Vol. 26 No. 2 (2014): บ้านนอก

					View Vol. 26 No. 2 (2014): บ้านนอก

สังคมศาสตร์ (Social Science) หรือการศึกษาสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักคิดทฤษฎี วิธีวิทยา และการศึกษาสังเกตรวบรวมข้อมูลหลักฐานอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลนั้น กล่าวได้ว่าเริ่มสถาปนาขึ้นอย่างเป็นสถาบันผ่านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2490

ในปี พ.ศ.2491 ได้มีการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์และเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งปีต่อมา จึงได้มีการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์และเปิดสอนสาขาวิชาเดียวกันนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย” ขณะที่สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้นเรียกว่า “มาทีหลัง” กล่าวคือราวๆ 10 ปีต่อมาน่าจะมีการเรียนการสอนวิชาการด้านนี้ ก่อนที่จุฬาฯ ในคณะรัฐศาสตร์ ทว่าการเปิดหลักสูตรในระดับสาขาวิชานั้น กว่าจะเริ่มขึ้นได้เวลาก็ล่วงไปอีกหนึ่งทศวรรษ พัฒนาการของสังคมศาสตร์ไทยโดยเฉพาะ ในสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้น กล่าวได้ว่าก่อตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สัมพันธ์ไปกับบริบทประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางวิชาการระดับนานาชาติ และบรรยากาศการเมืองโลกยุคสงครามเย็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตั้งจะอภิปรายต่อข้างหน้า)

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 Lauriston Sharp (1907-1993) นักมานุษยวิทยา คนสำคัญแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้กับ “โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา” (Southeast Asian Program) ได้เริ่มนำทีมวิจัยเข้ามาศึกษาสังคมไทยภายใต้โครงการ Cornell Thailand Projectโครงการวิจัยดังกล่าว เปรียบเสมือนประตูที่เปิดให้บรรดานักมานุษยวิทยาและนักศึกษาปริญญาเอกจำนวนมาก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางเข้ามาศึกษาสังคมไทย (อานันท์, 2555: 13-72) กล่าวได้ว่า Cornell - Thailand Project นั้นคือที่มาแรกเริ่มของอาณาบริเวณศึกษาที่ปัจจุบันเรียกกันว่า Thai Studies หรือ “ไทยศึกษา”

Published: 2019-03-17