การสร้างรูปแบบการเป็นนิติบุคคล ของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผลทางการศึกษา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและผลจากการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อ
ประสิทธิผลทางการศึกษา และเพื่อกำหนดรูปแบบการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผล
ทางการศึกษา กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองเลขาธิการรักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่มส่งเสริม
สถานศึกษาเอกชน ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้รับใบอนุญาต/ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตและสอบถาม การอภิปรายกลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏ
ดังนี้ 1) สภาพการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์
ออสเตรเลีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และการควบคุม โรงเรียนทั่วไปมีระบบ
การบริหารจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และมีความยืดหยุ่นในการใช้ทรัพยากร สามารถ
บริหารจัดการด้านบุคลากรได้ ตั้งแต่การเลือกรับครู เลือกรับนักเรียน และกำหนดหลักสูตร ส่วนในประเทศไทย
มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน แต่ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจาก
กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับหลายประการยังไม่เอื้อต่อโรงเรียนเอกชนซึ่งมีความแตกต่างในด้านขนาด
และความพร้อม 2) โรงเรียนเอกชนในภาคเหนือตอนบนส่วนใหญ่มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหาร
จัดการในระดับมาก ในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารทั่วไป
ในระดับมาก ส่วนการบริหารงบประมาณมีความเป็นอิสระในระดับมาก แต่ไม่มีความคล่องตัว เนื่องจาก
งบประมาณเป็นของเจ้าของโรงเรียนหรือมูลนิธิ ซึ่งการเบิกจ่ายต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก
เจ้าของโรงเรียน และคณะกรรมการมูลนิธิ 3) รูปแบบการเปน็ นิติบุคคลของสถานศึกษาเอกชนเพื่อประสิทธิผล
ทางการศึกษา คือ “FINE PRIVATE Model”
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ข). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ก). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2547. ยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
เกษม วัฒนชัย. (2550). เอกสารประกอบการปาฐกถาพิเศษ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา”. ม.ป.ท. :
ม.ป.พ.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
___________. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา,
(พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส.
ยุวัฒน์ วฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก.
วรวรรธน์ ไชยคำ. (2550). สภาพการบริหารสถานศึกษาในฐานะที่เป็นนิติบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550. โรงพิมพ์ ส.ก.ส.ค. ลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2532). บันทึกประจำวัน. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) คู่มือการประเมินคุณภาพ
ภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไข
เพิ่มเติม พฤศจิกายน 2555). กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). หลักการบริหารแบบฐานโรงเรียน. กรุงเทพฯ : พระรามสี่การพิมพ์.
อวยชัย ศรีตระกูล. (2549). การพัฒนาโรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยสมาคม
โรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่.