ความเครียดจากการระบาดโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอเรชั่น-ซี

ผู้แต่ง

  • ยุรพร ศุทธรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศิรยาภา ศุทธรัตน์ ผู้ช่วยนักวิจัย

คำสำคัญ:

ความเครียด, การระบาดโควิด-19, เจนเนอเรชั่น-ซี

บทคัดย่อ

สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทำให้เกิดความเครียดกับกลุ่มต่างๆ รวมทั้งกลุ่มคนในเจนเรชั่น-ซี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความเครียดของกลุ่มบุคคลเจนเนอเรชั่น-ซี จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ด้วยการสุ่มตัวอย่างจาก  เจนเนอเรชั่น-ซี ที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดขอบเขตระหว่างอายุ 15- 20 ปี จำนวน 385 ตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญได้รับการตอบกลับ 155 ชุด คิดเป็นร้อยละ 40.3 ของการตอบกลับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางที่ระดับ 3.24 โดยปัจจัยเรื่องการเรียนเป็นสาเหตุของความเครียดของกลุ่มตัวอย่างเป็นอันดับแรก ส่วนปัจจัยความเครียดอื่นๆ เช่น ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยความสัมพันธ์กับบุคลลอื่น หรือปัจจัยส่วนบุคคลเป็นสาเหตุความเครียดในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมตนเองที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงของการเกิดวิกฤติโรคระบาด เช่น การตระหนักถึงการใช้เงิน ความประหยัด การดูแลรักษาสุขภาพกายและใจ ดังนั้นจากความเครียดและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่เปลี่ยนไปสามารถนำมาเป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ในการวางแผนเพื่อเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาสและสร้างนิสัยอนาคตในเรื่องอื่นๆ ได้

References

Angkana, P. and Duangjai, D. (2022). Predictors of Stress from Online Learning Among Pharmacy

Students. Srinagarind Medical Journal, 37(1), 32-37.

Baruch, Y. (1999). Response Rate in Academic Studies – A Comparative Analysis. Human Relation, 52(4), 421-438.

Boonjai, S. (2004). The Methodology in Nursing Research. (3rd ed.). CU Book center.

Jessada, K., Pachitjanut, S. (2014). Work Stress of instructors in State University. NIDA Development Journal, 54(1), 259-285.

Klinic Community Health Centre. (2010). Stress and Stress Management. Winnipeg MB.

Lu Lu, X. W., Xuehang W., Siaosi G., and Bochen P. (2022). Association of Covid-19 Pandemic-related Stress and Depressive Symptoms among International Medical Students. BMC Psychiatry, 2022(22:20) http://doi.org/10.1186/s12888-021-03671-8.

Nadia, B., Hassine, B., and Tanida, A. (2021) Impact of Covid-19 on Households in Thailand – Insights from Phone Accelerated Survey. https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific

/phlkrathbkhxngokhwid-19-txkhraweruuexninpraethsithy

Nitchawan, K., Varuna, K., and Jomtian, T. (2021). Resilience, Mental Health Impact and Covid-19 Related Mental Health Determinants among Medical Students during Covid-19 Epicemic. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 2021(65), 101-116.

Rakniran, S. (2015). The Employee’s Stress and Quality of Work Life Model of ABC Bank [Master of Business Administration]. Kasetsart University.

Robbins, S.P., and Judge, T. (2013). Organization Behavior. Pearson.

Siddique, M., Hamayun, M., and Khan, M. A. (2022). Effect of Covid-19 on the Mental Health of Students in Pakistan: The Online Education Pressure, Fear of Failing and Psychological Distress. Gomal University Journal of Research, 38(2), 180-192.

Sirirak, L. (2022). Stress. https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/stress.html

Truc, T. T., Phuc Truong, V. L., Quynh Ho, N. H., Phuong Thi, T. P., and Han Thi, H. B. (2021). Perceived Stress and Coping Strategies During the COVID-19 Pandemic Among Public Health and Preventive Medicine Students in Vietnam. Psychology Research and Behavior Management, 2021(14), 795-804.

Wichien, K. (1995). Mean and The Interpretation: Simple Things Can Sometimes be Missed. Education Research New, 18(3), 8-11.

ความเครียดจากการระบาดโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอเรชั่น-ซี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2022

How to Cite