e-ISSN: 2697-5017
Indexed in TCI
วาระการพิมพ์: ปีละ 2 ฉบับ
การเผยแพร่: แบบเสรี (Open Access)
ภาษา: ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การพิจารณาบทความ: Double Blinded
Editor: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.องอาจ อินทนิเวศ
บทความย้อนหลัง
-
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2567)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ฉบับที่สอง เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ.2567 ในการดำเนินงานด้านวารสารวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถานะคุณภาพของวารสารฯ รอบปัจจุบันปรากฏรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในกลุ่ม 2
สำหรับบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในฉบับนี้มีทั้งสิ้น 4 เรื่อง ได้แก่ (1) บทความวิชาการ เรื่อง การศึกษาแนวทางการใช้แชทบอทเพื่อช่วยลดความเครียดในกลุ่มนักศึกษา โดย ชนัญญา สร้อยทอง เป็นบทความวิชาการ ที่นำเสนอเกี่ยวกับแชทบอทสามารถช่วยลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำแชทบอทมาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือนักศึกษาในการจัดการความเครียด บทความเรื่องที่สอง เป็นบทความวิจัย เรื่อง การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย กิติกร ทิพนัด และคณะ ได้ประเมินหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้ CIPP Model ทำให้ได้ข้อสรุปมาเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงหลักสูตรให้ ทันสมัย เหมาะสมต่อสภาพสังคม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และเพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน บทความเรื่องที่สาม เป็นบทความวิจัย เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธนาคารออมสิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย สันติ ทองสงฆ์ และคณะ นำเสนอเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาของเวียร์ (Weir) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ซึ่งวิธีสอนแบบสืบเสาะตามแนวคิดสะเต็มศึกษาจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น สำหรับบทความสุดท้าย เป็นบทความวิจัย เรื่อง แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยว จังหวัดแพร่ โดย อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง และคณะ ได้วิเคราะห์ลักษณะด้านประชากรศาสตร์และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจปัจจัยผลัก (Push Factors) และปัจจัยดึง (Pull factor) สามารถใช้การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวและวางแผนพัฒนาในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อการรองรับนักท่องเที่ยว และแนวทางการพัฒนาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ในอนาคต
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviews) ทุกท่านที่ได้พิจารณาบทความให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาบทความมีความสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ ความถูกต้องทางวิชาการและคุณภาพการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ท้ายนี้กองบรรณาธิการหวังว่าวารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มคุณภาพทางวิชาการให้กับสังคมและเป็นส่วนช่วยให้นักวิจัย ผู้สนใจทั้งหลายได้ศึกษาข้อมูล อันจะต่อยอดสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าในวงวิชาการของชาติต่อไป
อนึ่งทางวารสารฯ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภรัตน์ อินทนิเวศ อาจารย์ประจำโปรแกรมศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและศิลปินเชียงราย ที่ให้ความอนุเคราะห์ผลงานชื่อ “ชูช่อรับอรุณ 1” เพื่อขึ้นเป็นภาพปกให้กับวารสารฯ ในฉบับนี้
