การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • Viroj thamjinda
  • Nampueng Intanate
  • Kiatsuda Srisuk
  • Sunee Nguenyuang

คำสำคัญ:

modified rice flour, glycemic index food, wheat flour

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ เพื่อระบุองค์ประกอบร่วมที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 653 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการสังเคราะห์สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และแบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและ ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

            ผลการวิจัยพบว่า            

ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ได้เป็น 3 องค์ประกอบหลักคือ 1) สมรรถนะด้านความรู้ในเนื้อหาคณิตศาสตร์  2) สมรรถนะด้านทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 3) สมรรถนะด้านจิตลักษณะในการพัฒนานักเรียน คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  ซึ่งแบ่งเป็น 8  องค์ประกอบ  63 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านความรู้ในเนื้อหาสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายหลักสูตร การใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ จำนวน 10  ตัวบ่งชี้ 5) ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านทักษะการแก้ปัญหาผู้เรียนและการพัฒนาตนเองจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 7) ด้านทักษะการพัฒนาผู้เรียนจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และ8) ด้านจิตลักษณะในการพัฒนานักเรียน คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครูจำนวน 12 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ทั้ง 63 ตัวได้ร้อยละ 66.70

References

กรมวิชาการ.(2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช สำราญราษฏร์

กระทรวงศึกษาธิการ . (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .(2556). คุณลักษณะของครูคณิตศาสตร์ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนต้องการ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฉบับพิเศษ)

ถาวร ผาบสิมมา. (2549). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2542).โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิคม ยังสกุล. (2540). การศึกษาปัญหาการสอนคณิตศาสตร์ของครูคณิตศาสตร์ในเขตจังหวัดลพบุรี สระบุรีและสิงห์บุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

บุญทัน อยู่บุญชม.(2529). พฤติกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ : โอเดี่ยนพริ้นติ้งเฮ้า.
พลสันต์ โพธิ์ศรีทอง. (2553 , 5 กรกฎาคม). ครูพันธุ์ใหม่ต้องเน้นที่สมรรถนะของครู.มติชน, หน้า 22.

วรชพร ศรีไทย. (2554). สมรรถนะของครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตามทัศนะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิโรจน์ ธรรมจินดา. (2554). รายงานวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะครูคณิตศาสตร์: สาขาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริชัย กาญจนวาสี.(2546). การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 31 ฉบับที่ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2545). มาตรฐานครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.(2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551, ม.ป.ท

สมวงษ์ แปลงประสบโชค.(2549). ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และแนวทางการแก้ไข. วารสารครู ปีที่ 3 ฉบับที่ 31 หน้า 78-80
สมวงษ์ แปลงประสบโชคและคณะ. (2551). นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน
ไทย: การศึกษาสาเหตุนักเรียนไทยอ่อนคณิตศาสตร์และแนวทางแก้ไข: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.(2548). แผนหลักการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (2548). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะเอกสารคำสั่งที่ ศธ 0206.3/ว25 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548. (เอกสารอัดสำเนา)

สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาการคุรุสภา.(2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อัมพร ค้าคะนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม.กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อมเรศ ศิลาอ่อน. (2553). การเสวนาเรื่องครูผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาในฐานะผู้มีวิชาชีพชั้นสูงกับการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา. ในรายงานสืบเนื่องจาการเสวนาวิชาการเรื่อง “ผลิดอกออกผล 9 ปี แห่งการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (สวพ.)

Hill, H.C., Ball, D.L& Schilling, S. (2004). Developing measures of teachers’ mathematics knowledge for teaching. Elementary School Journal, 105(1), 11-30.

Hill, H.C., Rowan, B,& Ball, D.L. (2005). Effects of teachers’ mathematical knowledge for teaching on student achievement. American Education Research. Journal, 42(2), 371-406.

Magnusson, S., Krajcik, J., & Borko, H. (1999). Nature. Sources and development of pedagogical content

knowledge for science teaching. In J. Bess-Newsome & N.G. Lederman (Eds.) Examining Pedagogical Content Knowledge : The Construct and Its Implications for Science Education (pp. 95-132) Dordrecht, The Netherlands : Kluwer Academic.

Shulman, L.S.(1986). Those who understand : Knowledge growth in teaching Education Researcher, 15(2), 4 - 14

Von Bertalanffy, Ludwig. (1968). General system theory. New York : George Braziller.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite