“ผี” ในสำนวนจีน : โลกทัศน์ของชาวจีนต่อมนุษย์และธรรมชาติ

Main Article Content

เกรียงไกร กองเส็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โลกทัศน์ของชาวจีนที่มีต่อมนุษย์และธรรมชาติจากสำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย” (鬼 ɡuǐ “ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวน ซึ่งเป็นสำนวนที่รวบรวมจากหนังสือพจนานุกรมสำนวนจีน ฉบับสมบูรณ์ (中华此语大词典) ของ Zheng Weili และ Zhou Li ปี 2009 สำนักพิมพ์บริษัท   ซังอู้อิ้นซูก่วน กั๋วจี้ จำกัด ปักกิ่ง


ผลการศึกษาพบว่า สำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย” ( ɡuǐ鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวนนั้นสามารถสะท้อนโลกทัศน์ของคนจีนได้ทั้ง 2 แบบ แบบแรกโลกทัศน์ต่อมนุษย์ ที่สะท้อนว่ามนุษย์มีพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึกทั้งเชิงบวกและเชิงลบ แบบที่สองสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ต่อธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติไม่มีอะไรแน่นอน มีความแปลกประหลาดและสามารถทำลายล้างมนุษย์ได้ ทั้งนี้ ผลการวิจัยแสดงว่า “ผี” เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร กองเส็ง. (2559). “ร่างกายภายใต้บงการ” การเปลี่ยนแปลงความหมาย “ความงาม” ของสตรีไทย-จีนตามวิถีสมัยใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม.

ประสิทธิ์ เงินชัย. (2558). วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1, หน้า 102-114. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (2554). รายงานการวิจัย การศึกษาการสืบทอดความเป็นจีน ผ่านการทำความเข้าใจในความหมายและสัญลักษณ์ทางศาสนาของชาวจีนสู่ลูกหลานในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วนิดา ตั้งเทียนชัย. (2550). รายงานการวิจัย สำนวนจีน : โครงสร้างทางภาษาและเจตนาการใช้. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สุภาพร คงศิริรัตน์. (2553). การศึกษาพระโลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

Xu Hualong. (1994) 许华龙. 《中国鬼文化大辞典》,广西:广西民族出版社.

Zheng Weili, Zhou Li. (2009) 郑微莉,周谦,《中华成语大词典》,北京:商务印书馆国际 有限公司.

Zou Junzhi. (2008). 邹浚智. “鬼” 观念与祖先崇拜试说,《稻江学报》,台湾:元培科技大学.