การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นร่วมสมัยภายหลังการเกิดขึ้นของกฎหมายความเท่าเทียมทางเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาลักษณะความเปลี่ยนแปลงของการนำเสนอภาพลักษณ์ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นยุคร่วมสมัย เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการบัญญัติกฎหมายความเท่าเทียมทางเพศกับอิทธิพลที่มีต่อสังคม โดยนำ “กฎหมายว่าด้วยการให้โอกาสการทำงานที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ” (The Equal Employment Opportunity Law 1985 - 男女雇用機会均等法) และ “กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยสังคมที่มีความเท่าเทียมกันทางเพศ” (Basic Law for a Gender-Equal Society, 1999 - 男女共同参画社会基本法) มาเป็นกรอบเวลาในการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลละครที่ได้รับความนิยมระหว่างปี ค.ศ.1977 ถึง ปีค.ศ. 2016 จำนวน 300 เรื่อง นำมาจำแนกตามช่วงปีที่ออกอากาศเป็น 6 ช่วงเวลา และจำแนกหัวข้อวิเคราะห์ออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ เพศของตัวละครเอก การทำงานของตัวละครหญิง ระดับหรือตำแหน่งของตัวละครหญิงในที่ทำงาน สถานภาพการสมรสของตัวละครหญิง และลักษณะนิสัยของตัวละครหญิง พบว่าการบัญญัติกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนต่อการนำเสนอเพศของตัวละครเอก และสถานภาพการทำงานของตัวละครหญิง นอกจากนี้ยังพบว่าภาพลักษณ์ของสตรีญี่ปุ่นที่นำเสนอในละครญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยกลายเป็นผู้หญิงทำงานที่มีบทบาทในสังคม มีความมั่นใจ และมีภาวะความเป็นผู้นำมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในเบื้องลึกยังปรากฏความไม่เท่าเทียมอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระดับหรือตำแหน่งในการทำงาน ที่แม้ว่าจะพบว่ามีการนำเสนอภาพของสตรีที่ทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนมากยังไม่ได้รับตำแหน่งหรือความรับผิดชอบที่สูงมากนัก
Article Details
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ ในบทความเป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสาร jsn Journal
References
กาญจนา แก้วเทพ. (1992). ภาพลักษณ์ของผู้หญิงในสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตรรวี คูหาวิชานันท์. (2009). ค่านิยมในละครญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่นำเสนอผ่านทางโทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิดา ตั้งถาวรสิริกุล. (1998). ผู้หญิงญี่ปุ่น : เพศและอำนาจ. ญี่ปุ่นศึกษา (Japanese Studies), 23-35.
ชุติมา ธนูธรรมทัศน์. (2003). วัฒนธรรมญี่ปุ่นในการ์ตูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บารนี บุญทรง. (2004). บทบาทหน้าที่ของผู้หญิงทำงานในสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง. วารสารศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4(2), 41-63.
บุญยง ชื่นสุวิมล. (1995). โครงสร้างสังคมญี่ปุ่น. เชียงใหม่: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ปิยวรรณ อัศวราชันย์. (2016). กฎหมายว่าด้วยโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมกันของผู้หญิงญี่ปุ่น : 3 ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา (JSN Journal), 6(2), 34-52.
ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศญี่ปุ่น (ฉบับแก้ไข) (มิถุนายน 2014) เรื่องความท้าทายต่อไปในอนาคต (未来へ の挑戦), สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น. ค้นจาก https://www.kantei.go.jp/jp/singi/keizaisaisei/pdf/honbun2JP.pdf
วราภรณ์ ศรีกาญจนเพริศ. (2001). การถ่ายทอดความหมายความฉลาดทางอารมณ์ในละครโทรทัศน์หลังข่าว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรัตน์ รัทยานนท์. (2004). กระบวนการสร้างความเป็นจริงทางสังคมของตัวละครนางร้ายในละครโทรทัศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารดี อภิวงศ์งาม. (1999). ความแตกต่างระหว่างค่านิยมของคนไทยและคนญี่ปุ่น : เข้าใจญี่ปุ่น. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.
เอกสารประกอบการประชุมการปรับโครงสร้างภาษี ครั้งที่ 18 (กันยายน 2015) เรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมเศรษฐกิจ: การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน, กระทรวงการคลังญี่ปุ่น. ค้นจาก http://www.cao.go.jp/zei-cho/gijiroku/zeicho/2015/__icsFiles/afieldfile/2015/11/17/27zen18kai2.pdf