ไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว: พลังงานทางเลือกระดับชุมชนกับความคุ้มค่าในการผลิตพลังงานทดแทน

ผู้แต่ง

  • Adhisiddhi Nujnetra

คำสำคัญ:

ไบโอดีเซล, น้ำมันพืชใช้แล้ว, ดัชนีความคุ้มทุน, พลังงานทางเลือก

บทคัดย่อ

ไบโอดีเซลเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้วที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทย ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงเศรษฐกิจ  เพราะสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนดีเซลได้ดีในภาคเกษตรกรรมและภาคการขนส่ง การวิจัยนี้ได้ค้นหาคำตอบตามคำถามที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว เพื่อใช้ประเมินความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจและความเป็นไปได้สำหรับการตัดสินใจลงทุนในระบบการผลิตไบโอดีเซลของชุมชนขนาดเล็ก จำนวน 13 ชุมชนที่มีกำลังผลิตวันละ 205 ลิตร ด้วยการใช้แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรง 0.81 จัดเก็บข้อมูลแล้ววิเคราะห์ด้วยการหาระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return) และดัชนีความคุ้มทุน (Cost and Benefit Ratio) กำหนดระยะเวลาโครงการ 3 ปี และคิดอัตราส่วนลดร้อยละ 9.50 ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดเงิน ผลการวิจัยพบว่า การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วมีความเป็นไปได้ เพราะมีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี 10 เดือน  21 วัน  มูลค่าปัจจุบันสุทธิ70,702  บาท  และอัตราผลตอบแทนภายใน ร้อยละ 29.85 ขณะที่ดัชนีความคุ้มทุน 1.02 แสดงถึงชุมชนลงทุนผลิตพลังงานไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วได้ผลคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). รายงานน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย 2554.กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.(2550). โครงการพึงพาตนเองด้านพลังงานด้วยไบโอดีเซลชุมชน. กรุงเทพฯ:กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน. กระทรวงพลังงาน.

กุลเชษฐ์ เพียรทองและคณะ.(2548). การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วขนาด 150 ลิตรต่อรอบการผลิตและการใช้งานกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก. เอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จุฑาเกศ เทียนเมธางกูล และ มานพ เจริญไชยตระกูล. (2550) การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ผ่านการใช้ทอดแล้วโดยกระบวนการใช้สารตัวเร่งปฏิกิริยาแบบสองขั้นตอน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชุมพล ศฤงคารศิริ.(2546). เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ปริ้นต์โพร.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2546). เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2552). อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (2548-ปัจจุบัน).กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย

พุทธชาด เมฆทองและคณะ.(2546). การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำมันพืชใช้แล้วในอุตสาหกรรมอาหารมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการเผยแพร่งานวิจัยทางด้านพลังงานทดแทน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ.

พรรณสิริ สุวรรณโชติและคณะ.(2547). การประเมินความเป็นไปได้ของการผลิตไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์จากน้ำมันปาล์มดิบ กรณีศึกษาของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สุราษฏร์ภัทรกิจ จังหวัดสุราษฏร์ธานี, การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.

ลำใย มากเจริญ .(2551). การวิเคราะห์ผลได้ ต้นทุน และจุดคุ้มทุน ของการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลด้วยกรดไขมันน้ำมันปาล์ม.วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2551. หน้า 111-119.

Chan S. Park.(2002). Contemporary Engineering Economics, (3rd ed.). Singapore : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite