การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผู้หญิงในงานเขียนของซูถงและอันหนีเป่าเป้ย จากเรื่อง “เมียหลวงเมียน้อย”และ “ดอกบัว”

ผู้แต่ง

  • Thanadet Thewphaingarm

บทคัดย่อ

 วรรณกรรมร่วมสมัย ปัจจุบันจะเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนถึงความวิตกกังวลของผู้หญิงเป็นหลัก ผลงานที่ได้รับความสนใจของผู้อ่านส่วนมากนักเขียนจะเน้นสตรีเป็นหลัก แต่ยกเว้น Su Tongภาพลักษณ์ผู้หญิงในแบบของ Su Tong นั้น ถือว่าเป็นการผูกเรื่องหลักของโลกวรรณกรรมของเขา ไม่เหมือนดังเช่นนักเขียนชาย ที่ส่วนมากมักจะวางภาพลักษณ์ของผู้หญิงในแบบดั้งเดิม การเขียนของ Su Tong นั้นจะเป็นเอกลักษณ์ เช่น เรื่องคุ้นเคยทั่วไป พรรณนาถึงความรู้สึกภายในของผู้หญิง ความพยายามของผู้หญิงที่มีต่ออุดมการณ์ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของความสนใจในชะตากรรมของผู้หญิง ความคิดเกี่ยวกับมนุษยชาติ นอกจากนี้ นักเขียนจีนร่วมสมัย อย่าง Su Tong ที่เรารู้จักกันในผลงานที่แสดงถึงภาพลักษณ์ของผู้หญิงในแบบของ Su Tong ในเรื่อง "Kathrine" นั้นแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจเกี่ยวกับผู้หญิง ตัวละครหลักของนวนิยายของเขาส่วนมากจะเป็นเรื่องราวชีวิตส่วนตัว ชะตากรรมของผู้หญิงแต่ละคนที่ไม่เป็นผู้หญิงเหมือนกัน คาแรกเตอร์ของผู้หญิงจะมีอำนาจและจะต้องระมัดระวังที่เขียนให้ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีนักเขียนชายคนไหนในยุคใหม่เลยที่จะแสดงให้เห็นถึงแง่มุมทางจิตวิทยาของผู้หญิงอย่างเขา นวนิยายของ Su Tong ส่วนมากจะบรรยายถึงภาพลักษณ์ของผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จที่มีอายุอยู่ในช่วง 30-40 ปี ดังเช่น Songlian ในเรื่อง "Wives and Concubines" เป็นผู้หญิงยุคใหม่ "54" ที่แสดงให้เห็นถึงคลื่นการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมใหม่ต่อครอบครัวแบบเก่า 

สำหรับนักเขียนผู้หญิงก็จะมีเอกลักษณ์ที่อ่อนไหวและแสดงถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่เติบโตมา ซึ่งจะเผยให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของผู้หญิงสมัยใหม่ ซึ่ง Annie Baby ก็เป็นหนึ่งในนั้น เชื่อว่า การสร้างสรรค์ของ Annie Baby นั้นมีความพิถีพิถันมาก ผลงานของ Annie Baby เริ่มต้นจากเครือข่ายอินเทอร์เนต เธอกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากใน เครือข่ายอินเทอร์เนต เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคที่เป็นผลมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เธอบรรยายภาพลักษณ์ของผู้หญิงของเธอเป็นผู้หญิงในสังคมเมือง ที่ข้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตลาดและการเจริญเติบโตของเมือง อาจจะกล่าวได้ว่า ทั้งการสร้างสรรค์ในรูปแบบและเนื้อหาของ Annie Baby เป็นผลกระทบโดยตรงของ ​​" อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม " ที่ทันสมัย ดังนั้น ผู้เขียนตั้งใจที่จะยกตัวอย่างผลงานของ Annieที่ชื่อว่า "Lotus" เป็นการแสดงถึงการอยู่รอดของผู้หญิงในสังคมสมัยใหม่

บทความฉบับนี้เน้นถึงการเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของผู้หญิงในเรื่อง "Wives and Concubines" และเรื่อง "Lotus" ที่นำไปสู่ความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นในความแตกต่างของภาพลักษณ์ของผู้หญิงในเรื่อง "Wives and Concubines" และเรื่อง "Lotus" ที่เน้นถึงลักษณะทางด้านจิตวิทยาของผู้หญิงกับลักษณะทางด้านอุดมการณ์ของผู้หญิง ช่วงเวลาเป็นรูปแบบของการแสดงถึงภาพลักษณ์ของผู้หญิงและผู้เขียนมีแนวโน้มที่จะแสดงถึงค่านิยม แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของความเสมอภาคของผู้หญิงและสิทธิสตรี ผู้หญิงยุคก่อนเผยให้เห็นถึงประเด็นความแตกต่างของผู้หญิงในสังคมปัจจุบัน

References

[1]苏童.妻妾成群[M].沈阳:春风文艺出版社,2002.

[2]莲花/安妮宝贝著.—北京:作家出版社,2006.2.

[3] 钱谷融,鲁枢元.文学心理学[M].上海:华东师范大学出版社,2003.

[4] 林文和.文学鉴赏导读[M].北京:人民文学出版社,2004.

[5] 张小萍,姜源傅.充满伤痛感的生存体验——读《妻妾成群》[J].江西科技师范学院学报,2005(6):120—123.

[6] 马钰滢.浅析《妻妾成群》的心理描写艺术[J].网络财富(文化研究),2009:106—107.

[7] 韩开绯.《妻妾成群》与《大红灯笼高高挂》之比较[J].学术交流,2004(4):157—159.

[8] 李花蕾.从《莲花》看安妮宝贝的创作特色[J].邵阳学院学报(社会科学版),2007,6(1):127—130.

[9] 郑宗荣.寻找莲花圣地——从苏内河角度解读安妮宝贝《莲花》[J].江西科技师范学院学报,2010(6):102—106.

[10] 杨玲,谢静.青春文学女作家写作心理探析——《大地之灯》与《莲花》的对比研究[J].职大学报,2012(3):38—41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite