ทัศนคติของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างผู้สอนชาวไทยและชาวญี่ปุ่นในรายวิชาการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น

Main Article Content

ภรณีย์ พินันโสตติกุล
Yumiko Yamamoto

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยในรายวิชา “การฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่น” ระดับชั้นต้น กรณีการจัดการเรียนการสอนร่วมระหว่างผู้สอนชาวไทยและผู้สอนชาวญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เคยมีประสบการณ์การเรียนรายวิชาการฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่นแบบสอนร่วมระหว่างผู้สอนชาวไทยและชาวญี่ปุ่น จำนวน 74 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1. โดยรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนร่วมของของอาจารย์ชาวไทยและชาวญี่ปุ่นในระดับ “มาก” 2. ในรายวิชา “การฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่น 1” ผู้เรียนส่วนใหญ่คาดหวังให้การสอนร่วมระหว่างผู้สอนชาวไทยและชาวญี่ปุ่นสัดส่วน 50:50 และ 3. ผู้เรียนมีความคาดหวังสูงต่อการเป็นผู้สอนในรายวิชา “การฟัง-พูดภาษาญี่ปุ่น” โดยคาดหวังจากผู้สอนชาวญี่ปุ่นสูงในเรื่องการเป็นตัวอย่างในการออกเสียง และคาดหวังจากผู้สอนชาวไทยมากในเรื่องการสร้างความเข้าใจในการใช้ภาษาให้แก่ผู้เรียน นอกจากนี้ ยังมีความคาดหวังสูงต่อทั้งผู้สอนชาวไทยและผู้สอนชาวญี่ปุ่นในการเป็นแรงผลักดันให้ผู้เรียนกล้าใช้ภาษาญี่ปุ่น ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของกลุ่มสังกัดของผู้เรียน อันได้แก่ 1) กลุ่มนักศึกษาวิชาเอกที่มีพื้นฐานความรู้ภาษาญี่ปุ่นก่อนเข้ามหาวิทยาลัย 2) กลุ่มนักศึกษาวิชาเอกที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาญี่ปุ่นก่อนเข้ามหาวิทยาลัย และ 3) กลุ่มนักศึกษาวิชาโท มีผลต่อความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถในการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของตนเองในอนาคต และความคาดหวังในเรื่องสัดส่วนผู้สอนในรายวิชาการฟัง-พูดตัวถัดไป

Article Details

บท
บทความวิจัยและบทความวิชาการ

References

ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2562). ทัศนคติของผู้เรียนต่อการบรรยายด้วยภาษาญี่ปุ่นของผู้สอนชาวไทยในรายวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่นขั้นสูง. jsn Journal, 9(1), 25-48.

อมรรัตน์ มะโนบาล และ เตวิช เสวตไอยาราม. (2560). การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับต้นที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกัน. jsn Journal, 7 (1), 33-50.

อัษฎายุทธ ชูศรี. (2555). การใช้ภาษาญี่ปุ่นในการบรรยายโดยผู้สอนชาวไทย กรณีศึกษาการสอนวิชาเนื้อหาระดับกลาง สูง ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.『国際交流基金バンコク日本文化センター 日本語教育紀要』. 9, 139-144.

Cook, L. (2004). Co-Teaching: Principles, Practices, and Pragmatics. New Mexico Public Education Department Quarterly Special Education Meeting, New Mexico Public Education Department.

Cook, L., & Friend, M. (1995). Co-teaching: Guidelines for creating effective practices. Teaching Exceptional Children, 28, 1-16.

Shih Yun Tsou, and Ying Ling Chen. (2017). EFL College Students’ Perceptions toward Native and Non-Native English Speaking Teachers. American Journal of Educational Research, 5(12), 1182-1190.

阿部洋子・横山紀子. (1991).「海外日本語教師長期研修の課題―外国人日本語教師の利点を生かした教授法を求めて―」『日本語国際センター紀要』1,53-74. 国際交流基金日本語国際センター.

池谷清美・Kanokwan Laohaburanakit KATAGIRI・片桐準二(2012).「 タイ国高等教育機関におけるタイ人教師と日本人教師の協働観の比較― PAC 分析からの考察― 」『国際交流基金バンコク日本文化センター日本語教育紀要』9, 29-38. 国際交流基金 バンコク日本文化センター .

国際交流基金. (2016).『2015年度海外日本語教育機関調査』Retrieved August 1, 2019, from

https://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/survey/result/dl/survey_2015/all.pdf

櫻井勇介. (2012).「母語話者教員と非母語話者教員に対する学習者の「よい教師」像一エジプト人日本語学習者の場合」『日本語·日本学研究』2, 17-32. 東京外国語大学国際日本研究センター.

Saranya Kongjit・吉田直子. (2012). 「ティーム・ティーチングにおけるネイティブ教師とノンネイティブ教師の役割分担―チェンマイ大学初級日本語クラスのタイ人学習者の期待―」『国際交流基金バンコク日本文化センター日本語教育紀要』9, 129-137.

戸田淑子.(2016).「チームワークで乗り越えろ-海外で教育効果を発揮するチームワーク-」五味政信・石黒圭(編)『心ときめくオキテ破りの日本語教授法』,28-47. くろしお出版.

中村則子.(2013).「非母語話者教師と母語話者教師の発音指導―ベトナムにおけるアンケート調査の結果から―」『東京外国語大学留学生日本語教育センター論集』39, 113-124.

中山英治・門脇 薫・高橋雅子.(2015).「日本語非母語話者教師と母語話者教師による教師間協働の実態調査報告」『いわき明星大学人文学部研究紀要』28, 19-34.