การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรตวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • Sonpop Thongplaw
  • Poonsri Vate-U-Lan

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คณิตศาสตร์, เครือข่ายทางสังคม, อินทิเกรต, อีเลิร์นนิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรต วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น (3) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษาที่เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนจากการสอนตามปกติ (4) ศึกษาความคงทนในการจำเมื่อเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านมาแล้ว 1 เดือนและ 2 เดือน และ (5) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประชากร คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2-3 ปี วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 700 คน กลุ่มพัฒนาเครื่องมือ เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 48 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพัฒนาเครื่องมือแบบรายบุคคลจำนวน 3 คน 2) กลุ่มพัฒนาเครื่องมือแบบกลุ่มย่อยจำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มพัฒนาหาประสิทธิภาพของเครื่องมือจำนวน 30 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการทดลอง เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคมเรื่องการอินทิเกรต วิชาคณิตศาสตร์ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 ค่าความยากง่ายเฉลี่ยทั้งฉบับ เท่ากับ 0.77 ค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.63 (3) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน (4) แบบประเมินคุณภาพเนื้อหาอีเลิร์นนิ่ง (5) แบบประเมินคุณภาพการใช้อีเลิร์นนิ่ง และ (6) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  ปรากฏผลการวิจัยดังต่อไปนี้

1) รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรต วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.73/84.88 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.72

3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนปกติ ทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4) ความคงทนในการจำหลังเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านมาแล้ว 1 เดือนและ 2 เดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

5) เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเป็นบวก (3.98) ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาชอบเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

References

เตือนใจ ทองดี. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์
(e-Learning) กับการเรียนรู้แบบปกติ. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ประภาศรี ทิพย์พิลา. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องลักษณะทาง
พันธุกรรมที่นอกเหนือกฎของเมนเดล ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียน
เครือข่ายกับการสอนแบบปกติ. (ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประสิทธิ์ คลังบุญครอง. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ฝ่ายวิชาการของภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม. (2550-2553). เอกสารประกอบการประชุม สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุบรร น้อยตาแสง. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวันระหว่าง
การสอนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่าย และการสอนแบบปกติ. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Karolick, Dolores. (2002). The learner’s Perception or their Experiences in a Web-based Graduate Level Course. Dissertation Abstracts International.

Miller, Robert D. (2009). Developing 21st century skills through the use of student personal learning networks. Northcentral University.

Wang, Qiyun. (2012). Using the Facebook group as a learning management system : An exploratory study.British Journal of Educational Technology Volume 43.http://onlinelibrary.wiley.com/doi/
10.1111/j.1467-8535.2011.01195.x/abstract [Mach 15, 2012].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2018

How to Cite