ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและงานอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้แต่ง

  • Chayaporn Kumtui

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและงานอาชีพในศตวรรษที่21 ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและงานอาชีพในศตวรรษที่ 21 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อัตมโนทัศน์ รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมทางการเรียน และตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยทักษะชีวิตและงานอาชีพ ในศตวรรษที่21 ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ได้ร้อยละ 83 ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดคือ ปัจจัยวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดคือ ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดคือ ปัจจัยวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

References

กำพล จาววัฒนาสกุล. (2547). การปรับตัวของนักเรียนนักศึกษาชาวเขาในเขตชุมชนเมือง.
(ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ฉันทนา วุฒิศิริพรรณ. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์. คม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2545). ทักษะชีวิต = Life skills : เพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิต .
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพวรรณ วงศ์วิชัยวัฒน์. (2547). การพัฒนาทักษะชีวิตในการปฏิบัติตนให้รอดพ้นจากปัญหาสังคม โดยใช้
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ (ค.ม.),จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2553). ทักษะชีวิตที่ดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2559 , จาก
http://jitwiwat.blogspot.com

ยุทยุทธ วงศภิรมย์ศาสนติ์. (2545). ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น.

วนาพร สาชนะ. (2554). การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3
ในจังหวัดอุดรธานี . วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.) การวิจัยการศึกษา ,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ศุกร์ใจ วงศ์มะโน. (2547). ทักษะชีวิตและการปรับตัวของเด็กวัยรุ่นชาวไทยภูเขา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิต และการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของ
นักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมาลี เทวฤทธิ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใน
จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางการศึกษา,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรพินทร์ ชูชมและอัจฉรา สุขารมณ์. (2532) องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น.
กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อรวรรณ เจาะประโคน. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 3
สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.) การวิจัยการศึกษา ,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-05-2018

How to Cite