วิถีชีวิตคู่หญิง
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและแบบแผนการใช้ชีวิตของคู่หญิงรักหญิง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคู่หญิงรักหญิงจำนวน 6 คู่ โดยวิธีการแนะนำของคนรู้จัก (Snowball Technique) ผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ภูมิหลังครอบครัวเดิม และวิถีชีวิตตลอดจนแบบแผนการใช้ชีวิตของคู่หญิงรักหญิง จากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดพบว่า คู่หญิงรักหญิงทั้ง 6 คู่ เป็นคู่ทอมดี้ 5 คู่และคู่ทอมเกย์ 1 คู่ มีอายุตั้งแต่ 24-35 ปี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจุบันผู้ให้ข้อมูลหลักอาศัยอยู่อพาร์ทเม้นท์ ภูมิหลังครอบครัวเดิมพบว่า วิธีการอบรมเลี้ยงดูภายในครอบครัวที่มีทั้งแบบเข้มงวด แบบปล่อยอิสรเสรี การขาดความอบอุ่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การกดขี่ทางเพศ และความไม่เท่าเทียมในทางปฏิบัติต่อเพศหญิงมีอิทธิพลต่อการเริ่มชอบและสนใจเพศหญิงด้วยกัน ในส่วนของวิถีชีวิตและแบบแผนการใช้ชีวิตของคู่หญิงรักหญิงพบว่า มีการเปิดเผยตัวตนอย่างชัดเจนต่อครอบครัวที่ยอมรับพฤติกรรมทางเพศและไม่สนใจในมุมมองของสังคม ส่วนการใช้ชีวิตคู่จะอยู่ด้วยกันอย่างเปิดเผยแบบครอบครัวในลักษณะผัวเดียวเมียเดียว มีการวางแผนชีวิตคู่เรื่องฐานะครอบครัวและความมั่นคงในชีวิต ท้ายที่สุดผลการสัมภาษณ์พบว่าผู้ให้ข้อมูลหลักต้องการให้กฎหมายอนุญาตให้คนรักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสกันได้เพื่อสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ของคู่สมรส ทั้งนี้ผู้วิจัยเห็นควรสนับสนุนให้ครอบครัวตลอดจนองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษารวมถึงสื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวและเผยแพร่ผลงานของคู่หญิงรักหญิงในทางสร้างสรรค์และเป็นธรรมแก่ผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
References
จิตติมา ภานุเตชะ. 2551. “11 ปี แห่งความเคลื่อนไหวของความหลากหลายทางเพศ (2540-2550).”
ใน กุลภา วจนสาระ (บรรณาธิการ). “เรื่อง” เพศแบบไหนในห้องสมุดและในข่าว. กรุงเทพมหานคร: แผนงานสร้างเสริมสุขภาพวะทางเพศมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.), 92-98. อ้างใน กฤตยา อาชวนิจกุล. 2554. “เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย.”
ใน สุรีย์พร พันพึ่ง และ มาลี สันภูวรรณ์. (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม 2554 จุดเปลี่ยนประชากรจุดเปลี่ยนสังคมไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 49.
จุดประกาย. (2548). วาทกรรมหญิงรักหญิง ค้นหาจาก. www.bangkokbiznews.com.,
จิรภัทร วงศ์อ้าย. (2550). กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารนอกระบบ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภาภรณ์ หะวานนท์. (2554). “เพศวิถีกับการเป็นตัวบุคคล.” ใน นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (บรรณาธิการ). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอเอ็นทีออฟฟิศเอ็กเพรส จำกัด
นภาภรณ์ หะวานนท์ และ ธีรวัลย์ วรรณโนทัย. (2554). “เพศวิถีกับการเป็นตัวบุคคล.” ใน นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (บรรณาธิการ). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอเอ็นทีออฟฟิศเอ็กเพรส จำกัด
นัยน์ปพร จงสมจิตต์. (2550). ตัวละครรักร่วมเพศหญิงในนวนิยายไทย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2555). แนวคิดทฤษฎีเรื่องความหลากหลายทางเพศ. สืบค้นจาก www.sac.or.th/main/uploads/article/Sexual-diversity.pdf., 20 มกราคม 2556.
ปัณณิกา จันทรปรรณิก. (2550). การสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองของกลุ่มหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2544). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัจรี นพเกตุ. (2542). มนุษย์ : จิตวิทยาทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: สำนึกพิมพ์ประกายพรึก.
วันทนีย์ วาสิกะสิน และคณะ. (2546). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเพศศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิลาสินี พิพิธกุล. (2547). “สามเพศสรีระและสี่เพศวิถี : การปรับโฉมใหม่ของวาทกรรมเพศสภาพและเพศวิถีในยุคสังคมไทยร่วมสมัย.” ใน กาญจนา แก้วเทพ และ พริศรา แซ่ก๊วย. (บรรณาธิการ). เพศวิถี : วันวาน วันนี้ และวันพรุ่งนี้ที่จะไม่เหมือนเดิม. เชียงใหม่: อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
สุภาณี ยาตรา. (2548). การแสดงอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของกลุ่มหญิงรักหญิงผ่านสื่อเว็บไซต์ในสังคมไทย.
(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุมาลี สวยสอาด. (2552). เพศศึกษาและอนามัยครอบครัว. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุมาลี โตกทอง. (2549). การให้ความหมายและการต่อรองในชีวิตคู่ของหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสตรีศึกษา). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวัทนา อารีพรรค. (2550). เรียนรู้เรื่องเพศกับคุณหมอ (ภาค 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท
บุญศิริการพิมพ์ จำกัด.
สิริลักษณ์ อังกูรพิริยะ. (2553). ผลกระทบที่หญิงรักร่วมเพศได้รับจากการเปิดเผยตัวตนในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรุณี ศุทธิชัยนิมิต. (2551). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเปิดเผยสถานภาพของหญิงรักเพศเดียวกันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต่อครอบครัว. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริรัตน์ แอดสกุล. (2553). สถาบันครอบครัว : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.