การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1

ผู้แต่ง

  • Amnart Khamlue

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผล
ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง ทางอ้อมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย ประชากร
ที่ใชใ้ นการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงรายเขต 1 ปกี ารศึกษา
2552 จำนวน 2,336 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรม
การออกกำลังกาย โมเดลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัวแปร ตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัวแปร
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง มีความถี่ของการออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์ จำนวน 1-2 วัน
ซึ่งใช้ช่วงเวลาในการออกกำลังกายคือช่วงเย็น และใช้เวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ประมาณ 16-30 นาที
โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความหนักของการออกกำลังกายระดับปานกลาง พอเหนื่อยเล็กน้อย และมีการ
ออกกำลังกายกับกลุ่มเพื่อน โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี และเลือกประเภท
กิจกรรมที่ใช้ในการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่มีความหนักของการออกกำลังกายปานกลาง2. ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้อง
กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ (X2) แตกต่างจากศูนย์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
แสดงว่าไม่ปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ว่า โมเดลตามทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และค่าดัชนี
วัดระดับความสอดคล้อง (Goodness-of-fit Index : GFI) มีค่าเข้าใกล้ 1 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง
ที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted goodness-of-fit Index : AGFI) มีค่าเข้าใกล้ 1 รวมทั้งดัชนีรากของกำลังสอง
เฉลี่ยของเศษ (Root Mean Squared Residual : RMR) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ (RMSEA) มีค่าไม่เกิน 0.05
ค่าส่วนเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Residual) มีค่าไม่เกิน 2.00 รวมทั้งกราฟ Q-Plot
มีความชันมากกว่าเส้นทแยงมุม แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเมื่อพิจารณา
จากค่าอิทธิพลของตัวแปรในโมเดล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์
หรือ R Square ตัวแปรพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีค่าเท่ากับ .36 แสดงว่า ตัวแปรในโมเดล อธิบาย
ความแปรปรวนในตัวแปรพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้ร้อยละ 36
3. อิทธิพลรวมสูงสุดในโมเดลคือ อิทธิพลรวมอันเนื่องมาจากตัวแปรอิทธิพลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรการสนับสนุน รองลงมาคือตัวแปรความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีอิทธิพล
ต่อตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมน้อยที่สุดคือ ตัวแปรปัจจัย
ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรการสนับสนุน
อิทธิพลทางตรงสูงสุดในโมเดลคือ อิทธิพลทางตรงอันเนื่องมาจากตัวแปรอิทธิพลเกี่ยวกับการ
ออกกำลังกายที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรการสนับสนุน รองลงมาคือ ตัวแปรเจตคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงน้อยที่สุดคือ
ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรการสนับสนุน ตามลำดับ
อิทธิพลทางอ้อมสูงสุดในโมเดล คือ อิทธิพลทางอ้อมอันเนื่องมาจากตัวแปรอิทธิพลเกี่ยวกับการ
ออกกำลังกาย ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยส่งผ่านตัวแปรการสนับสนุน รองลงมา
คือ อิทธิพลทางอ้อมอันเนื่องมาจากตัวแปรอิทธิพลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ที่มีอิทธิพล ต่อตัวแปรการรับรู้
เกี่ยวกับการออกกำลังกาย โดยส่งผ่านตัวแปรการสนับสนุน และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมน้อยที่สุดคือ
ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยส่งผ่านตัวแปรการสนับสนุน
ตามลำดับ

References

เกียรติศักดิ์ เจริญสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของครูในจังหวัดนครพนม
ปี พ.ศ.2550. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.

จารุณี ศรีทองทุม. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชน ที่มาออกกำลังกาย
ที่สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.

ธิดารัตน์ ทรายทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลสถานการณ์ อิทธิพลระหว่างบุคคล ความมุ่งมั่น
ต่อการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของสมาชิกกลุ่มออกกำลังกาย
ในจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2547.

นิภาภรณ์ ศรีใจวงศ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีที่ทำงาน
ในห้างสรรพสินค้า. พยาบาลวิชาชีพ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีอุตรดิตถ์, 2548.

วรรณา อนันต์สุขสวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติ
ครอบครัว มหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2549.

Pender, N. J. Health promotion in nursing practice (2nd ed.). Norwalk : Appleton & Lange,
1996.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2018

How to Cite