การพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในเขตหมู่บ้านชายแดนจังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวเพื่อการป้องกันและ
เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดนจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ
บริบทของครอบครัวและชุมชน วิเคราะห์องค์ประกอบความเข้มแข็งของครอบครัว ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผล
ต่อความเข้มแข็งของครอบครัว และกระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวเพื่อการป้องกันและ
เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ อำเภอ
แม่ฟ้าหลวง อำเภอ แม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จำนวน 519 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ
หลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) และตัวแทนหน่วยงานสถานศึกษา หน่วยงานตำรวจ
หน่วยงานพัฒนาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น ตัวแทนหน่วยงานมูลนิธิและองค์กรเอกชน ตัวแทนสถาบัน
ครอบครัว และตัวแทนเยาวชน ที่เลือกมาโดยการเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ แบบสอบถามการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวเพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาด
ของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดน จังหวัดเชียงราย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ตัวแทนและการตอบ
แบบสอบถามของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายและใช้การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) และการวิเคราะห์
การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการ
วิจัยสรุปได้ดังนี้
1. บริบทของครอบครัวในชุมชนในเขตชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่า ครอบครัวในชุมชน
ในเขตชายแดน ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวมีจำนวน 4 คน แรงงานหลัก/ผู้หารายได้ของครอบครัว คือ
พ่อและแม่ ครอบครัวยังคงมีภาระหนี้สินและใช้การกู้ในระบบมากกว่ากู้นอกระบบ ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มี
ข้อห้ามหรือข้อบังคับสำหรับบุตรหรือสมาชิกในครอบครัว และประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีภาระงานที่มอบให้บุตร
หรือสมาชิกในครัวเรือนทำ เน้นการอบรมสั่งสอนเรื่องการเรียน ครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันโดยเฉลี่ยต่อวัน
ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ประมาณครึ่งหนึ่งมีความคิดเห็นว่า ครอบครัวมีความสุขอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาหลัก
ยังคงเป็นภาระหนี้สิน และความคาดหวังต่อบุตรหรือสมาชิกในครัวเรือนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ การเป็นคนดี
และสนับสนุนเรื่องการเรียนมากกว่าการหารายได้
2. องค์ประกอบความเข้มแข็งของครอบครัวในเขตหมู่บ้านชายแดน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย
ด้านความรู้และการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด้านความมั่นคงปลอดภัยของครอบครัว
ด้านรายได้และการออมของครอบครัว ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ด้านการปลอดอบายมุขและ
ความรุนแรงภายในครอบครัวและด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและความคิดเห็น
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวในเขตหมู่บ้านชายแดน จังหวัดเชียงราย ร่วมอธิบาย
ความแปรปรวนหรือส่งผลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวได้ร้อยละ 49.3
4. กระบวนการสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาด
ของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดน จังหวัดเชียงราย สรุปได้ดังนี้
กระบวนการที่ 1 การเตรียมการดำเนินงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เพื่อการป้องกัน
และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดนจังหวัดเชียงราย
กระบวนการที่ 2 การดำเนินงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เพื่อการป้องกันและ
เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดนจังหวัดเชียงราย
กระบวนการที่ 3 การประเมินผลการดำเนินงานสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว เพื่อการ
ป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในเขตหมู่บ้านชายแดนจังหวัดเชียงราย
References
ทางเลือกใหม่ของการพัฒนา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.rakbankerd.com/01_jam/
thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=793&db_file=&PHPSESSID=b444f86e6d1f4a
469557f89d01639343
ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. 2545. สถาบันครอบครัวกับความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพมหานคร.
บังอร เทพเทียน และคณะ 2551. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มแข็ง. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา
2551 ปีที่ 6 ฉบับที่ 2.
รัตนา ไชยเลิศ. การวิเคราะห์องค์ประกอบประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย
และประเมินผลการศึกษา, 2550.
ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดเชียงราย. สถานการณ์การเฝ้าระวังยาเสพติด. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา : http://www.chiangrai.net/Cpoc/miniWeb/sts/p2.htm
ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดเชียงราย. เผยสถานการณ์ยาเสพติด : ชนกลุ่มน้อยผู้ผลิต
เฮโรอีน-ยาบ้าผุดโรงงานย่อย-พัฒนาวิธีซุกยา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/
blog/LittleLee/2008/03/17/entry-2
สมหมาย สาตทรัพย์. ความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียงของชาวพุทธ :
ศึกษากรณี ชุมชนศีรษะอโศก อำเภอกันทรลักษณะ จังหวัดศรีสะเกษ. ภาคนิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2542.
สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรณีศึกษาประชาคมชุมชนเข้มแข็งในการจัดการกับปัญหา
ยาเสพติด 10 ชุมชนต้นแบบภาคตะวันออก. 2549.
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. โครงการพัฒนามาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.tu.ac.th/org/socadm/drill/vi1.pdf
สุรีย์ บุญญานุพงศ์ และคณะ. 2552. การบริหารจัดการชุมชนริมน้ำ: กรณีศึกษาชุมชนแม่น้ำปิง ตำบลบ้านเรือน
อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน : รายงานฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.