วิเคราะห์ปมปัญหาชีวิตสมรสของปัญญาชนในสังคมเมืองผ่านงานเขียนของหวังไห่หลิงชุด “ชีวิตสมรส 3 แบบ” ได้แก่เรื่อง “จูงมือ” “การหย่าแบบจีน”และ “การแต่งงานยุคใหม่”

ผู้แต่ง

  • Witchayada Amnarthanakul

บทคัดย่อ

Wang Hailing เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากและยังเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ในประเทศจีน ผลงานของเธอเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านและผู้ชมในปีที่ผ่านมา เธอได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง "Holding hands", "Chinese-style divorce", "New era of marriage"  และชุดนวนิยายเกี่ยวกับการแต่งงาน นอกจากนี้ ยังรวมถึงละครโทรทัศน์ที่ใช้ชื่อเดียวกัน และยังคงเป็นที่นิยมอยู่ในโทรทัศน์ รวมถึงการใช้ชื่อครอบครัวของ Wang Hailing  ส่วนธีมหลักของงานเธอนั้น จะเกี่ยวกับการแต่งงานและการสร้างครอบครัว ภายใต้ชื่อเรื่อง “การแต่งงานแบบจีนของนักเขียนครั้งแรก” เธอใช้วิธีการเขียนที่เน้นความเป็นจริง บรรยายให้เห็นถึงภาพชีวิตการแต่งงานที่เป็นจริง จากแง่มุมที่แตกต่าง แสดงให้เห็นถึงปัญญาชนร่วมสมัยในสังคมเมืองประสบปัญหาเกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัว วิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังถ่ายทอดผ่านผู้หญิงในยุคปัจจุบันในแนวคิดที่ว่า “ภาวะการแต่งงานที่เป็นผู้นำ” ปัจจุบันความกังวลที่เพิ่มขึ้นของสตรีเกี่ยวกับความรักและการแต่งงานอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและสภาพครอบครัวเป็นอย่างมาก

ปัจจุบัน ประเทศจีนอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความรู้สึกของคนในครอบครัว ความคิดเกี่ยวกับการแต่งงาน ค่านิยมต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยก่อน ปัญหาของการแต่งงานและครอบครัวยังคงเป็นประเด็นร้อนทางสังคม และยังเป็นที่มาของด้านกฎหมาย ด้านสังคมวิทยา ด้านจิตวิทยา ด้านวรรณกรรม และด้านอื่นๆ รวมถึงยังเป็นที่มาของการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาและความสนใจต่างๆ

Wang Hailing เขียนเรื่องราวที่เป็นจริง และบรรยายถึงการแต่งงานที่เกิดขึ้นจริงในสังคมปัจจุบัน เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงความเจ็บปวดของการแต่งงาน แต่ในขณะเดียวกัน ก็เตือนถึงการดูแลชีวิตการแต่งงานอย่างมีเหตุผล รวมถึงมุมมองที่มีเหตุผลตามแบบค่านิยมดั้งเดิม ส่วนใหญ่แล้ว ตัวละครของ Wang Hailing จะสื่อถึงภาพลักษณ์ของปัญญาชน ซึ่งมักจะเป็นชนชั้นไอที บ้างก็เป็นศัลยแพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ บ้างก็เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีระดับการศึกษาและระดับรายได้ และมุมมองด้านอื่นๆ พวกเขามักจะเป็นชนชั้นสูงในสังคมเมือง พวกเขาอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความฉลาด และสะท้อนถึงเหตุผลสำหรับข้อโต้แย้งเรื่องการแต่งงานและคุณค่าทางจิตใจของชีวิตคู่ของพวกเขา ชีวิตการแต่งงานของพวกเขาค่อนข้างที่จะไร้พันธนาการ แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตจริงของการแต่งงานและครอบครัวนั้นไม่มีความสุข ดังนั้น การเขียนของ Wang Hailing จึงบรรยายถึงปัญหาของการแต่งงานและครอบครัวของปัญญาชนอย่างมีนัยสำคัญ