ผลงาน “ชูช่อรับอรุณ 1” โดย ศุภรัตน์ อินทนิเวศ (2562) มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ " ... แสงอ่อน ๆ ของยามเช้าไล้ลงบนกลีบดอกทิวลิปสีขาวนวลตา ดอกไม้ที่เธอชื่นชอบเพราะรูปทรงอ่อนช้อยและสีสันบริสุทธิ์สะอาดตา ดอกทิวลิปนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความงามอันนุ่มนวล แต่แฝงด้วยความเปราะบาง กลีบอวบอิ่มเรียงตัวอย่างงดงาม ทว่าสัมผัสเบากว่าลม คอยอ้อนให้ดูแลด้วยความรัก ความเอาใจใส่เสมอ ต้องการทั้งความเย็นสดชื่นและความชุ่มฉ่ำอย่างไม่ขาดสาย แม้ก้านอ่อนที่รองรับดอกจะดูบอบบาง แต่กลับพยุงดอกให้ตั้งตรง เผชิญหน้ากับสายลมและฝนอย่างไม่สะทกสะท้าน กลีบเบ่งบานท้าแสงอาทิตย์ สะท้อนถึงความหวัง ความเข้มแข็งที่แฝงอยู่ในความงามอันเรียบง่าย แต่ทรงพลัง เมื่อทอดสายตาออกไปเห็นทิวทัศน์กว้างไกล ดอกทิวลิปสีขาวยังคงโดดเด่นด้วยเส้นสายที่เคลื่อนไหวอย่างแผ่วเบา แสงและสีของมันถ่ายทอดความสมจริงและความเป็นธรรมชาติได้อย่างงดงาม ราวกับดอกไม้เหล่านี้กำลังส่งยิ้มให้กับสายลมและแสงแดด แบ่งปันความสุขและความสงบในหัวใจของผู้ที่ได้ยล ... "
ปัจจุบันผลงาน “ชูช่อรับอรุณ 1” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภรัตน์ อินทนิเวศ ได้สูญหายไปกับกระแสน้ำ เหตุน้ำท่วมเชียงรายปี 2567
-
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (2567)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ฉบับที่หนึ่ง เดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2567 นี้ เป็นปีที่ 18 ในการดำเนินงานด้านวารสารวิชาการของสถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถานะคุณภาพของวารสารฯ รอบปัจจุบันปรากฏรายชื่อ อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในกลุ่ม 2
สำหรับบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในฉบับนี้มีทั้งสิ้น 4 เรื่อง ได้แก่ (1) บทความวิชาการ เรื่อง แนวทางการทำงานวิเทศสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์ เป็นบทความวิชาการ ที่นำเสนอพัฒนาการด้านการวิจัยของหน่วยงานที่มีลำดับขั้นตอนการวางแผนที่มั่นคงมาแต่ในอดีต จวบจนปัจจุบันที่มุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานชั้นนำของโลกในอนาคต บทความนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำไปศึกษาเป็นแนวทางการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างประเทศ บทความเรื่องที่สอง เป็นบทความวิจัย เรื่อง อิทธิพลของการวางแผนการปฏิบัติงานทางการบัญชีที่ดีที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดย รักษดาวัลย์ ศิริตาคำ โดยนำเสนอคุณภาพการทำงานที่มาจากการวางแผนบัญชีที่ดี ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะมีประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้ในยุคสมัยที่ต้องใช้ความรอบคอบ กระบวนการคิดที่ละเอียดดังเช่นปัจจุบันอย่างยิ่ง บทความเรื่องถัดมาเป็นบทความวิจัย เรื่อง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการมุ่งนวัตกรรมธุรกิจ ความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ โอกาสในการประกอบการ และผลการดำเนินงานของกิจการสตาร์ทอัพ ในประเทศไทย โดย ชัชวาล ภานุศุภนิรันดร์ และคณะ นำเสนอกระบวนการสร้างความสามารถและทักษะในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ ผลการศึกษามีประโยชน์อย่างต่อผู้สนใจการทำธุรกิจในลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในสภาพปัจจุบัน และบทความสุดท้ายของฉบับ บทความวิจัย เรื่อง การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนชาติพันธุ์ขมุบ้านวังผา ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดย เสถียร ฉันทะ และคณะ ที่นำเสนอรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีหลักการ สู่การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviews) ทุกท่านที่ได้พิจารณาบทความ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาบทความมีความสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ ความถูกต้อง ทางวิชาการ และคุณภาพการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ท้ายนี้กองบรรณาธิการหวังว่าวารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มคุณภาพทางวิชาการให้กับสังคมและเป็นส่วนช่วยให้นักวิจัย ผู้สนใจทั้งหลายได้ศึกษาข้อมูล อันจะต่อยอดสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าในวงวิชาการของชาติต่อไปอนึ่งทางวารสารฯ ขอขอบคุณ อาจารย์พรมมา อินยาศรี ศิลปินเชียงราย ที่ให้ความอนุเคราะห์ผลงานชื่อ “สำเภาเงิน” เพื่อขึ้นเป็นภาพปกให้กับวารสารฯ ในฉบับนี้
ผลงาน “สำเภาเงิน” โดย พรมมา อินยาศรี (2567) มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้ เรือ "สำเภาเงิน" เป็นสื่อสัญลักษณ์เปรียบได้กับการเดินทางจากต้นทางด้านหนึ่งไปจนถึงปลายทางอีกด้านหนึ่ง ตลอดระยะทางกว่าจะถึงเป้าหมายต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายทั้ง คลื่นทะเล คลื่นลมพายุ รวมทั้งอุปสรรคอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความพากเพียร อดทน นานัปประการ เมื่อหันกลับมามองกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงสิ้นสุดช่วงชีวิต เปรียบได้ กับการเดินทางของชีวิต ต้องผ่านพบเจออุปสรรคที่เข้ามาหลายครั้งหลายหน ทำให้ต้องอดทน มีสติเพื่อฝ่าฟัน ยืนยัดด้วยความแข็งแกร่งมาเช่นเดียวกัน เมื่อมองผ่านเข้ามาตามหลักพระพุทธศาสนา ตามคำสอนของพระศาสดาได้ตรัสไว้ว่า บุคคลหากปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว การกำหนดเป้าหมายเส้นทางการดำเนินชีวิตจะเดินทางไปได้อย่างมีสติ เป็นสุขสำเร็จทุกประการ ดังเช่นนั้นแล อาจารย์พรมมา อินยาศรี ได้ถอดความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ดอกบัวบานลอยเหนือท้องฟ้า เพื่อสื่อให้เห็นว่าการหลุดพ้นจากดินและน้ำมาแล้วนั้น เปรียบดังหลักคำสอนที่ส่องแสงให้การเดินทางของเรือและมนุษย์เดินทางสุขความสุข และสำเร็จทุกประการศิลปิน พรมมา อินยาศรี
ชื่อภาพ สำเภาเงิน (2567)
ขนาด 60x80 ซม.
เทคนิค สีอาคลีลิค บนผ้าใบปัจจุบันผลงาน “สำเภาเงิน” และผลงานชิ้นอื่น ๆ ของอาจารย์พรมมา อินยาศรี จัดแสดงอยู่ที่ หอศิลป์บ้านนายพรมมา
เลขที่ 115 หมู่ 10 บ้านป่ายางน้อย ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย 57210 -
กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (2566)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ฉบับที่สอง เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ.2566 นี้ เป็นปีที่ 17 ในการดำเนินงานด้านวารสารวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถานะคุณภาพของวารสารฯ รอบปัจจุบันปรากฏรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในกลุ่ม 2
สำหรับบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในฉบับนี้มีทั้งสิ้น 6 เรื่อง ได้แก่ บทความเรื่อง “การประเมินการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว สำหรับเยาวชนและประชาชนจังหวัดเชียงราย” โดย สุดาพร ปัญญาพฤกษ์ และคณะ โดยมีเนื้อหาที่นำเสนอถึงผลการประมินคุณภาพการใช้หลักสูตรภัยพิบัติแผ่นดินไหว สำหรับกลุ่มคนทั้งเยาวชน และประชาชนทั่วไปอันจะช่วยเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และเพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้จากหลักสูตรไปใช้ได้ อย่างทันท่วงทีหากเกิดกรณีภัยพิบัติขึ้น บทความต่อมาเป็น “ภูมิทัศน์ทางภาษาของชุมชนเมืองเอก รังสิต จังหวัดปทุมธานี” โดย นภัสสร ปลื้มสุทธิ์ และคณะ ที่นำเสนอผลการศึกษาถึงข้อความ ภาษา และประเภทของป้ายโฆษณาที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งบางครั้งอาจจะถูกมองข้ามไปและบางครั้งป้ายอาจจะดึงดูดความน่าสนใจอย่างน่าฉงน การศึกษานี้จึงจำแนกประเภท และรายละเอียดของป้ายในพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ และนำเสนอรายละเอียดมุมมองได้อย่างน่าสนใจ บทความเรื่องที่สาม คือ “องค์ประกอบเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส” โดย กิตติพงษ์ มายา และคณะ นำเสนอเรื่องเล่าของอาหารที่โดดเด่นของจังหวัดเพชรบุรี ในแง่ของวัตถุดิบ เส้นทางการรับประทานอาหาร รวมทั้งแรงบันดาลในการสร้างสรรค์จากมิติทางสังคม บทความต่อมาเรื่อง “The Idea of Residential Design of Chinese Dong Nationality” โดย Junhao Lu and Pisit Puntien ที่นำเสนอถึงการศึกษาแนวคิด หลักการของสถาปัตยกรรมประเพณีต้งของชาวจีนแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ บทความเรื่องที่ห้า “The Application of Traditional Lacquer Carving Technology in Modern Product Design” โดย Junguo Zhao and Pisit Puntien เป็นการนำเสนอผลการศึกษาคุณลักษณะทางศิลปะและเทคโนโลยีการแกะสลักเครื่องเขินแบบดั้งเดิมของจีน โดยต่อยอดออกแบบ สู่เครื่องประดับและการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ให้มีความร่วมสมัย และบทความสุดท้าย บทความเรื่องที่หก “ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 1: ผลจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยม” โดย วิทยา พูลสวัสดิ์ และ ลือชา ลดาชาติ ที่นำเสนอผลการศึกษารูปแบบการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviews) ทุกท่านที่ได้พิจารณาบทความ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาบทความมีความสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ ความถูกต้องทางวิชาการ และคุณภาพการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ท้ายนี้กองบรรณาธิการหวังว่าวารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มคุณภาพทางวิชาการให้กับสังคมและเป็นส่วนช่วยให้นักวิจัย ผู้สนใจทั้งหลายได้ศึกษาข้อมูล อันจะต่อยอดสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าในวงวิชาการของชาติต่อไป
อนึ่งทางวารสารฯ ขอขอบคุณ อาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินเชียงรายที่ให้ความอนุเคราะห์ผลงานชื่อ “แจกัน” เพื่อขึ้นเป็นภาพปกให้กับวารสารฯ ในฉบับนี้
รายละเอียดผลงาน “แจกัน” โดย สมลักษณ์ ปันติบุญ (2566) ศิลปินเชียงราย เป็นงานปั้นขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน (Wheel Throwing) มีรูปลักษณ์เป็นแจกันที่มีความร่วมสมัย ลักษณะเป็นงานปั้นดิน เคลือบ ผ่านกระบวนการเผาสองครั้ง ครั้งแรกเผาด้วยบิสกิต (Bisque) จากนั้นนำมาเขียน ขีด ลาย ด้วยเหล็กออกไซด์ (สีดำ) (Ferric Oxide) ให้มีลวดลาย ถ่ายทอดอารมณ์ แฝงความเป็นศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ตามจินตนาการของตนเอง การเครือบครั้งที่สองเป็นการเครือบด้วยหินแร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar) หรือแร่ฟันม้า ใช้ไฟในการเผาอุณหภูมิสูง เกรด Stoneware หรือประมาณ 1,250-1,280 องศาเซลเซียส การใช้ไฟสูงนี้ทำให้เกิดการสันดาปไม่สมบูรณ์และทำให้เกิดควันไฟเข้าไปในงาน จะช่วยสร้างมิติให้กับผิวงานทำให้งานน่าสนใจ
ปัจจุบันผลงาน “แจกัน” และผลงานชิ้นอื่น ๆ ของอาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ จัดแสดงอยู่ที่ Doy Din Dang Pottery ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
-
มกราคม - มิถุนายน 2566
ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (2566)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ฉบับแรกเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี พ.ศ.2566 นี้ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 17 ในการดำเนินงานด้านวารสารวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สถานะคุณภาพของวารสารฯ รอบปัจจุบันปรากฏรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในกลุ่ม 2
