การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลการประเมินสถานศึกษาของสมศ.จากสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากผลการวิจัย ได้พบว่ามีสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ 1. สัตย์ซื่อ 2. สติปัญญา 3. สร้างสรรค์ 4. ส่วนร่วม 5. สัมพันธ์ 6. สอนงาน 7. สามารถ 8. ส่งเสริม และ ได้สร้างสมการพยากรณ์ผลการประเมินสถานศึกษาของสมศ.จากสมรรถนะของผู้บริหาสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ คือ Y = .749 - .359 (X6) + .281 (X3) +.200 (X7) - .247 (X8) +.138 (X1) สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = -.506(X6) + .403 (X3) +.240 (X7) - .270 (X8) +.144 (X1) จากสมการพยากรณ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบนพบว่า สมรรถนะที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการประเมินของสมศ. มี 5 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านความสัตย์ซื่อ(X1) สมรรถนะด้านการสร้างสรรค์(X3) สมรรถนะด้านการสอนงาน(X6) สมรรถนะด้านความสามารถใช้คน(X7) สมรรถนะด้านการส่งเสริม (X8) โดยผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. การบรรยาย 2. กรณีศึกษา 3. การสะท้อนความคิด 4. การสะท้อนความคิดอภิมาน 5. การให้ข้อมูลตอบรับ โดยผู้วิจัยได้มีการศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลัง (Pretest/Posttest Control/ Group Design) โดยใช้แบบประเมินตนเอง (มาตรวัดอันตรภาค) และ แบบทดสอบความรู้หลายตัวเลือก (Multiple Choice Tests) และได้ผลการวิจัยดังต่อไปนี้ การเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงาน ระหว่างก่อนร่วมโครงการกับหลังร่วมโครงการ จากการประเมินตนเอง พบว่า ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัตย์ซื่อด้านสติปัญญา ด้านการสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านการสอนงานและด้านความสามารถใช้คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการมีส่วนร่วม และด้านการส่งเสริม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ พบว่าการเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะการบริหารระหว่างผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ มีผลการประเมินก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนสมรรถนะการบริหารระหว่างผู้บริหารที่ไม่เข้าร่วมโครงการ มีผลการประเมินก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิราภรณ์ วุฒิภักดี. (2542). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามความเห็นของครู อาจารย์ โรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพฯ . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชรินทร์ หงส์ทอง. (2546). รูปแบบพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามตัวบ่งชี้มาตรฐานที่ 19 ในทัศนะของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
บุญสุข สุขสวัสดิ์. (2545). บทบาทของครูยุคปฏิรูปการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของ โรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ประกอบ ชมจันทร์. (2540). สมรรถภาพทางการบริหารกับบทบาทการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเวศ ทิพจร. (2545). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2548). เริ่มต้นอย่างไรเมื่อจะนำ COMPETENCY มาใช้ในองค์กร. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). กรุงเทพ:ม.ป.ท.ม.,
วิเชียร แก่นไร่. (2542). การพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี.สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีภูมิ สุขหมั่น. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาความเป็นผู้บริหาร
มืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร-มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
เสน่ห์ โอฐกรรม.(2542). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตร์มหาบัณฑิต . บัณฑิตวิทยาลัย . มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สิริเกรียงไกร ธรรมโชติ. (2546). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฎราชนครินทร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2532). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพของโรงเรียนประถมศึกษาในชนบท. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานข้าราชการพลเรือน.(2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู ฉบับปรับปรุง. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.nidtep.go.th/competency/book.htmสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2551). ปัญหาของสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครราชสีมา เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). รายงานการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพ โรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ปี 2551-2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2526). เอกสารสาระการเรียนรู้ เล่ม 1 ชุดวิชาผู้บริหารสถานศึกษา มืออาชีพ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2546). การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูล Competency. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.
อรทัย ศักดิ์สูง. (2543). รายงานการวิจัยการติดตามผลผู้บริหารโรงเรียนที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รุ่นที่ 1-2 ประจำปี งบประมาณ 2543. สถาบันพัฒนาผู้บริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2549). Competency Dictionary. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท เอช อาร์ เซ็นเตอร์ จำกัด.
อภินันท์ เวทยานุกูล. (2544). รายงานการวิจัยความสามารถในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. สถาบันพัฒนาผู้บริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
เอกชัย กี่สุขพันธุ์. (2533). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
Barnard, Chester I. (1969). Organization and Management. Cambridge. Massachusetts : Harvard University Press.
David,F. (1993). The leadership behaviors of principles and their effect on school improvement in effective urban high school (Urban schools). Dissertation Abstractsinternational,53,4144-A.
Davis, B. & Ellison, L.(1997). School leadership for the 21 Century. London: Rutledge.
McClelland,D.C. (1973). Testing for competence rather than for Intelligence, American Psychologist, 28, 1-14, 10 December 2011 form http://dusithost.dusit.ac.th/ei/tuan/file21122005046.doc
Parkay, Forest W. and Gene E. Hall. (1992). Becoming a Principle : The Challenges of Beginning Leadership. Massachusetts : Allyn & Bacon.
Parry, Scott B. (1997). Evaluating the Impact of Training. New York : John and Willey.
Queensland Department of Education. (1997). Standards framework for Leaders.
Robbins, Stephan P. and Marry Coulter. (1996). Management. New Jersey : Prentice-Hall.
Spencer, M., &Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for superiors performance. New York: John Wiley &Sons.
Smith, Harold B. (1998). Descriptions of Effective Behavior of School Principles. Dissertation Abstract Internationl.
Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley &Sons.
Stogdill, Ralph M. (1974). Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. New York : The Free Press.
Stoner, James A.F. and Edward R. Freeman