ผลงานของ Wang Hailing เรื่อง "Holding hands", "Chinese-style divorce", "New era of marriage" ถูกเรียกว่า “อวสานการแต่งงาน” เป็นแง่มุมที่แตกต่างที่บรรยายถึงปัญหาของการแต่งงานและครอบครัว เช่น เรื่อง "Holding hands" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการแต่งงานที่มีปัญหามาจากภายนอก และนำไปสู่การแตกแยก โดยมีสาเหตุมาจากมือที่สาม เรื่อง "Chinese-style divorce" เป็นเรื่องราวที่เป็นปัญหาภายใน ที่บรรยายถึง “สามีที่ให้เกียรติภรรยาของเขา” ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดแบบดั้งเดิม และนำไปสู่การล่มสลายของการแต่งงานในที่สุด สำหรับเรื่อง "new era of marriage"เป็นเรื่องในมุมมองความแตกต่างของสังคมเมืองและสังคมชนบท และอธิบายถึง “คู่รักที่มีฐานทางสังคมเท่าเทียมกัน” อย่างมีนัยสำคัญ จากแง่มุมหลายๆแง่มุมของนักเขียนที่แสดงถึงปัญหาของการแต่งงานและครอบครัวของปัญญาชนในสังคมเมือง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของการแต่งงาน และการเปิดเผยสถานภาพการแต่งงาน สาเหตุที่คนคิดและกังวลเกี่ยวกับเรื่องการแต่งงานและเรื่องครอบครัว

บทความฉบับนี้ คือการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมของ Wang Hailing  “อวสานการแต่งงาน” วิเคระห์สภาพปัญหาการแต่งงานและครอบครัวของปัญญาชนในเมือง ในบทแรกเป็นเรื่องราวของตัวละครสามคู่ที่มีสถานะมั่นคงในการแต่งงานมาเป็นระยะเวลานาน บทที่สอง ผู้เขียนวิเคราะห์ภาพลักษณ์ต่างๆ เมื่อเกิดการวิกฤตที่ปะทะกันในการแต่งงาน ความแตกต่างของคนที่ก่อให้เกิดทางเลือกที่แตกต่าง เรื่องราวของมือที่สาม แนวความคิดแบบดั้งเดิม ความแตกต่างของสังคมเมืองกับสังคมชนบทที่นำไปสู่การหย่าร้างและครอบครัวแตกแยก ซึ่งจะอยู่ในบทที่สาม ส่วนบทที่สี่จะถกเถียงถึงปัญหาของการสมรสของนวนิยายของ Wang Hailing

References

1]王海鸰.牵手.北京:作家出版社,2007.

[2]王海鸰.中国式离婚.北京:作家出版社,2006.

[3] 王海鸰.新结婚时代.北京:作家出版社,2006.

[4] 常建华.婚姻内外的古代女性.北京:中华书局,2006.

[5] 邵伏先.中国的婚姻与家庭.北京:人民出版社,1989.

[6] 梁漱溟.中国文化要义.上海:学林出版社,1978.

[7] 邓伟志,徐新.家庭社会学导论.上海:上海大学出版社,2006.

[8] [美]爱得·W·萨义德.知识分子论.北京:生活·读书·新知三联书店,2002.

[9] 马克思,恩格斯.马克思恩格斯全集(第四卷).北京:人民出版社,1992.

[10]陈曦.直面真实的婚姻生活 解剖深层次的婚姻观念——论王海鸰的“婚姻三部曲”[J].吉林大学学报,2008(4).

[11]李钊试.论五四运动后中国的女性与婚姻家庭[J].牡丹江师范学院学报(哲学社会科学版),2003(5).

[12]赵鸿飞.王海鸰创作婚姻观探析.河北师范大学学报,2010(7).

[13]东舒.从《大校的女儿》看王海鸰作品中的女性形象.中国电视,2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite