จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)

     วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ให้ความสำคัญต่อการรักษามาตรฐานทางวิชาการ และมาตรฐานด้านจริยธรรมของบทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ออกสู่สังคม ดังนั้นจึงกำหนดให้ผู้เกี่ยวข้องกับวารสารฯ ต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ดังนี้

 บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author)

  • 1. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่
  •     ในที่ใดมาก่อน
  • 2. ผู้นิพนธ์ ต้องไม่นำบทความดังกล่าวเสนอยื่นตีพิมพ์กับวารสารอื่น ๆ พร้อมกัน จนกว่าจะได้รับการปฏิเสธ
  •     การตีพิมพ์จากทางวารสารฯ แล้ว
  • 3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนดไว้ใน “คู่มือวารสารวิจัยกาสะลองคำ
  •     มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย” เท่านั้น
  • 4. ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงตามระบบการอ้างของวารสารฯ ทุกครั้ง เมื่อนำผลงานหรือข้อความความของผู้อื่น
  •     มานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบเนื้อหาในบทความของตน
  • 5. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในบทความนั้นจริง
  • 6. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูลในบทความตามข้อเท็จ มีหลักการทางวิชาการ
  • 7. หากบทความของผู้นิพนธ์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม อาสาสมัคร หรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มี
  •     ความเปราะบาง ผู้วิจัยควรปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมในมนุษย์ ก่อนดำเนินการเก็บข้อมูล และควรระบุ
  •     ถึงการได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ประกอบในบทความ
  • 8. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย (ถ้ามี)

 บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ (Editor in Chief)

  • 1. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ มีหน้าที่รักษาคุณภาพทางของวารสารให้มีมาตรฐานที่ดี
  •     และทันสมัยอยู่เสมอ
  • 2. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบคุณภาพของบทความที่ส่งมา
  •     เพื่อขอรับการตีพิมพ์จากวารสารฯทุกบทความ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  •     และขอบเขตของวารสารฯ รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการประเมินบทความก่อนการตีพิมพ์
  • 3. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องใช้หลักการพิจารณาบทความอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ
  •     เป็นหลักสำคัญไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์ และบทความที่พิจารณา
  • 4. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้นิพนธ์
  •     และชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต่อบุคคลอื่นๆ
  • 5. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
  •     หรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
  • 6. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องไม่ปิดกั้น ปรับเปลี่ยน ดัดแปลงผลการพิจารณาแลกเปลี่ยนระหว่าง
  •     ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความกับผู้นิพนธ์
  • 7. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการ และขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารฯ
  •     อย่างเคร่งครัด

 บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)

  • 1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ
  •     พิจารณาบทความด้วยความละเอียดภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ
  •     ปราศจากอคติต่อเนื้อหาในบทความ
  • 2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความ
  •     ให้กับบุคคลภายนอกก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่
  • 3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะรับประเมินอย่างแม้จริง
  •     กรณีที่ไม่สามารถประเมินบทความได้ หรือมีเหตุที่ไม่สามารถประเมินได้ต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารฯ ทันที
  • 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ทำการประเมิน
  • 5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาขอบเขตระยะเวลาที่ใช้ในการประเมินไม่ให้เกินกำหนด
  • 6. กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ พบว่า บทความที่กำลังประเมินมีการคัดลอกผลงานผู้อื่น
  •     ต้องแจ้งแก่บรรณาธิการวารสารฯ ทันที พร้อมทั้งแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน