ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การศึกษาปัจจัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง โดยใช้กระบวนการส่วนประสมทางการตลาด 7Ps โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 – 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง คือมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบบเป็นสัดส่วน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรแต่ละมหาวิทยาลัย และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และกำหนดให้มีความความเคลื่อน ร้อยละ 5 โดยได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาด 7Ps อยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 ด้าน โดยด้านที่มีปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มากที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ( = 4.09) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสะอาด และปลอดภัยจากเชื้อโรค ( = 4.18) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ( = 4.01) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีความเพียงพอและทันสมัย ( = 4.13) และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการบริการ ( = 3.87) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ การมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.99) และเมื่อแยกเป็นรายมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และนครสวรรค์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการบริการ (Promotion) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (= 4.20) และ ( = 3.46) ตามลำดับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปัจจัยด้านราคา / ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (= 3.93) และสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( = 3.46)
References
Boonchom Srisaard. (2010). Preliminary research. (8th ed.). Suweeriyasan.
Charatpong Wongsilpjitdara. (2013). Factors affecting undergraduate students' use of Chiang Mai University Central
Library. Chiang Mai University.
Chutima Kaewkerd. (2007). The analysis of marketing factors towards a process of library services :
a case study of faculty of Agicultural Technology at King's Mongkut Institute of
Technology Ladkrabang. Bansomdejchaopraya Rajabhat University.
Kanokwan Chin-on (2020, January - June). Development of Cho Wayupak Library as a learning
resource for users in the 4.0. Information, 27(1), 51 – 69.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Pearson Prentice-Hall.
Nureeda Japakiya. (2019, July 10). Needs for Information and Guidelines for the Development of Proactive
Information Services to Communities of Higher Education Institution Libraries in the Three Southern Border Provinces. The 8th National Academic Conference "Creating Research for sustainable local development” [Symposium]. Yala Rajabhat University.
Penkhae Saengkaew. (1998). Social Science Research. Thammasat University.
Preecha Wangasa. (2015). A Study of Motive Factors Influencing the Decision to Use the Service Nakhon Phanom
University Library. PULINET Journa,l 2(1), 8-15.
Thanasak Kamjundee. (2017). Marketing Strategy for Library Services, College of Industrial Technology King
Mongkut's University of Technology North Bangkok. King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Weeranun DangKong. (2009). Applying Service Marketing Mix Strategy to Promote the Use of
Rajabhat University Libraries. Burapha University.
Yuvares Ittichaiwathana, Sumattra Saenwa and Somchai Warunyanugrai. (2013, January - June).
Opinion of Users and Providers towards Marketing Mix Use in Service of the National
Library of Thailand. Bannasat SWU, 11(1), 1 – 13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.