สำหรับบทความที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ในฉบับนี้มีทั้งสิ้น 7 เรื่อง ได้แก่ บทความเรื่อง “An Analysis of the Famous Operatic Vocal Duets in Covido the Opera: A Main Performer’s Perspective” โดย เฟื่องลดา ประวัง คาล์สัน โดยมีเนื้อหาในเชิงบทความวิชาการที่นำเสนอเชิงวิเคราะห์อุปรากรที่ผสมผสานระหว่างการใส่เนื้อร้องภาษาไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์และแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงได้อย่างน่าสนใจ บทความต่อมาเป็น “การศึกษาพฤติกรรมการฟังเพลงของเด็กปฐมวัยยุคใหม่” โดย เพียงแพน สรรพศรี ปรเมศวร์ สรรพศรี วัชรพงษ์ วิชา และเจษฎา อุทุมภา ที่นำเสนอผลการศึกษาเชิงพฤติกรรมที่จะนำไปเชื่อมโยงกับการจัดกิจกรรมของเด็กในระดับปฐมวัย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแนวคิดการแต่งเพลง การเลือกเพลงมาใช้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี บทความเรื่องที่สาม คือ “ทุนวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่” โดย ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์ และกิ่งกนก เสาวภาวงศ์ ที่นำเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนที่จะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยเรื่องนี้จะเกิดประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพื้นที่อื่น ๆ ได้ บทความต่อมาเรื่อง การศึกษา เชิงวิเคราะห์การปรับบทแปลและกลวิธีการแปลจากนวนิยาย เรื่อง “เทวากับซาตาน” โดย ณฐกร ผลเอกประดิษฐ์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับบทแปล และกลวิธีการแปลในนวนิยายเรื่อง “เทวากับซาตาน” โดยนำหลักเกณฑ์ในการปรับบทแปลของ สัญฉวี สายบัว (2560) และ โมนา เบเคอร์ (2535) มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ โดยมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาด้านวรรณกรรมทางมนุษยศาสตร์ บทความเรื่องที่ห้า “การเผยแพร่ศาสตร์พระราชาผ่านสื่อมวลชนกับความเข้าใจและการยอมรับต่อศาสตร์พระราชาของประชาชนในจังหวัดเชียงราย” โดย กรกนก นิลดำ ผลการวิจัยเป็นการนำเสนอแง่มุมของชุมชนต่อแนวคิดความเข้าใจของคนในพื้นที่ต่อการแนวคิดมาปรับใช้ บทความเรื่องที่หก “แนวทางการพัฒนามาตรฐานการผลิตสับปะรดนางแล สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จังหวัดเชียงราย โดย นุกุล อินทกูล เป็นการนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ โดยข้อมูลที่ได้สามารถนำไปปรับใช้กับการยกระดับผลผลิตทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี และบทความสุดท้ายของ วิทยา พูลสวัสดิ์ และลือชา ลดาชาติ ที่นำเสนอการศึกษาถึงรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมเพื่ออส่งเสริมการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความเข้ามารับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviews) ทุกท่านที่ได้พิจารณาบทความ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาบทความมีความสมบูรณ์ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ ความถูกต้อง ทางวิชาการ และคุณภาพการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ท้ายนี้กองบรรณาธิการหวังว่าวารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มคุณภาพทางวิชาการให้กับสังคมและเป็นส่วนช่วยให้นักวิจัย ผู้สนใจทั้งหลายได้ศึกษาข้อมูล อันจะต่อยอดสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าในวงวิชาการของชาติต่อไป
อนึ่งทางวารสารฯ ขอขอบคุณ อาจารย์สรัลวลัย ปงกันมูล ศิลปินเชียงราย ที่ให้ความอนุเคราะห์ภาพเขียนชื่อ “Blue bird” เพื่อขึ้นเป็นภาพปกให้กับวารสารฯ ในฉบับนี้
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2565
ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (2565)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ ขอขอบคุณผู้เขียน กองบรรณาธิการ ผู้ประเมินบทความ และเจ้าหน้าที่วารสารฯ ทุกท่านที่ ร่วมแรงร่วมใจสร้างสรรค์บทความที่ดีมีคุณภาพและเผยแพร่สู่แวดวงวิชาการอย่างมั่นคงเพื่อร่วมพัฒนาวงวิชาการในประเทศ ให้ก้าวหน้าเจริญยิ่งขึ้นไป อย่างไรก็ตามวารสารฯ มีความยินดีอย่างยิ่งและขอเชิญชวนนักวิชาการที่สนใจได้เสนอบทความที่ มีคุณภาพเข้ามาพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในฉบับต่อไป
อนึ่ง วารสารการวิจัยกาสะลองคำ ขอขอบพระคุณ คุณทนงศักดิ์ ปากหวาน ศิลปินเชียงราย ที่อนุเคราะห์ไฟล์ภาพ ผลงานชื่อ “โอบอุ้ม”(2562)เพื่อลงเป็นภาพปกของวารสารในฉบับนี้ ผลงานจิตรกรรมจริงชิ้นนี้ เป็นภาพวาดบนผืนผ้าใบ ขนาด 150x120เซนติเมตร ใช้เทคนิคสีฝุ่น ทองคำเปลว โดยมีแนวคิดของภาพที่กล่าวถึงบุคคลผู้เป็นแม่ที่ทำหน้าที่คอย ปกป้องรักษา ให้ความรัก ความอบอุ่น ทะนุทนอมลูกน้อยและเลี้ยงดูลูกจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมปัจจุบัน ภาพเขียนดังกล่าวมีผู้สนับสนุนแล้วและนำไปจัดแสดงในบ้านพักส่วนตัว
-
มกราคม-มิถุนายน 2565
ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2022)ภาพวาดโดย อาจารย์เสงี่ยม ยารังษี ศิลปินเชียงราย
ผลงานส่วนหนึ่งในภาพวาดชุดการเดินทางในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการ Thailand & Beauty : Travel to the Art of Thailand " ของเสงี่ยม ยารังษี (2556) เป็นผลงานที่ถ่ายทอด สภาพแวดล้อมของวัดจีนแห่งหนึ่งในนครเฉิงตู ตั้งอยู่ระหว่างการเดินทางก่อนเข้าสู่เมืองจิ่วจ้ายโกว (Jiuzhaigou) มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นวัดที่มีรูปทรงโดดเด่น ตั้งอยู่ทามกลางสภาพแวดล้อม ทิวทัศน์สวยงาม และในขณะเดียวกันมีพระลามะกำลังทำวัดกลางวันอย่างขะมักขะเม้นอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวจัด”
ภาพขนาด 50x60 ซม. เทคนิค สีอะครีลิคบนผืนฝ้าใบ
-
กรกฎาคม - ธันวาคม 2564
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2021)ขอขอบคุณภาพปก
โดย ทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินเชียงราย
ชื่อผลงาน วัดป่าสัก เชียงแสน ขนาด 150x200 ซม. เทคนิค สีอะครีลิคบนผืนฝ้าใบ ผลงานชิ้นนี้เป็น 1 จาก 3 ผลงานในวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท (2542) ของทรงเดช ทิพย์ทอง โดยมีแรงบันดาลใจจาก เจดีย์วัดป่าสัก ซึ่งถือเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่มีความงดงามลงตัวมากที่สุด ทั้งในด้าน รูปทรง สัดส่วน นอกจากนี้ลวดลายหน้าเทวดา และหน้ากาล มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะเชียงแสนอย่างแท้จริง อาจารย์ถวัลย์ ดัชนีถึงกับเคยกล่าวไว้ว่าถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวแล้วทุกสิ่งทุกอย่างในจังหวัดเชียงรายล่มสลายไปหมด หากเจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน ยังคงอยู่ก็เท่ากับว่าเชียงรายไม่ได้สูญเสียอะไรไปเลย ปัจจุบันผลงานชิ้นนี้ติดตั้งอยู่ที่โรงแรม มรรคา -
กรกฎาคม – ธันวาคม 2020
ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2020)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ บทความวิชาการ,บทความวิจัย,บทวิจารณ์และหนังสือ,บทความปริทัศน์, บทความรับเชิญ โดยเนื้อหาในบทความเกี่ยวข้องกับ ศิลปศาสตร์,มนุษยศาสตร์,ปรัชญาและสังคมวิทยาศิลปศาสตร์ ,มนุษยศาสตร์,ปรัชญาและสังคมวิทยา
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ฉบับที่ 14 เล่มที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2020
-
มกราคม-มิถุนายน 2020
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2020)วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ บทความวิชาการ,บทความวิจัย,บทวิจารณ์และหนังสือ,บทความปริทัศน์, บทความรับเชิญ โดยเนื้อหาในบทความเกี่ยวข้องกับ ศิลปศาสตร์,มนุษยศาสตร์,ปรัชญาและสังคมวิทยาศิลปศาสตร์ ,มนุษยศาสตร์,ปรัชญาและสังคมวิทยา
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ฉบับที่ 14 เล่มที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563