คนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่: กรณีศึกษาผู้อพยพคนจีนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Ma Tao

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจพลวัตของการอพยพย้ายถิ่น ลักษณะการดำรงชีวิตของคนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ในสังคมไทย โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนจีนที่อพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยหลัง ค.ศ.1980 แบบเจาะลึก จำนวน 22 ราย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย แล้ววิเคราะห์โดยทฤษฎีพินิจเชิงชีวประวัติ

ผลการศึกษาพบว่า 1) คนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ มาจากทุกภูมิภาคของจีน และเป็นกลุ่มคนที่มีทรัพยากรทางความรู้หรือ / และเงินทุนเป็นส่วนใหญ่ 2) พลวัตที่ขับเคลื่อนการอพยพย้ายถิ่นของคนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ คือ สถานะทางสังคมที่มีช่องว่างถ่างกว้างกว่าเดิมอย่างรวดเร็ว และค่านิยมที่มีความหลากหลายซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลการปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศของจีน 3) คนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมคนจีนในไทยมากขึ้น สร้างการแข่งขันกับคนจีนโพ้นทะเลรุ่นเก่า และคนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ที่มาทีหลังแต่มีกำลังทุนที่แข็งแกร่งกว่า ได้สร้างการแข่งขันกับคนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ที่มาก่อนด้วย 4) คนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ล้วนได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นของประเทศจีน ความเป็นจีนกลายเป็นทรัพยากรทางสังคมแบบหนึ่งที่จะช่วยเลื่อนสถานภาพทางสังคมให้สูงขึ้นได้ แต่ผู้ให้ข้อมูลมีทัศนคติต่ออัตลักษณ์ของความเป็นจีนไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีทั้งเชิงลบและเชิงบวก ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัว สถานภาพด้านต่างๆ และผลประโยชน์ของแต่ละบุคคล

References

Hill Ann Maxwel. (1998). Merchants and Migrants: Ethnicity and Trade among Yunnanese Chinese in Southeast Asia. New Haven: Yale University Southeast Asia Studies.

李明欢 Li Ming Huan.(2000).《20 世纪西方国际移民理论》. 厦门大学学报(哲学社会科学版). 144.

丘进等 Qiu Jin.(2011).《华人华侨眼睛报告Annual Report on Overseas Chinese Study (2011)》.北京:社会科学出版社.

王望波 庄国土 Wang Wang Bo and Zhuang Guo Tu.《2010年海外华侨华人发展报告》.厦门:厦门大学出版社:2013.

庄国土Zhuang Guo Tu.《论中国人移民东南亚的四次大潮On the Four waves: history of Chinese migration into Southeast Asia》, 《南洋问题研究SOUTHEAST ASIAN AFFAIRS. 2008 (133)103-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite