญญา กล่าวคือ ปัญญาของคนชราไม่ได้เกิดจากการตระหนักรู้ หากแต่เกิดจากการที่ธรรมชาติแปรเปลี่ยนสภาพจิตใจของคนชราให้อ่อนล้าลงตามกาลเวลา และเมื่อจิตใจสงบก็จะเกิดการปล่อยวาง ซึ่งก็คือภาวะของการเกิดปัญญานั่นเอง การปล่อยให้ชีวิตมนุษย์เป็นไปตามธรรมชาตินั้นแม้จะปรากฏมีมาแต่เดิมในแนวคิดของเต๋า อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยงวิถีธรรมชาติเข้ากับแนวคิดเรื่องปัญญาจนนำไปสู่การค้นพบบ่อเกิดแห่งปัญญาแบบใหม่ กล่าวคือ “ปัญญาอันเกิดจากความชรา”นั้น สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองความคิดของเค็งโกที่สามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างลุ่มลึกและหลากมิติ
Article Details
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสาร jsn Journal
References
Hideo, K. Yasuaki, N. Kousaku, Y. (1971). Shimpensenshūnihonkotenbungakuzenshū Hōjōki, Tsuerezuregusa, Shōbōgenzōzuimonki, Tannishō [The Collections of Japanese Classical Literature Hōjōki, Tsuerezuregusa, Shōbōgenzōzuimonki, Tannishou]. Tokyo: Shōgakkan.
Hiroyuki, I. (1973). Tsurezuregusa ni okeru seishun no shudai to rōnen no jikaku [The topic of youth and the awareness of elder person in Tsurezuregusa]. Seijōkokubungakuronshū, 6, 103-129.
Jiwon, H. (2003). “Tsurezuregusa” ni mirareru rōjin to wakamono - Dai hyakunanajūni dan wo chūshin ni - [ The elder person and the youth in “Tsurezuregusa” – Focus on passage 172nd–]. Baikōgakuindaigaku Nihonbungakkai, 38, 23-31.
Kenji, T. (1989). Makoto no michi–Ju Butsu Rōsō– [The way of truth–Confucianism, Buddism, Taoism–]. Kokubungaku kaishaku to kyouzai no kenkyū, 34-3, 60-66.
Kousaku, Y. (1967). Tsurezuregusazenchuushaku jōkan gekan [An annotated edition of Tsurezuregusa Volume1, 2]. Tokyo: Kadogawashoten.
Mitsuji, F Hiroshi, K. (2004). Rōshi Sōshi sekaikotenbungakuzenshuu [Laozi Zhuangzi The Collections of World Classical Literature ]. Tokyo: Chikumashobou.
Naoko, O. (1978). “Tsurezuregusa” to Rōsōshisō [“Tsurezuregusa” and Laozi, Zhuangzi’s thought]. Miyagigakuinjoshidaigaku, 13, 45-52.
Seiko, S. (1961). “Hōjōki” “Tsurezuregusa” ni okeru mujōkan no hikaku [The comparison of impermanence in“Hōjōki”and“Tsurezuregusa”]. Miyagigakuenkokubungakkai, 19, 15-21.
Shizuo, N. (1984). Kenkō no rōjinron ni tsuite- [Concerning Kenkō’s theory of the elder person]. Kokubungaku kaishaku to kanshō, 30-12, 51-56.
Yuko, S. (2005). Kenkō – tsuyu mo wagami mo okidokoro nashi [Kenkō– No place for neither dewdrop nor myself ]. Tokyo: Minervashobō.