การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Khanti Chareonach

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคม สภาพและปัญหาของ
เยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของ
เยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย (3) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะไปใช้
ทดลองเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย (4) เพื่อ
ทดลองใช้และประเมินผลการใช้กิจกรรมศิลปะ
การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 การศึกษาบริบททางสังคม สภาพ และปัญหาตลอดจน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชน เขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย ระยะที่ 2 สร้าง
กิจกรรมศิลปะและหาคุณภาพของกิจกรรมศิลปะ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และการประเมินผลกิจกรรมศิลปะ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม กิจกรรมศิลปะ 12 กิจกรรมที่คัดเลือกมาจาก
เทคนิคศิลปะบำบัด 6 เทคนิค แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย และ
แบบประเมินความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมศิลปะ การรวบรวมข้อมูลได้รวบรวมในช่วงเดือนตุลาคม
2554 ถึงเดือนมีนาคม 2555 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของเยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายด้านการเมือง
ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านศาสนา และความเชื่อ ตลอดจนด้านประเพณีและวัฒนธรรมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาด้านสาธารณสุขนั้นมีปัญหาน้อย ขณะเดียวกันประเด็นปัญหายาเสพติด
การอพยพเข้ามาของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านมีมากขึ้นอีกทั้งการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันและ
ใช้อิทธิพลข่มขู่ตลอดจนปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่เยาวชนได้เสนอเพิ่มเติมในส่วนท้าย
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย
ปัจจัยด้านครอบครัวเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ สภาพปัจจัยด้านครอบครัวเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ในครอบครัว ปัจจัยด้านโรงเรียนหรือสถานศึกษา เกี่ยวกับการดำเนินการของโรงเรียน ปัจจัยด้านโรงเรียน
หรือสถานศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของครูโดยทุกตัวร่วมกันทำนายความฉลาดทางอารมณ์ได้ร้อยละ 21
3. ผลการสร้างกิจกรรมศิลปะซึ่งได้เทคนิค 6 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคระเบิดออกมา เทคนิคสร้างความ
สามัคคี เทคนิคระบายความรู้สึกภายใน เทคนิคการรับรู้ตัวเอง เทคนิคสัมพันธ์กับผู้อื่นและเทคนิคสถานที่
ในโลกส่วนตัว โดยสร้างได้ 12 กิจกรรม ซึ่งแต่ละกิจกรรมประกอบไปด้วย ชื่อกิจกรรม หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม โครงสร้างของกิจกรรม สาระการเรียนรู้ อุปกรณ์และสื่อ ขั้นตอนการทำงาน
การสรุปกิจกรรม การวัดและประเมินผลการเขา้ รว่ มกิจกรรม บทบาทของผูน้ ำกิจกรรม ภาพตัวอยา่ งกิจกรรม และ
อุปกรณ์สาธิตและอุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ากิจกรรมศิลปะมีคุณภาพตาม
มาตรฐานที่กำหนดโดยมีคา่ ดัชนีความสอดคลอ้ งคา่ เฉลี่ยอยูใ่ นระดับ 2.93 และมีความเหมาะสมทุกองคป์ ระกอบ
4. การทดสอบประสิทธิผลของกิจกรรมศิลปะพบว่า
4.1 เยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
โดยค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจาก 138.51 เป็น 154.22 ซึ่งเป็นระดับปกติ
4.2 เยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หลังการ
ทดลองสูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 เยาวชนในเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงรายมีการประเมินกิจกรรมศิลปะว่าสามารถบรรลุ
จุดประสงค์ได้จริง

References

กนกศิลป์ พุทธศิลพรสกุล. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน
กับเชาวน์อารมณ์ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลรัฐกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พ.ม.
(การพยาบาลศึกษา) กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กร ศิริโชควัฒนา. (2551). E.Q. บริหารอารมณ์อย่างฉลาด. กรุงเทพมหานคร : ซิซินี อินเตอร์เนชั่นแนล.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). รายงานการศึกษาเรื่อง ทิศทางและ
รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. (2546). การสร้างแบบประเมินทักษะชีวิตและผลการส่งเสริม
ทักษะชีวิตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. นนทบุรี : กระทรวงฯ.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2544). การพัฒนาคนพิการด้วยศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : สันติศิริการพิมพ์.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2526). สภาเชิงจิต-สังคมในโรงเรียนกับสุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุน่ ในเขตกรุงเทพมหานคร.

