การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์และศึกษาผลการใช้รูปแบบฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา
2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 1.1 ศึกษาความต้องการการพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้แบบประเมินความต้องการการพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 144 คน 1.2 สร้างรูปแบบ และตรวจสอบรูปแบบโดยการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้รูปแบบฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 25 คน เครื่องมือในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ มีความต้องการการพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ด้านความรู้ และทักษะ อยู่ในระดับมาก
- รูปแบบฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและขั้นตอนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการ/แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ลักษณะสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการฝึกอบรม ผลการประเมินรูปแบบฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ โดยการประชุมสนทนากลุ่ม พบว่า รูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และมีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
- ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์มีระดับความรู้ และเจตคติต่อการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์
หลังได้รับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับทักษะการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์หลังได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง และครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในระดับมากที่สุด
References
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2542) วิกฤตสังคมไทยกับบทบาทวิทยากรกระบวนการ.เล่ม 2 สำนักงานกองทุน
เพื่อสังคม ธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ
ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนาสมรรถนะรายบุคคล. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2555. จาก http://www.spko.moph.go.th/person/idp230649.ppt
บุญชม ศรีสะอาด. (2533). รูปแบบการควบคุมวิทยานิพนธ์ = A model of thesis supervising. มหาสารคาม : โครงการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
_________. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : แอล. ที. เพรส.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2536). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: (2554). รายงานการวิจัยเรื่องผลการอบรม
KruTube Channel สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร.
โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554 – 2556. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). รายงานผลที่สำคัญสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ
การสื่อสารในสถานศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-
2559). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก
Edmunds, C., K. Lowe, M. Murray, and A. Symour (1999). “The Ultimate Educator”, Excerption from the NVAA specialized offering.
Knowles, M. (1980). The modern practice of adult education: from pedagogy to andragogy, 2nd ed.
New York: Cambridge Books.
May, M. and Doob, L. (1937). Cooperation and competition. New York: Social Sciences
Research Council.