กลยุทธ์การขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก ภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย
บทคัดย่อ
กลยุทธ์การขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการการขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์งานขับเคลื่อนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย การวิจัยครั้งนี้มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาภาคสนาม ระยะที่ 2 การประชุมปฏิบัติการและระยะที่ 3 การตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า
- บริบทของสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายคือ เป็นสถานศึกษาที่อยู่ในถิ่นกันดาร ห่างไกลจากข้อมูลข่าวสาร ผู้บริหารโยกย้ายบ่อย ครูไม่ครบชั้น ขาดแคลนสื่อ เทคโนโลยีในการจัดการศึกษา งบประมาณในการจัดการศึกษาไม่เพียงพอ การประกันคุณภาพการศึกษาขาดการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา และการประเมินตนเอง ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องการให้นักเรียน มีความประพฤติดี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี และได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจากการประเมินคุณภาพภายนอก
- ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาคือ การมีทรัพยากรทางการบริหารและจัดการศึกษาเพียงพอ ผู้บริหารให้ความสำคัญและคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา มีระบบในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
- กลยุทธ์การขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีกลยุทธ์ใน 3 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 17 กลยุทธ์ ที่ให้แนวทางการดำเนินงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
4.กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และยอมรับในการนำไปใช้ขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กภายใต้ข้อจำกัดในการพัฒนาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย
References
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2548) . รายงานการวิจัยปัจจัยที่เอื้อต่อคุณภาพสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามระบบการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินมาตรฐานการศึกษา (องค์การมหาชน).
มัฮดี แวดราแม. (2547). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและการปฏิบัติในการประเมินคุณภาพการศึกษา.(วิทยานิพนธ์) . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร .
สรรค์ ไชยมงคล และดรุณ หาญตระกูล . (2551) . การใช้ผลการปะเมินคุณภาพภายนอกและการสนับสนุนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ให้แก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . (อัดสำเนา) .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). สรุปข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปี 2553 สืบค้นเมื่อ
5 ธันวาคม 2555 , จาก http://www.bopp-obec.info/home/?page_id=1063
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2545) . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552) . ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).
พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค .
สำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ. (2553). คำสั่งที่ กค 0422.3/ว 19 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสำนักงานในพื้นที่พิเศษประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. 22 กุมภาพันธ์ 2553.
อรจิรา ธรรมไชยางกูร. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระหว่างโรงเรียนที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมินในรอบที่ 2: พหุกรณีศึกษา. (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร .