การตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อาภิสรา พลนรัตน์
ไกรสิทธิ์ จามรจันทร์สาขา

บทคัดย่อ

         การศึกษางานวิจัยเรื่อง “ การตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงราย”  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงราย ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลรายชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงรายทั้งหมด 18 อำเภอ จากการสัมภาษณ์ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนา และกลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นบ้านล้านนาโดยเฉพาะ


         ผลการศึกษา สรุปได้ว่า การตั้งชื่ออาหารพื้นบ้านล้านนาในจังหวัดเชียงรายมี  2 ลักษณะ ได้แก่ การตั้งชื่ออาหารแบบตรง และการตั้งชื่ออาหารแบบเปรียบเทียบบางส่วน สำหรับการตั้งชื่ออาหารแบบตรง แบ่งออกเป็น 4 โครงสร้างตามความหมายของรูปภาษาในตำแหน่งแรกของชื่ออาหาร ซึ่งได้แก่  ชื่ออาหารคาวที่ขึ้นต้นด้วยชนิดของอาหาร วิธีการทำอาหาร  ส่วนผสมอาหาร และ ลักษณะของอาหาร และสำหรับการตั้งชื่ออาหารแบบเปรียบเทียบบางส่วน เป็นกลวิธีการตั้งชื่ออาหารที่เป็นการเปรียบเทียบและมีแบบตรงรวมอยู่ด้วย  ซึ่งอุปลักษณ์ที่พบในชื่ออาหารมี 3 อุปลักษณ์  ได้แก่  อุปลักษณ์สิ่งมีชีวิต  อุปลักษณ์ของใช้ และ อุปลักษณ์ธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด, 2546.

อนัตตยา คอมิธิน. การศึกษาการตั้งชื่ออาหารในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีอรรถศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร, 2548.

อุทุมพร มีเจริญ. การศึกษาความหมายเปรียบของคำศัพท์อวัยวะร่างกายในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร, 2542.

เอี่ยม ทองดี. รวมบทความทางวิชาการภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542.

Croft, William and Cruse, D. Alan, Cognitive Linguistics. Cambridge University Press, 2004.

Lakoff, George. Women Fire and Dangerous Things: What categories reveal about the mind. Chicago and London: the University of Chicago Press, 1987.

Lakoff,George,and Mark, Johnson. Metaphor We live by. Chicago and London: the University of Chicago Press, 1980.

Palmer, F.R. Semantics. Canbridge : Cambridge University Press, 1976.

Saeed, John. Semantics. Cambridge: Blackwell, 1997.

Sweetser,Eve E. From Etymological to pragmatics: Metaphorical and Culture Aspects of Semantic Structure. Canbridge : Cambridge University Press, 1990

Ungerer ,F and Schmid, H , J. An Introduction to Cognitive Linguistics. London: Logman, 1996.
Wierzbicka, Anna. Understanding Cultures Thrugh Their Key Words. Oxford: Oxford University Press, 1997.