ปริญญานิพนธ์ กศ.ต. (พัฒนาศึกษาศาสตร์) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ญาดา หลาวเพ็ชร. (2544). บทบาทของบิดา บทบาทของมารดา กับความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของ
นักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ) กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัดดาว ลิมพะสุต. (2543). แบบแผนการอบรมเลี้ยงดูบุตรและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว. วิทยานิพนธ์
ศศ.ม. (สังคมวิทยาประยุกต์) กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นุชลดา โรจนประภาพรรณ. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูของ
บิดามารดากับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตอนต้นศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (อนามัยครอบครัว).
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปพาณี ฐิติวัฒนา. (2542). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประยูร ธมมจิตโต พระราชวรมุนี. (2543). “อีคิวในแนวพุทธศาสนา,” ใน รวมบทความของวิชาการ เรื่องอีคิว.
กรุงเทพมหานคร : ชมรมผู้สนใจ.

ปริศนา คำชื่น. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุ

งานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดี ของวัยเด็กตอนต้นในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ วท.ม.

(จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ถ่ายเอกสาร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธนธัช.

วราภรณ์ รักวิจัย. (2529). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : แสงศิลป์การพิมพ์.

วัชระวงค์. (2552). ปัญหาเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. Available. www.google.co.th.
3 March 2007.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2542ก). เชาวน์อารมณ์ (EQ). กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ต.

_______. (2542ข). เชาวน์อารมณ์ : ดัชนีวัดความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ต.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงราย. (2553) รายงานประจำปี 2553. เชียงราย.

สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
อมราวดี ณ อุบล. (2544). สุขภาพจิตของนักเรียนวัยรุ่นที่มีลักษณะทางครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูและ
สัมพันธภาพในครอบครัวต่างกัน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา). กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

AATA. (2006). Available : www.artherapy.org. 2009.

Appelbaum, Richard P. (1998). Sociology. New York : Harper Collins College Publishers.

Bar-On, R. (2005). The Bar-On.Model of Emotional-social Intelligence. In P. Fernandez-Berrocal
& N. Extermera (Guest Editors), Special Issue on. Emotional Intelligence, Psicothema, 17.

Berrocal and N. Extermera. (2006). Speciallssue on Emotional Intelligence. Available : http://
www.eiconsortuim.ort/research/baron_model_of_emotional_social_intelligence.htm#1.
Bierman, K. L. and W. Furman. (1984). “The Effects of Social Skills Training and Peer

Involvement on the Social Adjustment of Preadolescents,” Child Development. 55 : 151-162.
Goleman, D. (1995). EmotionalIntelligence : Why It Can Matter More Than IQ. New York :
Bantam Book.

_______. (2008). Hot to Help : When Can Empathy More Us to Action. New York : Greater
Good Science Center.

_______. (1998). Woking With Emotion Intellgence. New York : Bantam Book.

Macionis, John J. (1998). Society : The Basics. 4th ed. Upper Saddle River. N.J. : Pretice Hall.

Mussen, P.H. (1963). The Psychological Development of Child. New York : Harper & Row.

Romine, Stephen. (1974). “Student and Faculty Perceptions of an Effective University Instructional
Climates,” The Journal of Education Research. 68(6) : 139-143.

Rothman, Esther P. (1968). “Need : The Teacher as a Speciallst in Human Relation,”
The Education Digest. 32(1) : 34-36.

Salovey, Mayer and Caruso. (1997). Available : www.eieansortium.org.

_______. (2004). Psychologycal Inquiry. New York : Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Salovey, P. and Pizarr, D.A. (2003). “The value of emotional intelligence,” In Models of
intelligence : International Perspectives. (pp.263-278). Washington, DC : American
Psychological Association.

Salovey, P. and Sluyter, D.J. (1997). Emotional Development and Emotional Intelligence.
New York : Basic Book.

Schaefer, Richard T. (1998). Sociology. 6th ed. New York : Mcgraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite